กรมชลประทานเร่งสำรวจจุดเสี่ยงที่เกิดหลังจากน้ำท่วมภาคใต้ พบว่า 12 จังหวัดภาคใต้ ตั้งแต่ จ.เพชรบุรี ถึง จ.นราธิวาส มีสิ่งกีดขวางทางระบายน้ำหรือจุดต้องเร่งแก้ไขเพื่อให้น้ำระบายลงสู่อทะเลได้เร็วขึ้นถึง 135 จุด ส่งผลให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เร่งให้กรมชลประทานจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมทั้งระบบหรือ แอเรีย เบส ยกเหตุการณ์น้ำท่วมภาคใต้เป็นพื้นที่นำร่องและบรรจุไว้ในแผนยุทธศาสตร์น้ำ 20 ปี เช่น กรณีน้ำหลากป่าหลากเข้าท่วม อ.บางสะพาน จ.ประจวบครีขันธ์ หรือบางสะพานโมเดล กรมชลประทาน มีแผนเพิ่มประสิทธิภาพของอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง มีมวลน้ำหลากเข้าท่วมมากกว่า 60 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่สามารถเก็บน้ำสามารถรับน้ำเพียง 1 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น พร้อมทั้งปรับปรุงสร้างถนน สะพาน ทางรถไฟ ที่ถูกกระแสน้ำเซาะจนขาดออกจากกัน เพราะเป็นสิ่งทางระบายน้ำลงสู่ทะเล ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจก่อนออกแบบสร้างใหม่
"กรมชลประทานตั้งสมมติฐานเบื้องต้นเอาไว้ว่าถ้ามีคลองหรือแม่น้ำสายใดก็ตาม ตัดผ่านถนนที่มีสะพาน ถ้าสะพานหรือถนนขาด แสดงว่ากีดขวางทางน้ำ ก็ต้องออกแบบใหม่ ไม่ใช้วิธีการซ่อมแซม เพราะเมื่อก่อนมีการออกข่าวว่าซ่อมแซม ซึ่งก็จะพังเหมือนเดิม" สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าว
โครงการบริหารจัดการน้ำแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบมีทั้งหมด 35 พื้นที่ทั่วประเทศ และภาคใต้มากที่สุด ถึง 12 จังหวัด หลังจากเกิดปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากและรุนแรงถึง 2 ครั้งติดต่อกัน และคาดว่าจะใช้งบประมาณค่อนข้างสูงเพราะบางพื้นที่ต้องใช้สิ่งปลูกสร้างแก้ไขปัญหา แต่หากโครงการไหนที่กลับมาปัดฝุ่นใหม่หรือมีการศึกษาตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไป ก็จะนำกลับมาศึกษารายละเอียดใหม่อีกครั้ง