วันนี้ ( 9ก.พ.2560) นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวถึงความคืบหน้าในการเก็บตัวอย่างเลือดช้าง ตามคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติที่ 60/2559 วันที่ 28 ก.ย.2559 เริ่องมาตรการป้องกันการนำมาสวมสิทธิ์เป็นช้าง โดยขณะนี้ได้ร่วมกับกรมการปกครอง กรมปศุสัตว์ เก็บตัวอย่างเลือดเส้นขน และเนื้อเยื่อของช้างในการตรวจสอบรหัสพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ ซึ่งตามฐานการนำช้างมาลงทะเบียนเพื่อตรวจรหัสพันธุกรรม จำนวน 3,443 เชือก หรือคิดเป็นร้อยละ 99.19 ของจำนวนช้างที่จดทะเบียนตั๋วรูปพรรณกับกรมการปกครองในเดือน ก.ย.2559 ที่มีการแจ้งจำนวนตั๋วรูปพรรณแล้ว 3,471 เชือก และตามคำสั่งคสช. จะต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 180 วันคือวันที่ 26 มี.ค.นี้
1 ปีคัดแยกดีเอ็นเอ-คลอดกฎหมายช้างฉบับใหม่
นายธัญญา บอกว่า ขณะนี้หน่วยปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าได้ทำการสกัดสารพันธุกรรมของช้างจำนวน 1,261 เชือก โดยตามแผนจะมีระยะเวลา 1 ปีในการตรวจข้อมูลดีเอ็นเอ ซึ่งจะรองรับการขึ้นทะเบียน ภายใต้กฎหมายใหม่ที่อยู่ระหว่างการยกร่าง โดย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมปศุสัตว์ ได้การแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณายกร่างกฏหมายเพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครองช้างแล้ว ประกอบด้วยผู้แทนจากกรมการปก ครอง และกรมอุทยานแห่งชาติฯ ในการพิจารณายกร่างกฎหมายช้างให้เสร็จ ทั้งนี้ยังขอประชาสัมพันธ์ว่าเจ้าของช้างที่มี และไม่มีตั่วรูปพรรณช้าง ที่ยังไม่นำช้างขึ้นทะเบียนและเจาะเลือด หากพ้นกำหนดแล้วจะถูกยึดตกเป็นของแผ่นดิน
อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ระบุว่ามีช้างบ้านจำนวนหนึ่ง ที่พบว่ามีตั่วรูปพรรณไม่ตรงกับตัวช้างที่นำมาเจาะเลือด และถ้าการตรวจดีเอ็นเอแล้วเสร็จก็คาดว่าจะรุ้จำนวนตัวเลขที่ชัดเจน โดยยืนยันว่ามาตรการนี้จะช่วยสางปัญหาช้างป่าถูกมาสวมสิทธิ์ ซึ่งในการเข้าไปเจาะเลือด ได้นำไปสู่การยึดช้างของชุดหญาเสือที่อายัดช้างไว้หลายเชือกแล้ว
เปิดข้อมูลผลตรวจสอบ “ช้างบ้าน” ไร้ตั๋วรูปพรรณ 63 เชือก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (วันที่ 31 ม.ค. 2560) พบว่า อันดับ 1 ที่มีการนำช้างมาลงทะเบียนมากสุดคือ 1.สบอ.16 จ.เชียงใหม่ 899 เชือก มีตั๋วรูปพรรณทั้งหมด แบ่งเป็น เจาะเลือด 838 เชือก เส้นขน 46 ตัวอย่าง (จากข้อมูลกรมการปกครอง 765 เชือก) 2.สบอ.5 จ.นครศรีธรรมราช 743 เชือก มีตั๋วรูปพรรณ742 เชือก ไม่มี 3 เชือก เจาะเลือด 702 เชือก เส้นขน 40 ตัวอย่าง(จากข้อมูลกรมการปกครอง 692 เชือก) 3.สบอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี 520 เชือก มีตั๋วรูปพรรณทั้งหมด เจาะเลือด 485 เชือก เส้นขน 25 ตัวอย่าง (จากข้อมูลกรมการปกครอง 391 เชือก)
4.สบอ. 9 จ.อุบลราชธานี 308 เชือก มีตั๋วรูปพรรณ 305 เชือก ไม่มี 3เชือก เจาะเลือด234 เชือก เส้นขน 64 ตัวอย่าง (จากข้อมูลกรมการปกครอง 445 เชือก 5. สบอ.บ้านโป่ง จ. ราชบุรี 206 เชือก มีตั๋วรูปพรรณ205 เชือก ไม่มี 1 เชือก เจาะเลือด 179 เชือก เส้นขน 25 ตัวอย่าง (จากข้อมูลกรมการปกครอง256 เชือก) นอกจากนี้ยังมีสบอ.ปราจีนบุรี สาขาสระบุรี นำช้างมาขึ้นทะเบียน 84 เชือก มีตั่วรูปพรรณ 77 เชือก ไม่มี 7 เชือก
ตรวจอัตลักษณ์ช้างเพียง 600 ตัวอย่าง
ด้าน ดร.กนิตา อุ่ยถาวร หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์สัตว์ป่า สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า บอกว่า หลังจากได้ตัวอย่างเลือดช้าง ขนช้าง มาแล้วก็จะเข้าสู่กระบวนการทางห้องปฏิบัติการหาเครื่องหมายสนิบ เพื่อระบุอัตลักษณ์ของช้างแต่ละเชือก เบื้องต้นสามารถสกัดดีเอ็นเอไปแล้ว 1,261 ตัวอย่าง ส่วนการทำเครื่องหมายอัตลักษณ์เพิ่งดำเนินการแล้วเสร็จราว 600 ตัว อย่าง โดยตามเงื่อนเวลาทั้งหมดน่าจะเสร็จทันตามที่วางแผนไว้คือประมาณ 1 ปี โดยตัวอย่างที่ส่งมากรณีที่เป็นขนช้าง จะเป็นพวกช้างตกมัน และช้างแม่ลูกอ่อน และลูกช้างที่ ซุกซน แต่กระบวนการไม่มีความซับซ้อน
สำหรับกระบวนการนิติวิทยาศาสตร์ หากจะตรวจ เพื่อยืนยันถึงความจะเน้นความสัมพันธ์ของครอบครัวช้างว่าเป็นพ่อแม่ลูกกันหรือไม่นั้น จะเป็นบางตัวอย่างที่มีข้อสังสัยในเรื่องการสวมสิทธิ์ และนำมาตรวจดีเอ็นเอ และหาเครื่องหมายไมโครแทเทิลไลน์เพื่อระบุตัว และหาความสัมพันธุ์ระหว่างกัน ก็จะได้คำตอบว่าเป็นพ่อแม่ลูกกันหรือไม่