ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

จนกว่าจะพบกันใหม่...อำลา Root Garden ผืนดินที่มากกว่าสวนผักกลางเมือง

ไลฟ์สไตล์
20 มิ.ย. 59
22:34
2,343
Logo Thai PBS
จนกว่าจะพบกันใหม่...อำลา Root Garden ผืนดินที่มากกว่าสวนผักกลางเมือง
แม้จะเป็นวันสุดท้ายของ Root Garden พื้นที่สีเขียวย่านทองหล่อ แต่วันแห่งการร่ำลาเลี้ยงส่ง ยังคงอบอวลไปด้วยผู้คนที่เคยแวะเวียน และคนที่เพิ่งเข้ามาทำความรู้จักหลังรู้ข่าวคราวการปิดสวน

"มาที่นี่ตั้งแต่เริ่มถางหญ้า เริ่มตกแต่งสถานที่ใหม่ๆ ตอนนั้นก็คิดว่าที่นี่จะเป็นยังไงต่อไป" บุ๋ม–สมฤดี เยินรัมย์ หนึ่งในขาประจำของรูท การ์เด้นนึกถึงวันแรกๆ ที่เธอได้พบกับสถานที่แห่งนี้ จากที่เดินผ่านไปมา ไม่รู้จักว่าที่นี่ทำอะไร รู้ตัวอีกที รูท การ์เด้นก็กลายเป็นพื้นที่ให้เธอพาลูกมาเดินเล่น ปีนป่าย สัมผัสดิน ให้อาหารสัตว์ และเติบโตขึ้นมาพร้อมๆ กับสวนกลางเมืองแห่งนี้

"ไม่คิดว่าเลยว่าจะมีที่ให้ลูกเดินเล่นแบบนี้" สมฤดีซึ่งอาศัยอยู่ในย่านทองหล่อเล่าความรู้สึก "ลูกเราอายุเท่ากับรูท การ์เด้นเลย ตอนนี้เห็นว่าน่าจะพัฒนาได้มากกว่านี้ แต่เสียดายที่ต้องปิด" 

Root Workshop เวิร์คช็อปนักปลูก

Root Workshop เวิร์คช็อปนักปลูก

Root Workshop เวิร์คช็อปนักปลูก

Root Workshop เวิร์คช็อปนักปลูก

"รูท การ์เด้น" มีจุดเริ่มต้นจากไอเดียแปลงพื้นที่รกร้างเพื่อสื่อสารปัญหาที่ดิน โดยที่ดินขนาดกว่า 250 ตารางวาได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของมูลนิธิไชยวนา-ครูองุ่น มาลิกที่อนุญาตให้ใช้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

จากการเขียนความคิดลงบนกระดาษเพียงไม่กี่หน้าของทีมงานโครงการพลิกฟื้นผืนดินไทยใจกลางเมือง คณะทำงานรณรงค์กฎหมายที่ดิน 4 ฉบับ หวังให้พื้นที่ใจกลางเมืองบนย่านที่แพงสุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ เป็นพื้นที่สื่อสารเรื่องความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงที่ดินของประเทศ ที่ห่างไกลจากความรับรู้ของคนเมือง

ภาพที่บอกเล่าประโยคของทีมงาน Root Garden ที่เขียนไว้ในเฟซบุ๊ก

ภาพที่บอกเล่าประโยคของทีมงาน Root Garden ที่เขียนไว้ในเฟซบุ๊ก

ภาพที่บอกเล่าประโยคของทีมงาน Root Garden ที่เขียนไว้ในเฟซบุ๊ก "การได้สัมผัสจริงเพียงชั่วครู่ อาจโน้มน้าวใจได้มากกว่าคำพูดเป็นร้อยพัน"

ภาพที่บอกเล่าประโยคของทีมงาน Root Garden ที่เขียนไว้ในเฟซบุ๊ก "การได้สัมผัสจริงเพียงชั่วครู่ อาจโน้มน้าวใจได้มากกว่าคำพูดเป็นร้อยพัน"

 

"เราสร้างความย้อนแย้งระดับหนึ่ง ให้คนสนใจและมีมุมที่จะเข้าถึงคน พอย้อนแย้ง ก็มีคนตั้งคำถาม เรามีความสามารถที่จะตอบ คำถามพื้นฐาน คือ ทำไมมาทำอย่างนี้ตรงนี้ ก็เข้าทางเลย เราก็บอกว่า รู้ไหมว่ามันมีที่ดินรกร้างแบบนี้เต็มไปหมด ประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำด้านที่ดินสูงมาก" จักรชัย โฉมทองดี ผู้อำนวยการโครงการพลิกฟื้นผืนดินไทยใจกลางเมือง และผู้ประสานงานด้านนโยบาย-รณรงค์ องค์การอ็อกแฟม ประเทศไทย กล่าวในวงพูดคุยถอดบทเรียน 18 เดือนของรูท การ์เด้นเมื่อวันที่ 18 มิ.ย.2559  

 

ในวงทอล์คปิดท้ายของทีมงาน 3 หนุ่ม--เอกดนัย วงษ์วัฒนะ, ปกรณ์ อารีย์กุล และจักรชัย โฉมทองดี พวกเขาเห็นตรงกันว่าไม่อาจหาญเรียกที่นี่ว่า "พื้นที่ต้นแบบการปฏิรูปที่ดิน" แม้จะออกแบบไว้แรกเริ่มว่าต้องการใช้โครงการนี้เป็นพื้นที่รวบรวมรายชื่อเสนอกฎหมายที่ดิน แต่ด้วยบริบทการเมืองที่เปลี่ยน จึงยากที่จะเดินไปสู่จุดนั้น

จักรชัยบอกว่า สิ่งที่รูท การ์เด้นประสบความสำเร็จคือการสื่อสารกับผู้คนและยังเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนความคิดเห็นผ่านเวทีเสวนา Root Talk ที่จัดขึ้นราว 10 ครั้ง เขายอมรับว่าเป็นเรื่องออกจะแปลกที่ใจกลางย่านธุรกิจอย่างซอยทองหล่อจะมีวงถกเถียงกันเรื่องนโยบายประมง การค้าที่เป็นธรรม (fair trade) ปัญหาเรื่องการบุกรุกป่าจากการทำไร่ข้าวโพด

"แน่นอนว่ารูท การ์เดน มันเป็นแค่กลไกเล็กๆ ในองคาพยพที่ใหญ่กว่านี้เยอะ ใช่ว่าสร้างสวนแห่งหนึ่งขึ้นมาแล้วจะแก้ปัญหาเรื่องที่ดินได้"

 

 

ฮอนโน่ บีเกิ้ลที่ใครแวะมา Root Garden จะต้องได้พบปะ กับ

ฮอนโน่ บีเกิ้ลที่ใครแวะมา Root Garden จะต้องได้พบปะ กับ

ฮอนโน่ บีเกิ้ลที่ใครแวะมา Root Garden จะต้องได้พบปะ กับ "นัย" ทีมงานสวน

เอกดนัย ทีมงาน Root Garden กับเจ้าฮอนโน่ บีเกิ้ลที่ใครแวะมา Root Garden จะต้องได้พบปะ

ในแง่มุมชีวิตของผู้คนในพื้นที่สาธารณะ นัย-เอกดนัย วงษ์วัฒนะ หัวเรี่ยวหัวแรงของทีมงานรูท การ์เด้น บอกว่าสิ่งที่ทำให้สวนแห่งนี้มีชีวิต คือเรื่องราวในแต่ละวัน อย่างเช่น เด็กที่ไม่เคยรู้จักกันเลย พูดกันคนละภาษา เล่นด้วยกันได้เป็นวันๆ

เขาเล่าเรื่องของ "น้องเก้า" ลูกแม่ค้าขายน้ำข้างๆ รูท การ์เด้น มักรับหน้าที่เป็นไกด์ให้เด็กคนอื่นๆ ที่พ่อแม่พามาคร้งแรก เอกดนัยบอกว่บรรดาพ่อแม่ต่างรู้กันว่ารูท การ์เด้น คือที่ที่ปล่อยให้ลูกๆ เล่นได้โดยแทบไม่ต้องดูแล เด็กจะทำอะไรก็ทำไป ทีมงานก็ดูอยู่ห่างๆ แถมยังมี น้องเก้า ไกด์ท้องถิ่นคอยมามาเล่นกับเด็กเรื่อยๆ รวมทั้งมี "ฮอนโน่" เจ้าหมาพันธุ์บีเกิ้ล ที่หลายคนแต่งตั้งให้เป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ของรูท การ์เด้นไปแล้ว

 

ฟาร์เมอร์ช็อป หนึ่งในร้านขายผักอินทรีย์ใน Root Market เป็นสื่อกลางระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค

ฟาร์เมอร์ช็อป หนึ่งในร้านขายผักอินทรีย์ใน Root Market เป็นสื่อกลางระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค

ฟาร์เมอร์ช็อป หนึ่งในร้านขายผักอินทรีย์ใน Root Market เป็นสื่อกลางระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค

FARMER SHOP หนึ่งในร้านขายผักอินทรีย์ใน Root Market เป็นสื่อกลางระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภค

ภายใต้เรื่องเล่าสนุกๆ ของรูท การ์เด้น ที่บางครั้งต้องตอบคำถามเรื่องอินโนเซนส์ของคนเมือง พื้นที่ที่เปิดให้เด็กๆ มาให้อาหารสัตว์ มีเวิร์คช็อปการปลูกผัก หรือการเปิด "ตลาดมีราก Root Market" เป็นที่มาพบกันระหว่างผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิต ซึ้่งเอกดนัยมองว่าทั้งหมดนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะแง้มหัวใจให้คนในเมืองรับรู้ปัญหาของผู้คนที่ไร้ที่ทำกิน

"ถ้าเปรียบเป็นอาหาร ผมว่าที่เราตั้งใจเสนอเรื่องที่ดินตอนแรก ก็เหมือนกับอาหารคลีน ดีต่อสุขภาพแต่กินไม่อร่อย คนกินก็น้อย ผมก็ไม่กิน แต่พอเราปรุงให้อร่อยหน่อย รสจัด แต่ยังใช้วัตถุดิบที่เป็นออร์แกนิก ถึงจะไม่ดีกับสุขภาพมาก แต่อย่างน้อยก็ยังมีประโยชน์ให้คนไป โอเค วันนึงคุณอยากขยับขึ้น คุณก็เปลี่ยนได้" เอกดนัยอธิบาย 

เล้าไก่ ที่มีอินโฟกราฟิคบอกเล่าถึงเรื่องทรัพยากรที่ดิน การใช้ที่ดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เล้าไก่ ที่มีอินโฟกราฟิคบอกเล่าถึงเรื่องทรัพยากรที่ดิน การใช้ที่ดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

เล้าไก่ ที่มีอินโฟกราฟิคบอกเล่าถึงเรื่องทรัพยากรที่ดิน การใช้ที่ดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

 เล้าไก่ที่มีอินโฟกราฟิคเล่าปริมาณการใช้ที่ดินปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 

ปัญหาหนึ่งที่ทีมงานต้องพบในวันที่สวนเกษตรกลางเมืองแห่งนี้ต้องปิดตัวลง คือ การหาที่อยู่ใหม่ให้บรรดาสัตว์เลี้ยงอย่างแพะและไก่ รวมทั้งแปลงผักที่ฟูมฟักกันมาเกือบ 2 ปี เอกดนัยบอกว่า ตั้งแต่รู้กำหนดปิดสวน รูท การ์เด้นก็ได้รับน้ำใจจากผู้ปกครองเด็กๆ ที่จะรับช่วงต่อ ไก่ไข่ก็มีฟาร์มจากจังหวัดเพชรบุรีของเครือข่ายเกษตรกรรับจะดูแลต่อ แต่สุดท้ายแล้วทีมงานก็ได้ตัดสินใจส่งต่อแพะและไก่ให้ กลุ่มคนไร้บ้านและกลุ่มคนจนเมืองที่เพิ่งสร้างชุมชนในย่านพุทธมณฑลสาย 2

ที่ระลึกในวันปิด Root Garden

ที่ระลึกในวันปิด Root Garden

ที่ระลึกในวันปิด Root Garden

ที่ระลึกในวันปิด Root Garden

จักรชัยกล่าวทิ้งท้ายว่า 18 เดือนของรูท การ์เด้น ถือว่าบรรลุเป้าหมายที่ต้องการให้ที่ดินรกร้างได้ใช้ประโยชน์ในแง่สาธารณะที่ไม่ใช่ธุรกิจโดยแท้ แต่ดูแลตัวเองได้ ทำรายได้ในระดับหนึ่ง เป็นกิจกรรมเพื่อสังคมซึ่งตอนนี้มูลนิธิไชยวา-ครูองุ่น มาลิก เจ้าของที่ดิน จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ต่อในรูปแบบเพื่อสังคมเช่นเดียวกับที่รูท การ์เด้นเคยทำมา แต่เป็นในรูปแบบของมูลนิธิในสาขาศิลปะและกิจกรรมสำหรับเยาวชน

แม้ว่าวันนี้รูท การ์เด้นจะกลายเป็นอดีตไปแล้ว แต่ที่ดินผืนนี้กำลังรอเรื่องราวใหม่ๆ เกิดขึ้นดังเช่นที่ข้อความในจดหมายน้อยที่สันติสุข โสภณศิริ ประธานมูลนิธิไชวนา-ครูองุ่น มาลิก เขียนไว้ว่า

"...หวังว่าโอกาสใหม่ ไม่ไกลนักมูลนิธิจะได้รับการสนับสนุนจากคณะทำงานรูทการ์เด้น เพื่อดำเนินงานสาธารณประโยชน์อย่างถาวรบนที่ดินผืนนี้สืบไป"

ธันยพร บัวทอง ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสออนไลน์ รายงาน

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง