วันนี้ (2 มี.ค. 2559) ศ.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (สสท.) เผยว่า สาเหตุของสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2559 เป็นผลกระทบต่อเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และการบริหารจัดการน้ำของประเทศตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน ซึ่งเกิดจากความกลัวว่าจะเกิดน้ำท่วมซ้ำ ทำให้ในปี 2555 มีการปรับเกณฑ์ระดับควบคุมน้ำในเขื่อนใหญ่ไม่ให้เกินร้อยละ 55 ทำให้ต้องปล่อยน้ำในเขื่อนออก
ศ.ธนวัฒน์ กล่าวต่ออีกว่า ต่อมาใน ปี 2556 มีนโยบายประกันราคาข้าว ส่งผลให้เกษตรกรใช้น้ำมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคกลางที่ปลูกข้าวมากถึง 7 ล้านไร่ ขณะที่ เดือน มี.ค. 2558 เกิดปรากฎการณ์แอลนีโญรุนแรงทำให้ฝนตกช้ากว่าปกติ 2 เดือน ปริมาณน้ำฝนที่ได้ยังน้อยกว่าปกติถึงร้อยละ 24 ทำให้ปัจจุบัน ปริมาณน้ำต้นทุนที่ใช้ได้ทั่วประเทศสำหรับหน้าแล้งในปีนี้ มีประมาณ 1.5 หมื่นล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าปี 2558 ถึงร้อยละ 5.71
“แนวทางการรับมือปัญหาภัยแล้งในปีนี้ เกษตรกรต้องปรับตัวโดยเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย ขณะที่ หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการผลิตน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ควรเตรียมหาแหล่งน้ำสำรองไว้มากกว่า 2 เดือน เผื่อฝนปี 2559 มาช้ากว่าปกติ” ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ระบุ
สสท.เผยที่มาวิกฤตแล้งปีนี้ เหตุจัดการน้ำผิดพลาดตั้งแต่ปี 55 แนะเกษตรกร-ปชช.สำรองน้ำใช้เกิน 2 เดือน http://news.thaipbs.or.th/content/250595 #ThaiPBSnews #สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย #วิกฤตแล้ง59 #watersharing----------------------------------------------------------ประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเผยสาเหตุภัยแล้งปี 59 เพราะบริหารจัดการน้ำผิดพลาดในปี 2555 ผนวกกับปรากฏการณ์เอลนีโญ และนโยบายประกันราคาข้าว ส่วนน้ำต้นทุนสำหรับแล้งนี้มีแค่ 1.5 หมื่นล้าน ลบ.ม. แนะประชาชน-เกษตรกร เตรียมน้ำสำรองใช้มากกว่า 2 เดือน
Posted by Thai PBS News on 1 มีนาคม 2016