ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ลูกเห็บตก! เชียงใหม่ ผลพวงพายุฤดูร้อน โป่งแยงขาวโพลน

ภัยพิบัติ
18 เม.ย. 61
08:17
7,025
Logo Thai PBS
ลูกเห็บตก! เชียงใหม่ ผลพวงพายุฤดูร้อน โป่งแยงขาวโพลน
หลายพื้นที่ในจังหวัดเชียงใหม่พบลูกเห็บตก ตามคำเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา ที่ระบุว่าช่วงวันที่ 17-18 เมษายน บริเวณภาคเหนือจะมีลูกเห็บตกบางแห่งขณะเกิดพายุฤดูร้อน

วันนี้ (18 เม.ย.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Add Thanawut ได้เผยแพร่ภาพลูกเห็บตก บริเวณบ้านผานก โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลังจากในพื้นที่เกิดพายุฤดูร้อน เมื่อวานนี้ (17 เม.ย.) เวลาประมาณ 15.00 น. โดยระบุ ลูกเห็บตกสร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรเล็กน้อย โพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ต่อในสื่อสังคมออนไลน์ หลายความเห็นตกใจกับปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น บางส่วนระบุคล้ายหิมะในต่างประเทศ

เพจ ข่าวด่วนจอมทอง รักคุณ ได้เผยแพร่ภาพลูกเห็บตกเช่นกัน โดยเป็นภาพบริเวณบ้านแม่ฮะ ต.บ้านปง อ.หางดง และ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีลักษณะไม่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) อธิบายเรื่องลูกเห็บ ในเว็บไซต์คลังความรู้สู่ความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีไว้ว่า

ลูกเห็บมักเกิดขึ้นพร้อมกับอากาศปั่นป่วนรุนแรง กระแสอากาศเคลื่อนที่ขึ้น ทำให้หยดน้ำถูกพัดพาไปสู่ระดับสูงมาก และเมื่อหยดน้ำเริ่มแข็งตัวเป็นกลายเป็นน้ำแข็ง จะมีหยดน้ำอื่น ๆ รวมเข้ามารวมด้วย ดังนั้นขนาดของก้อนน้ำแข็งจะโตขึ้นเรื่อยๆ และในที่สุดก็ตกลงมาเป็นลูกเห็บ ลูกเห็บขนาดใหญ่มักจะเกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงและมีเมฆยอดสูงมาก บางครั้งสามารถพบลูกเห็บได้ที่ระยะไกลออกไปหลายกิโลเมตรจากต้นกำเนิด และสามารถทำความเสียหายต่อพื้นที่ที่ปรากฏลูกเห็บนั้น ในขณะที่ลูกเห็บตกผ่านบริเวณที่สูงที่มีอุณหภูมิสูงกว่า ลูกเห็บจะหลอมละลายกลายเป็นหยาดน้ำฟ้า ทำให้ที่ผิวพื้นสามารถตรวจพบฝนและลูกเห็บเกิดขึ้นปะปนกันหรืออาจตรวจพบฝนเพียงอย่างเดียว ดังนั้นควรตั้งข้อสังเกตของการเกิดลูกเห็บ แม้จะตรวจไม่พบที่ผิวพื้นโดยเฉพาะใต้ ANVIL ของพายุฟ้าคะนองขนาดใหญ่

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม 

เรื่องต้องรู้ “พายุฤดูร้อน” ฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เสี่ยงหลังคาปลิว-ต้นไม้ล้ม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง