ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"กัมพูชา-เวียดนาม" ต่อรองทรัมป์ เจรจาลดภาษีสินค้าสหรัฐฯ

ต่างประเทศ
5 เม.ย. 68
19:01
199
Logo Thai PBS
"กัมพูชา-เวียดนาม" ต่อรองทรัมป์ เจรจาลดภาษีสินค้าสหรัฐฯ
กัมพูชาและเวียดนามต่อรองกับผู้นำสหรัฐฯ ลดภาษีสินค้านำเข้า ขณะที่นายกฯ สิงคโปร์แถลงต่อประชาชนให้เตรียมรับมือแรงกระแทกจากมาตรการภาษี

วันนี้ (5 เม.ย.2568) ฮุน มาเน็ต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ส่งหนังสือถึงประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ "เสนอขอเจรจา" และขอให้สหรัฐฯ พิจารณาเลื่อนการบังคับใช้มาตรการภาษีดังกล่าวออกไปก่อน

และเพื่อความมุ่งมั่นที่จะกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างสองประเทศ กัมพูชาจะสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ โดยจะลดภาษีศุลกากรของสินค้าจากสหรัฐฯ ใน 19 หมวดหมู่ จากอัตราภาษีสูงสุดร้อยละ 35 เหลือเพียงร้อยละ 5 ทันที ทั้งนี้ผู้นำกัมพูชามอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประสานงานกับผู้แทนการค้าสหรัฐฯ เรียบร้อยแล้ว

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาส่งหนังสือถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ เสนอขอเจรจาและขอให้สหรัฐฯ พิจารณาเลื่อนการบังคับใช้มาตรการภาษี

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาส่งหนังสือถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ เสนอขอเจรจาและขอให้สหรัฐฯ พิจารณาเลื่อนการบังคับใช้มาตรการภาษี

นายกรัฐมนตรีกัมพูชาส่งหนังสือถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯ เสนอขอเจรจาและขอให้สหรัฐฯ พิจารณาเลื่อนการบังคับใช้มาตรการภาษี

ขณะที่เวียดนาม ภาคธุรกิจเดินหน้าประเมินผลกระทบจากกำแพงภาษีที่สูงถึงร้อยละ 46 โดยเวียดนามมีมูลค่าการค้าเกินดุลกับสหรัฐฯ ติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยเมื่อวันที่ 4 เม.ย.ที่ผ่านมา ผู้นำสหรัฐฯ ระบุว่าได้พูดคุยกับ โต เลิม เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ได้รับการเสนอว่าจะลดภาษีสินค้าสหรัฐฯ เหลือร้อยละ 0 หากสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้

"สิงคโปร์" เตือนพลเมืองรับแรงกระแทกจากภาษีทรัมป์

ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ แถลงผ่านสุนทรพจน์ ความยาว 5 นาที ระบุว่า โลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และสิงคโปร์ต้องเตรียมพร้อมรับมือกับ "แรงกระแทก" ที่อาจจะตามมา หลังโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ประกาศใช้มาตรการภาษีแบบตอบโต้กับหลายประเทศทั่วโลก

นายกรัฐมนตรีหว่อง ระบุอีกว่า มาตรการภาษีของสหรัฐฯ ไม่ใช่การปฏิรูป แต่เป็นการละทิ้งระเบียบการค้าโลกโดยสิ้นเชิง แม้สิงคโปร์จะถูกเรียกเก็บภาษี 10% ซึ่งเป็นอัตราต่ำที่สุด หากเทียบกับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่หากประเทศอื่นๆ ทำตาม ไม่เอาองค์การการค้าโลกและตั้งกำแพงภาษี จะนำไปสู่ปัญหา โดยเฉพาะกับประเทศเล็กๆ อย่างสิงคโปร์ที่พึ่งพาการค้า

แม้สิงคโปร์ยังมีข้อได้เปรียบเชิงโครงสร้าง มีเงินสำรองที่มั่นคง แต่ก็เรียกร้องให้ชาวสิงคโปร์ทุกคนมีสติ เตรียมพร้อมและไม่ประมาทต่อความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น

ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์

ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์

ลอว์เรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์

หอการค้าจีนหนุนรัฐบาลใช้มาตรการตอบโต้

หอการค้าในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ของจีน ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมสิ่งทอ อาหาร ไปจนถึงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ แสดงจุดยืนคัดค้านมาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ พร้อมทั้งแสดงการสนับสนุนรัฐบาลจีนอย่างเต็มที่ในการใช้มาตรการตอบโต้ที่จำเป็นทั้งหมด

ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังมาตรการกำแพงภาษีของสหรัฐฯ ทำให้จีนเผชิญกำแพงภาษีสูงถึงร้อยละ 54 ล่าสุดกระทรวงการคลังจีนประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดจากสหรัฐฯ เพิ่มอีกร้อยละ 34 เพื่อตอบโต้มาตรการดังกล่าว โดยให้เริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย. เป็นต้นไป นอกจากนี้ยังออกข้อจำกัดการส่งออกแร่หายากบางชนิดด้วย

อ่านข่าว : "จีน" ตอบโต้เก็บภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เพิ่ม 34%

ส่วนนักเศรษฐศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ระบุว่า นโยบายภาษีใหม่ของสหรัฐฯ หมายถึงนโยบายปกป้องทางการค้า ซึ่งขัดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกและจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสหรัฐฯ เอง

ญี่ปุ่นถูกสหรัฐฯ เก็บภาษีสินค้านำเข้าในอัตราร้อยละ 24 ซึ่งญี่ปุ่นระบุว่า การกระทำดังกล่าวอาจขัดต่อกฎระเบียบขององค์การการค้าโลก รวมถึงข้อตกลงด้านการค้าระหว่างสองประเทศที่เคยทำไว้ก่อนหน้านี้

ผู้นำอังกฤษหารือผู้นำชาติอื่นรับมือกำแพงภาษี

มีรายงานว่า เคียร์ สตาร์เมอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จะใช้ช่วงสุดสัปดาห์นี้พูดคุยกับผู้นำต่างชาติ หลังจากก่อนหน้านี้ได้พูดคุยกับผู้นำออสเตรเลียและอิตาลี โดยเห็นพ้องต้องกันว่า สงครามการค้าเต็มรูปแบบจะสร้างความเสียหายอย่างมาก

ด้านเจ้าหน้าที่อังกฤษระบุด้วยว่า อังกฤษจะดำเนินการเตรียมความพร้อมอย่างใจเย็นแทนที่จะรีบตอบโต้

ขณะที่นิโคลัส มาดูโร ประธานาธิบดีเวเนซูเอลา ระบุว่า พร้อมที่จะรับมือ โดยเวเนซูเอลาจะถูกเรียกเก็บภาษีร้อยละ 15 ซึ่งสูงกว่าประเทศอื่นๆ ในลาตินอเมริกาถึงร้อยละ 5

อ่านข่าว

สะเทือนทั้งโลก "สหรัฐฯ" เคาะตัวเลขภาษีตอบโต้คู่ค้า ไทยโดน 36%

สงครามเศรษฐกิจโลก “ระเบิด” ไทยต้องสู้ (ทรัมป์) แบบ “มดแดง”

ทรัมป์ขึ้นภาษี 54% ปลุกมังกรจีนตื่นพร้อม "กลยุทธ์ดึงดูดนักลงทุน"

ข่าวที่เกี่ยวข้อง