ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สารคดีพิเศษ 800 ปี แมกนา คาร์ตา 83 ปี ประชาธิปไตยไทย (ตอน 19) : รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 13

การเมือง
8 มิ.ย. 58
04:49
295
Logo Thai PBS
สารคดีพิเศษ 800 ปี แมกนา คาร์ตา 83 ปี ประชาธิปไตยไทย (ตอน 19) : รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 13

วันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1215 เป็นวันที่กษัตริย์จอห์นแห่งอังกฤษลงนามในเอกสารที่เป็นข้อตกลงระหว่างบรรดาขุนนางกับพระองค์ เอกสารฉบับนี้มีชื่อว่า "แมกนา คาร์ตา" ซึ่งแปลว่ามหากฎบัตร หรือ The Great Charter ซึ่งต่อมาได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์และนักวิชาการจำนวนมากว่าเป็นต้นกำเนิดแห่งรัฐธรรมนูญในยุคปัจจุบัน ขณะที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ 20 ไทยพีบีเอส โดยการสนับสนุนของบีบีซีแผนกภาษาไทย นำเสนอเรื่องราวของแมกนา คาร์ตาและรัฐธรรมนูญไทยในอดีต ผ่านสารคดีขนาดสั้นรวม 25 ตอน ตอนที่ 19 เสนอเรื่อง "รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 13"

รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 13 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 13 ถือเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยพอสมควร แม้ช่วง 4 ปีแรกจะมีบทบัญญัติที่ให้อำนาจการปกครองอยู่มาก เพื่อให้บ้านเมืองเกิดเสถียรภาพก็ตาม รัฐธรรมนูญนี้มีบทบัญญัติรวม 206 มาตรา มีจุดเด่นน่าสนใจหลายเรื่อง เช่น การกลับมาใช้ระบบ 2 สภา คือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา, ห้ามข้าราชการประจำเล่นการเมือง, มีการระบุกลไกการสร้างพรรคการเมืองขึ้นมาเพิ่มเติม โดยผู้สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง จะส่งในนามอิสระไม่ได้ พรรคการเมืองที่จะลงสมัคร สส. ต้องส่งผู้สมัครลงเกินกึ่งหนึ่ง หรือ 50% ของเก้าอี้ในสภาในการเลือกตั้งครั้งนั้นๆ เพื่อให้พรรคการเมือง มีขนาดใหญ่ ลดจำนวนพรรคเล็กลงไป

พรรคการเมืองจะเสนอกฎหมายได้ เมื่อมี ส.ส.ได้รับเลือกตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป รัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้การเลือกตั้งโดยตรงแบบผสมเป็นแบบรวมเขตทั้งจังหวัด หรือที่เรียกว่า "ลงสมัครเบอร์เดียวทั้งจังหวัด" มี ส.ส.ในแต่ละเขตไม่เกิน 3 คน มีวาระ 4 ปี ส่วนวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งที่เสนอชื่อโดยนายกฯ มีจำนวนไม่เกิน 3 ใน 4 ของ ส.ส.มีวาระ 6 ปี ทำหน้าที่พิจารณากฎหมาย

นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญยังกำหนดให้คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภาผู้แทนราษฎรก่อนบริหารประเทศ แต่การเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลกลับทำได้ยากขึ้น กล่าวคือจะเปิดอภิปรายไม่ได้หากการเสนอญัตติ (หรือเรื่องที่จะพูด) ได้รับคะแนนไม่ถึงครึ่ง

สุดท้าย รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกจากการรัฐประหารครั้งที่ 11 โดยคณะคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ หรือ ร.ส.ช. ใน พ.ศ.2534 รวมระยะเวลาประกาศใช้ยาวนานถึง 12 ปี


ข่าวที่เกี่ยวข้อง