ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สจล.เจ๋งคิดนวัตกรรม “แอร์ประหยัดไฟ” ลดโลกร้อน – เซฟเงินหมื่น

Logo Thai PBS
สจล.เจ๋งคิดนวัตกรรม “แอร์ประหยัดไฟ” ลดโลกร้อน – เซฟเงินหมื่น
สจล. เปิดวิจัยต้นแบบ “เครื่องปรับอากาศประหยัดไฟ” ด้วยวงจร “Back to Back คอนเวอร์เตอร์” ลดการสิ้นเปลือง 50% พร้อมหมุนกระแสไฟกลับสู่ระบบ เซฟเงินมากกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี

วันนี้(9 เม.ย.2560) รศ.ดร.สุรินทร์ คำฝอย รองอธิการบดี และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) บอกว่า ในช่วงฤดูร้อนโดยเฉพาะเดือน เม.ย. ของทุกปี ถือเป็นช่วงที่ทั่วประเทศมีความต้อง การใช้ไฟฟ้าสูงที่สุด โดยค่าเฉลี่ยพีคสุดของวันที่ 19 เม.ย.2559 ซึ่งมีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในรอบปี อยู่ที่ 28,351.7 เมกะวัตต์ ขณะที่กำลังผลิตไฟฟ้าทุกแหล่งทั่วประเทศ อยู่ที่ 41,242.25 เมกะวัตต์ แม้ภาพรวมจะเพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้า แต่หากแยกเฉพาะกำลังผลิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. นั้น อยู่ที่ 16,071.13เมกะวัตต์ คิดเป็นประมาณร้อยละ 39 ของกำลังผลิตไฟฟ้าทั้งระบบ

ในช่วงนี้ของทุกปีจึงมีการรณรงค์ขอความร่วมมือ ประชาชนช่วยกันประหยัดไฟในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะการใช้เครื่องปรับอากาศ ซึ่งปกติไม่ว่าจะเป็นอาคารพาณิชย์หรือโรงงานอุตสาห กรรม ระบบปรับอากาศจะมีการใช้พลังงานที่สูงมาก ขณะนี้ทางสจล. จึงศึกษาและพัฒนาแอร์ต้นแบบประหยัดพลังงาน เรียกว่า “โครงการวิจัยเครื่องต้นแบบการชดเชยกำลังไฟฟ้าเสมือนด้วยอินเวอร์เตอร์ของเครื่องปรับอากาศ” ที่ไม่เพียงลดกำลังการใช้ไฟฟ้าในการสร้างความเย็นเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันยังนำพลังงานไฟฟ้าในส่วนที่ลดลง ส่งกลับเข้าสู่ระบบวงจรไฟฟ้าภายในบ้านเรือนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะทำให้ประหยัดพลังงานไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายแล้ว ยังช่วยรักษาแรงดันไฟฟ้าภายในบ้านไม่ให้ต่ำเกินทำให้ไฟตกหรือสูงเกินในระดับที่เป็นอันตราย 

 

ด้าน น.ส.รสริน อัจฉริยบุญยงค์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์  สจล. หนึ่งในผู้ศึกษาผลงานเครื่องต้นแบบ ร่วมกับเพื่อนนักศึกษาและรุ่นพี่นักศึกษาระดับปริญญาโท บอกว่า  เครื่องต้นแบบการชดเชยกำลังไฟฟ้าเสมือนด้วยอินเวอร์เตอร์ของเครื่องปรับอากาศ พัฒนาขึ้นเพื่อหวังช่วยลดค่าความสูญเสียไฟฟ้าภายในบ้านพักอาศัย และปรับปรุงระดับแรงดันไฟฟ้าสำหรับสมาร์ทโฮมและบ้านเรือนทั่วไป

โดยโครงงานวิจัยนี้ได้ใช้วงจร “Back to Back คอนเวอร์เตอร์” เข้ามาควบคุมความเร็วรอบของคอมเพรสเซอร์ ให้สามารถรักษาอุณหภูมิได้คงที่ตามต้องการ ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ในการจ่ายกำลังไฟฟ้าเสมือนเข้าไปชดเชยให้กับโหลดต่างๆ ภายในบ้าน จากผลการทดลองกับเครื่องปรับอากาศขนาด 38,600 บีทียู ซึ่งเป็นเครื่องปรับอากาศ 3เฟส 380 โวลต์ ที่ดัดแปลงให้เป็นเครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ และนำมาต่อเข้ากับอุปกรณ์ควบคุมกำลังไฟฟ้าเสมือน หรือ แอคทีฟฟร้อนเอ็นด์ ที่พัฒนาเพิ่มฟังก์ชั่นเข้าไป พบว่าสามารถลดปริมาณพลังงานไฟฟ้าและนำพลังงานที่เหลือส่งต่อเข้าสู่ระบบได้จริง

ทั้งนี้เมื่อมีการปรับเปลี่ยนแอร์ต้นแบบระบบทั่วไปให้เป็นระบบอินเวอร์เตอร์ จะช่วยลดการใช้พลังงานลงร้อยละ 50% และลดค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้นในระบบอีกร้อยละ 7.5 จากนั้นเมื่อนำอุปกรณ์แอคทีฟฟร้อนเอ็นด์ต่อเพิ่มเข้าไป ระบบจะดึงพลังงานไฟฟ้าอีกร้อยละ 50  ที่ไม่ถูกนำมาใช้งานและปกติถูกปล่อยทิ้งไปเฉยๆ เปลี่ยนเป็นกำลังไฟฟ้าเสมือน สามารถต่อเข้าสู่ระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้ทันที

 

 

น.ส.รสริน บอกว่า จากการทดลองกับแอร์ขนาด 38,600 บีทียู ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือบ้านขนาดใหญ่ ช่วยประหยัดพลังงานโดยลดกำลังไฟฟ้าจริงได้ถึง 1.7 กิโลวัตต์ ขณะเดียว กันยังเกิดกำลังไฟฟ้าเสมือนให้กับโหลด ภายในบ้านช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับระบบไฟฟ้า โดยจากการประเมินเบื้องต้นพบว่าช่วยประหยัดค่าไฟในอาคารปฏิบัติการพลังงานไฟฟ้าอัจ ฉริยะ ซึ่งเทียบเท่าได้กับบ้านขนาดใหญ่และโรงงานอุตสาหกรรมขนาดย่อม ได้ถึงปีละกว่า 36,000 บาท ใช้ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปี

ส่วนบ้านขนาดเล็กที่มีการใช้แอร์ขนาด 12,000 บีทียู นั้น หากในอนาคตหากมีการพัฒนาอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับปริมาณการใช้ไฟฟ้า คาดว่าจะช่วยลดค่าไฟได้ประมาณปีละ 6,700 บาท ระยะเวลาในการคืนทุน 3 ปีครึ่ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง