ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นักวิชาการ ชี้ จุดอ่อนแผนรับมือฝนตกหนัก-น้ำท่วม กทม.

สังคม
7 ส.ค. 60
14:33
267
Logo Thai PBS
นักวิชาการ ชี้ จุดอ่อนแผนรับมือฝนตกหนัก-น้ำท่วม กทม.
นักวิชาการ ชี้ กรุงเทพฯ มีปัญหาหลายด้านในการรับมือฝนตกหนัก พร้อมเสนอปรับปรุงมาตรฐาน และระบบป้องกันน้ำท่วมทั้งระบบ รองรับความแปรปรวนของภูมิอากาศในอนาคต

วันนี้(7 ส.ค.2560) ศ.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ประธานสถาบันโลกร้อนศึกษาประเทศไทย กล่าวถึงปัจจัยที่มีผลต่อสภาพการระบายน้ำของกรุงเทพฯ มาจากกรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ขวางทางน้ำหลาก ประกอบกับการเติบโตอย่างรวดเร็วจนผังเมืองไม่สามารถควบคุมได้ทัน การพัฒนาระบบระบายน้ำจึงไม่ทันตามไปด้วย

"ปัจจุบันระบบระบายน้ำของกรุงเทพฯ สามารถรับน้ำฝนได้ 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง ถือว่าเล็กเกินไปเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เมื่อมีฝนตกหนักและน้ำใช้วันละ 6 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน จึงไม่สามารถรองรับได้" ศ.ธนวัฒน์ กล่าว

ศ.ธนวัฒน์ กล่าวอีกว่า หลังจากเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปี 2554 มีการสร้างผนังป้องกันน้ำท่วม ทำให้ระดับน้ำเจ้าพระยาสูงกว่าคลองในกรุงเทพฯ การระบายน้ำจากคลองสายต่างๆ ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนคลองต่างๆ ที่อยู่ในกรุงเทพฯ พบว่า มีตะกอนเพิ่มมากขึ้นปีละ 2-3 เซนติเมตรต่อปี และยังมีปัญหาขยะตามคลองและท่อระบายน้ำ จึงทำให้ระบายน้ำไม่ทัน

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครควรมีปรับปรุงมาตรฐานและระบบป้องกันน้ำท่วมริมตลิ่งแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งระบบ และเพิ่มระดับการระบายน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ให้ได้มากกว่า 60 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องกับความแปรปรวนของภูมิอากาศในอนาคต

ข่าวที่เกี่ยวข้อง