สารคดีพิเศษ 800 ปี แมกนา คาร์ตา 83 ปี ประชาธิปไตยไทย (ตอน 20) : รัฐธรรมนูญไทย ฉบับที่ 14
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 14 ของไทยถูกประกาศใช้จากการรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งมี พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ประธาน รสช. ถือเป็นการรัฐประหารครั้งที่ 11
สาเหตุของการก่อรัฐประหารครั้งนี้ คณะรัฐประหารอ้างเหตุผลเรื่องคอรัปชั่น เรื่องการใช้อำนาจของข้าราชการการเมือง เผด็จการรัฐสภา การทำลายสถาบันทหารและการบิดเบือนคดีเกี่ยวกับการล้มสถาบัน
จากนั้นประกาศใช้ "ธรรมนูญการปกครอง" ขึ้นมาบังคับใช้โดยมีบทบัญญัติเพียง 33 มาตรา มีลักษณะคล้ายธรรมนูญปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2520 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 12 และเป็นฉบับที่ประการใช้โดยคณะปฏิวัติ หลังเหตุการณ์ "6 ตุลา 2519" แต่มีข้อแตกต่างกันอยู่ 3 เรื่อง คือ
1.มีสภานิติแห่งชาติสภาเดียว มีสมาชิกจำนวนไม่เกิน 300 คน ทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ อนุมัติกฎหมายที่คณะรัฐมนตรีเสนอและไม่มีสิทธิเสนอกฎหมายเอง
2.รสช. ทำหน้าที่บริหารร่วมกับ ครม. ในชื่อ "สภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ"
3.หัวหน้า รสช. และนายกรัฐมนตรีสามารถใช้อำนาจสั่งการทำอะไรก็ได้ เป็นการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะสามารถอ้างได้ว่าการใช้อำนาจกับใครก็ตามที่ทำลายความสงบเรียบร้อย ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจ ก่อกวนคุกคามศีลธรรมอันดี ทำลายทรัพยากร บั่นทอนสุขภาพประชาชน หรืออาจกล่าวได้ว่าให้อำนาจ "จับใครก็ได้" เพราะการกระทำใดๆ ก็สามารถโยงเข้ากฎหมายมาตรานี้ได้
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534 บังคับใช้อยู่นาน 9 เดือน 8 วัน ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่สั้นมาก