ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จักแอพพลิเคชั่น "TAXI OK”ฝีมือนักวิจัยสจล.-จี้ติด “ปุ่มฉุกเฉิน”

Logo Thai PBS
รู้จักแอพพลิเคชั่น "TAXI OK”ฝีมือนักวิจัยสจล.-จี้ติด “ปุ่มฉุกเฉิน”
สจล. จับมือกรมการขนส่งทางบก แก้ปัญหาแท็กซี่ไทย 1 แสนคัน เปิดตัวแอพพลิเคชั่น “TAXI OK” พร้อมชูฟังก์ชั่น “ปุ่มฉุกเฉิน” กดทันทีเมื่อเกิดเหตุร้าย มิเตอร์โกง และควบคุมความปลอดภัยให้ผู้โดยสาร

วันนี้ (18พ.ค.2560) รศ.ดร.เอกชัย สุมาลี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ คณะวิศว กรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. บอกว่า จากปัญหาข้อร้องเรียนการให้บริการของแท็กซี่อย่างต่อเนื่อง จึงได้หาแนวทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งในส่วนของศูนย์วิจัยนครอัจฉริยะ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ได้ร่วมกับคณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา พัฒนาแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ชื่อว่า “TAXI OK” สำหรับยกระดับการให้บริการแท็กซี่แก่กรมการขนส่งทางบก

โดยเพิ่มการติดตั้งระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก หรือ จีพีเอส เพื่อควบคุมกำกับความปลอดภัยของทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถ และเพื่อบริหารจัดการระบบเดินรถให้อันเป็นการยกระดับมาตร ฐานการบริการให้ดีขึ้น โดยการทำงานของแอพพลิเคชั่นแบ่งออกเป็น 7 ด้านสำคัญ คือ 1.ระ บบจัดการภาพนิ่ง 2.ระบบแสดงตำแหน่งรถแท็กซี่ 3.ระบบแสดงความต้องการใช้แท็กซี่ 4.ระ บบร้องเรียนและแจ้งเหตุฉุกเฉิน 5.ระบบตรวจสอบพฤติกรรมการขับรถ 6.ระบบจัดการและประเมินศูนย์แท็กซี่เอกชน และ 7.ระบบจัดการและประเมินพนักงานขับรถ

 

 

โฉมหน้าแอพพลิเคชั่น TAXI OK

รศ.ดร.เอกชัย กล่าวว่า การพัฒนาแอพพลิเคชั่น จะนำมาใช้กับแท็กซี่มิเตอร์ทุกคัน ขณะนี้ทั่วประเทศมีการขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก จำนวน 92,829 คัน(สถิติ 30 เม.ย. 2560)  ถือเป็นความพยายามแก้ไขปัญหาการให้บริการของแท็กซี่ในประเทศไทย ซึ่งก่อนหน้านี้ยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก อาจมีการควบคุมได้บ้างในส่วนของผู้ประกอบการ ที่หันมาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีแอพพลิเคชั่นในการให้บริการ 

หากเจาะลึกรายละเอียด และรูปแบบการทำงานของแอพพลิเคชั่น ที่พัฒนาสำหรับแท็กซี่ของกรมการขนส่งทางบกนั้น หลักการทำงานจะเชื่อมโยงข้อมูลจากแอพพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนของผู้โดยสาร ไปยังรถแท็กซี่ที่ติดตั้งระบบ GPS Tracking และแอพพลิเคชั่น TAXI OK เรียกรถแท็กซี่ได้ทุกสหกรณ์ จากนั้นข้อมูลจากรถแท็กซี่จะถูกส่งไปยังศูนย์บริหารจัดการย่อยของแต่ละสหกรณ์ที่สังกัดอยู่ และข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังศูนย์บริหารจัดการแท็กซี่ของกรมขนส่งทางบกอีกต่อหนึ่ง

การเชื่อมต่อของระบบผ่านเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินรถ จะช่วยให้สามารถส่งค่าตำแหน่งพิกัดการเดินรถ ความเร็ว สถานะเครื่องยนต์ การแสดงตนของผู้ขับขี่ รายงานค่ามิเตอร์ และข้อมูลการจองรถ อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับปุ่มเปิดปิดสถานะไฟว่าง กล้องบันทึกภาพซึ่งจะมีการบันทึกภาพทุก 1 นาที และปุ่มฉุกเฉินรายงานเหตุฉุกเฉินแบบเรียลไทม์

 

 

 

จี้ขนส่ง หนุนติดตั้ง "ปุ่มฉุกเฉิน"ในรถ


“ภาพรวมจำเป็นต้องมีมาตรการให้ผู้ประกอบการติดตั้งจีพีเอส และอุปกรณ์ต่างๆในรถแท็กซี่ โดยเฉพาะเครื่องอ่านการ์ด สำหรับรายงานตัวผู้ขับรถ รวมถึงการแก้ปัญหาอื่นๆ อาจต้องพิจารณาการติดตั้งกล้องบันทึกภาพ และปุ่มกดฉุกเฉิน หรือ Emergency Push Button ซึ่งใช้ได้ทั้งคนขับและผู้โดยสาร ในการแจ้งเตือนเหตุด่วนเหตุร้ายเพื่อการเข้าช่วยเหลืออย่างทันท่วงที อันเป็นนวัตกรรมใหม่ที่แท็กซี่ไทยไม่เคยนำมาใช้ แต่เป็นรูปแบบที่ทั่วโลกใช้ควบคุมและได้ผลลัพท์ที่ดี โดยการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย 3G ไปยังศูนย์ควบคุม ซึ่งในระยะเวลาอันใกล้นี้คาดว่า กรมการขนส่งทางบก กำลังทบทวนการออกประกาศ ให้แท็กซี่ ที่จดทะเบียนใหม่ทุกคันติดตั้งในเร็วๆ นี้ ส่วนแท็กซี่เก่าทั้งที่ไม่เคยติดตั้งหรือติดตั้งระบบคล้ายกันนี้ แต่ไม่เป็นไปตามประกาศจะอนุโลมให้เข้ามาติดตั้งภายใน 2-3 ปี 

เชื่อว่าหากทำได้ตามแผนงานที่วางไว้จะช่วยให้การควบคุม ป้องกันปัญหาต่างๆ ทั้งการไม่รับผู้โดยสาร การขับรถออกนอกเส้นทาง มิเตอร์โกงราคา หรือทะเลาะวิวาท และการคุกคามทางเพศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เพียงช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยเท่านั้น แต่ยังส่งเสริมภาพลักษณ์และการท่องเที่ยวไปพร้อมกัน

เชื่อมั่นสร้างความปลอดภัยผู้โดยสาร 


ด้าน ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) บอกว่า  การยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการให้บริการ รวมไปถึงความปลอดภัยของผู้โดยสารแท็กซี่นั้น นอกจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เข้ามาช่วยบริหารจัดการอย่างเป็นระบบแล้ว ยังต้องทำควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎระเบียบและกฎหมายอย่างจริงจัง เช่น กรณีผู้โดยสารถูกไล่ลงจากรถกลางทางหรือโดนคุก คามทางเพศ จนถูกเรียกร้องให้ กรมการขนส่งทางบก เพิ่มมาตรการในการคัดกรอง หรือตรวจสอบผู้ที่จะมาขับแท็กซี่ 

 


จากปัญหานี้ จึงขอเสนอแนวทางในการยกเครื่องประสิทธิภาพ การตรวจคัดกรองระบบขึ้นทะเบียน และตรวจสอบคุณสมบัติผู้ที่จะมาประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ นอกจากนี้การที่มีแอพพลิเคชั่นในการเรียกใช้บริการเดินทางในรูปแบบ ที่เรียกว่า Ride Sharing และได้รับความนิยมจากประชาชนในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งข้อดีของการให้บริการในลักษณะนี้ คือการมีคุณภาพการให้บริการที่ดีกว่าในบางส่วน เช่น การไม่ปฏิเสธผู้โดยสาร อย่างไรก็ดีรูปแบบการให้บริการแบบนี้ยังมีความเสี่ยง ในเรื่องของความปลอดภัยของทั้งรถยนต์ที่ให้บริการและผู้ขับขี่ที่อาจจะไม่ได้มีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ซึ่งในอนาคตคงต้องมีการออกกฎหมายมากำกับดูแลบริการประเภทนี้ เพื่อลดความเสี่ยงของประเด็นดังกล่าว

ขณะที่ สุวดี เฟื่องโคตร ผู้อำนวยการฝ่ายแท็กซี่สัมพันธ์ Grab บอกว่า แกร็บ เป็นผู้ให้บริการเรียกแท็กซี่ผ่านแอพพลิเคชั่น ที่มีผู้ใช้งานและผู้ขับขี่ครอบคลุมถึง 7 เมืองทั่วประเทศไทย โดยบริการแรกที่เปิดให้บริการก็คือบริการแท็กซี่ ซึ่งฐานผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นและผู้ขับขี่มากเป็นอันดับหนึ่ง จึงให้ความสำคัญในเรื่องของความปลอดภัยสูงสุด  

 



 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง