ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

แพทย์ มน.เตรียมปรับหลักสูตรสหวิชาชีพเรียนรู้ร่วมกัน เพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วย

สังคม
10 มิ.ย. 60
10:36
734
Logo Thai PBS
แพทย์ มน.เตรียมปรับหลักสูตรสหวิชาชีพเรียนรู้ร่วมกัน เพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เตรียมปรับหลักสูตรสหวิชาชีพเพื่อให้นักสึกษาเรียนรู้ร่วมกัน ยกระดับการสร้างแพทย์ 7 ดาว หวังเพิ่มคุณภาพการดูแลผู้ป่วย

ศ.พญ.วณิชา ชื่นกองแก้ว เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาการศึกษาบุคลากรสุขภาพแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะผู้จัดการโครงการสุขภาพในศตวรรษที่ กล่าวว่า การใช้แนวทางการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ (IPE ) ว่า การพัฒนาการเรียนการสอนในวงการสาธารณสุขจำเป็นต้องเริ่มตั้งแต่พื้นฐานซึ่งไม่สามารถโดยวิชาชีพเดียวเท่านั้น แต่การดำเนินการร่วมกันซึ่งจะช่วย แก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่เริ่มต้น เบื้องต้นเริ่มจาก คณะแพทย์ศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ ดละพยาบาล เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในแต่ละบทบาท สร้างความเป็นผู้นำ และมีทีมเวิร์ค รวมถึงเกิดกระบวนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนร่วมกัน

"การเรียนร่วมกันของสหวิชาชีพจะช่วยให้มีความเข้าใจมากขึ้นและมีมุมมองในการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนที่ต่างกัน ครั้งหนึ่งคณะแพทย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คณะเภสัช และสถาปัตยกรรม ได้ลงพื้นที่ร่วมตรวจคนไข้ นักศึกษาแพทย์ก็ลงไปดูอาการคนไข้ นักศึกษาคณะเภสัชก็ไปดูยา และนักศึกษาคณะสถาปัตย์ไปดูสภาพแวดล้อมของบ้านที่ส่งผลกระทบของสุขภาพ เหล่านี้คือการเรียนรู้ร่วมกันที่จะช่วยให้แต่ละสาขาวิชาชีพช่วยเหลือคนไข้ได้ดีมากขึ้น" ศ.พญ.วณิชา ระบุ

 

 

ด้าน รศ.นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก กล่าวว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร มุ่งเน้นการผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยเน้นการทํางานร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง จึงได้นำการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ ซึ่งเป็นหนึ่งในการเรียนรู้แบบมาเสริมหลักสูตรผลิตแพทย์ 7 ดาว ซึ่งเดิมพัฒนามาจากหลักสูตรแพทย์ 5 ดาว (5 Star Doctor) ของ WHO เนื่องจากเห็นว่ามีหลักคิดที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน โดยเฉพาะในด้านการสร้างภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานร่วมกัน การสร้างสัมพันธ์ที่ดีระหว่างวิชาชีพ รวมถึงการสื่อสาร ซึ่งจะเป็นกลไกช่วยผลิตบัณฑิตแพทย์และบัณฑิตด้านสุขภาพให้มีคุณลักษณะและสมรรถนะสอดรับกับความต้องการของทางกระทรวงสาธารณสุขและสังคมไทยในอนาคต

รศ.นพ.ศิริเกษม กล่าวเพิ่มเติมว่า การเรียนรู้รูปแบบการศึกษาแบบสหวิชาชีพ เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาด้านสุขภาพและสาขาที่เกี่ยวข้อง เช่น พยาบาล เภสัชศาสตร์ สหเวชศาสตร์ ฯลฯ เข้าเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน เพื่อลดปัญหาความไม่เข้าใจระหว่างวิชาชีพเมื่อต้องปฏิบัติงานจริง และเชื่อมโยงการทำงานด้านสุขภาพให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพเพื่อสังคมไทยที่ดียิ่งขึ้น ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงหลักสูตรและทดลองใช้ เบื้องต้นได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และคาดกว่าจะเปิดใช้จริงในปี 2562

“บัณฑิตแพทย์ที่จบไป หลักๆ มีความสามารถในการตรวจรักษา แต่สื่อสารไม่ค่อยเป็น ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่ค่อยได้ ซึ่งหากคนที่มาเป็นหมอไม่สามารถสื่อสารกับคนไข้ได้ ไม่สามารถทำงานร่วมกับทีมเวิร์กได้ ทุกอย่างก็จบ ซึ่งหลักการเรียนรู้แบบ IPE จะเข้ามาช่วยเสริมในจุดนี้ ที่สำคัญยังส่งผลดีต่อตัวผู้ป่วย ที่บุคลากรด้านสุขภาพจะใช้ความรู้ความสามารถที่มีทำงานร่วมกันเพื่อการรักษาอย่างดีที่สุด ต่างจากเดิมที่เป็นคำสั่งแบบ Top-Down แพทย์สั่งมาอย่างไรก็ต้องทำไปแบบนั้นทั้งที่รู้ว่าผิดก็มี และเกิดเป็นกรณีฟ้องร้องเป็นคดีความระหว่างวิชาชีพ หรือฟ้องร้องระหว่างบุคลากรสุขภาพกับคนไข้ ซึ่งเคสดังกล่าวมีจำนวนมากในแต่ละปี และพบว่ามีอัตราเพิ่มมากขึ้นทุกปี” คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ระบุ

 

 

สอดคล้องกับ ที่ นพ.ศิริเกษม ศิริลักษณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 2 ที่ระบุว่า แนวทางการดูแลรักษาคนไข้นอกเหนือจากงานด้านการแพทย์ ก็มีงานด้านบริการสาธารณสุข ที่ต้องเดินด้วยกันโดยเฉพาะแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว ที่จะช่วยในการดูแลรักษาคนไข้ตั้งแต่ขั้นต้นซึ่งจะช่วยให้ลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องไปรักษายังโรงพยาบาลจำนวนมาก ลดการใช้ห้องฉุกเฉิน ลดโรคและภาวะโรคแทรกซ้อน ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง