ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

10 ปี หอศิลป์กรุงเทพ บนปากเหวกลุ่มทุน-กทม.

สังคม
15 พ.ค. 61
14:44
3,036
Logo Thai PBS
10 ปี หอศิลป์กรุงเทพ บนปากเหวกลุ่มทุน-กทม.
10 ปี หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ท่ามกลางการยึดพื้นที่จาก กทม.และกลุ่มทุน แต่สามารถรอดพ้นจากวิกฤตได้ทุกครั้ง จากการรวมพลังศิลปิน-ภาคประชาชน ที่ต้องการให้ใช้พื้นที่เรียนรู้ศิลปะอย่างอิสระและสร้างสรรค์ ล่าสุดยุคของพล.ต.อ.อัศวิน ยอมถอยอีกครั้ง

วันนี้ (15 พ.ค.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงชี้แจงกรณี กทม.ประกาศยึดคืนหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครกลับมาบริหารเองว่า ที่ผ่านมาเห็นว่าการบริหารงานหอศิลป์โดยมูลนิธิฯ ที่พบว่าเกิดความไม่สะดวกในหลายๆ รูปแบบ ให้มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เช่น การให้บริการโต๊ะเก้าอี้ต่างๆ ก็ไม่เพียงพอ ส่วนที่บอกว่าขาดทุน 80 ล้านบาทไม่เคยพูด จะขาดทุน กำไรไม่ใช่เรื่องของกทม.แต่เป็นเรื่องของมูลนิธิ ฯ และตอนนี้ได้บอกว่าสังคมอยากให้อยู่ตรงงนี้ก็ยกเลิกและชี้แจงไปแล้ว ให้เป็นประโยชน์กับสังคมมากที่สุด โดยต้องการพัฒนาพื้นที่ co-woking space โดยให้สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวบริหารดูแล


ยืนยันว่าถ้าพี่น้องประชาชนไม่เห็นด้วยก็จะหยุด และปล่อยให้เป็นไปตามเอ็นโอยูที่จะครบภายในปี 2564 และยืนยันว่าได้ยุติแนวคิดเข้าบริหารหอศิลป์กรุงเทพ โดยได้นำเสนอต่อสภากทม.ตั้งแต่เมื่อวานนี้(14 พ.ค.)และพร้อมคุยทำความเข้าใจกับทุกกลุ่ม และถึงตอนนั้น สามารถตอบได้ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป เนื่องจากขณะนั้นตนอาจจะไม่ใช่ผู้ว่าฯ กทม. แล้ว

"ไม่ใช่ครั้งแรก" ยึดคืนหอศิลป์ กทม.

ปี 2538 ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้ว่าฯ กทม. มีมติจัดสร้างหอศิลป์ ณ สี่แยกปทุมวัน

ปี 2544 นายสมัคร สุนทรเวช ผู้ว่าฯ กทม. ล้มเลิกโครงการหอศิลป์รูปแบบเดิม ปรับเป็นเชิงพาณิชย์ ขณะที่องค์กรด้านศิลปะ ศิลปิน อาจารย์ นักศึกษา ร่วมคัดค้านโดยการวาดภาพเขียนยาว 4 กม. ในหัวข้อ “ฉันเรียกร้องหอศิลป์ ไม่เอาศูนย์การค้า”


ปี 2547
 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. หารือเครือข่ายศิลปินและปชช.เห็นชอบให้จัดสร้างหอศิลป์ตามโครงการเดิม

ปี 2548 เครือข่ายศิลปินและ กทม.ลงนามปฏิญญาร่วมกัน

ปี 2551 หอศิลป์เปิดอย่างเป็นทางการ กทม. โอนสิทธ์ให้มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บริหารจัดการ

ปี 2554 มูลนิธิฯ มีสัญญาบริหารหอศิลป์เป็นเวลา 10 ปี และจะหมดสัญญาในปี 2564

มูลนิธิฯ ชี้หอศิลป์ "ไม่เคยขาดทุน"

ขณะที่ นายพัฒน์ฑริก โรจนุตมะ มีสายญาติ กรรมการ ผู้ช่วยเลขาธิการ มูลนิธิศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้ออกมาชี้แจงว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา หอศิลป์ บริหารงานอย่างมืออาชีพและมีประสิทธิภาพ และกำลังเจริญไปข้างหน้าอย่างหอศิลปะที่เกิดขึ้นในสากลโลก พร้อมทั้งได้ปฏิบัติตาม “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือด้านศิลวัฒนธรรม” ภายใต้รัฐธรรมนูญ 2540 และระเบียบราชการ กทม.2528 ว่าด้วย วิสัยทัศน์, พันธกิจ, วัตถุประสงค์ ทุกประการ


สำหรับการบริหารงานของหอศิลป์ ไม่เคยขาดทุน มีแต่การสนับสนุนโดยกทม. 40 ล้านบาทต่อปี นั้น ค่าใช้จ่ายที่เกินมาหอศิลปฯ เป็นผู้หามาเองโดยทั้งสิ้น ซึ่งได้พีบีเอสออนไลน์ได้ตรวจสอบพบว่า ปี 2557 มีผู้เข้าชมหอศิลป์ 9 แสนคน ปี 2558 มี 1.1 ล้าน ปี 2559 มี 1.2 ล้าน และปี 2560 มี 1.7 ล้านคน ซึ่งเป็นยอดผู้เข้าชมที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ข้อมูลจากเว็บไซต์ The standrad ระบุว่า กทม. ลดงบประมาณหอศิลป์ 5 ปี 15 ล้านบาท และในปีนี้ไม่มีการสนับสนุนงบประมาณ เนื่องจากสภา กทม.ไม่อนุมัติ งบจึงตกไปเป็นของสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว ในการจัดสรรงบเพื่อมอบให้หอศิลป์ต่อไป ส่วนหอศิลป์ทำรายได้ 5 ปี เพิ่มขึ้น 25 ล้านบาท จากค่าเช่าที่และเงินบริจาค

ผู้ช่วยเลขาธิการ มูลนิธิฯ ระบุเพิ่มเติมว่า ขณะนี้หอศิลป์เป็นที่หมายตาของกลุ่มทุนชาติที่กำลังแผ่อิทธิพลจากสี่แยกราชประสงค์ – พารากอน – มาบุญครอง ที่จะมาครอบครองหอศิลป์ (ที่มีอาณาเขตติดกัน) เขาจึงเสนอเงินก้อนใหญ่เป็นผลตอบแทน โดยดึงผู้บริหารงานหอศิลป์ เอกชนที่มีชื่อเสียงมาจากต่างประเทศมาบริหารงานหอศิลป์ในรูปแบบของการสัมปทาน และต่อไปการบริหารหอศิลป์ จะถูกมองด้วยสายตาของนักธุรกิจการค้าโดยสิ้นเชิง เหมือนกับนายกสมัครเคยจะทำมาแล้วในอดีต แต่ก็ต้องพ่ายแพ้ต่อพลังประชาชน


แต่สิ่งที่กทม. จะกระทำขึ้นนั้น จะเป็นการทำลาย “ปฏิญญาฯ” ที่เคยร่วมร่างมาด้วยกันจากภาคประชาชน 200 กว่าเครือข่าย และศิลปินแห่งชาติทุกสาขา เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2548 ณ อุทยานเบญจคีรี

ผมว่าพลังของภาคประชาชนในปัจจุบันนี้แข็งแกร่งกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้วมาก หากกทม.จะทำจริง ผลเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์ปลุกกระแสการ รักศิลปวัฒนธรรมใหญ่ที่สุดทั่วประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทุกจุดจะมุ่งไปสู่ “ท่านผู้ว่าฯ อัศวิน” แต่เพียงผู้เดียว ว่าท่านจะมีวิจารณญาณต่อการมองศิลปะแบบบ้านเมืองที่เจริญแล้วอย่างไร

ตั้งเป้า 2.5 หมื่นรายชื่อ คัดค้านผ่าน change.org

หลังจากมีการเผยแพร่กรณี กทม.เตรียมยึดคืนหอศิลป์ ก็ได้มีเครือข่าวศิลปินและศิลปินแห่งชาติจำนวนมาออกมาแสดงความคิดเห็นคัดค้านผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยที่ภาคประชาชนก็ได้มีการสร้างแคมเปญผ่าน change.org เพื่อคัดค้านการที่กรุงเทพมหานครจะเข้ามาบริหารจัดการหอศิลป์กรุงเทพฯด้วยตัวเอง หรือ #freebacc โดยระบุว่า

1.กรุงเทพมหานคร จะเอาหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ไปบริหารจัดการเอง

2.เราคิดว่ากรุงเทพมหานคร ไม่มีประสบการณ์และความสามารถในการบริหารจัดการงานลักษณะนี้

3.ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา หอศิลป์กรุงเทพ บริหารงานโดย มูลนิธิหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร มีประชาชนคนไทยและนักท่องเที่ยวมาใช้บริการเฉพาะปี 2560 จำนวน 1.7 ล้านคน ได้รับการเรต 4.5 ดาว จาก google map โดยผู้คนหลากหลายเชื้อชาติที่ได้เข้ามาใช้บริการในหอศิลป์กรุงเทพ ในปี 2560 ที่ผ่านมามีกิจกรรมและนิทรรศการมากกว่า 400 กิจกรรม รวมถึงเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงออกเรื่องสังคม การเมืองและสิ่งแวดล้อม


4.การบริหารการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม ไม่ใช่เรื่องทางการปกครอง ควรจะเป็นหน้าที่ของผู้ที่มีความรู้ประสบการณ์เฉพาะทาง และควรเป็นองค์กรที่มีอิสระในการดำเนินงานในระบบบริหารจัดการสมัยใหม่และเป็นสากล

โดยขณะนี้ เวลา 15.50 น. มีผู้ร่วมลงชื่อคัดค้านในแคมเปญ แล้ว 15,415 คน โดยตั้งเป้า 25,000 คน

 

อ่านข่าวเพิ่มเติม

"ถ้า ปชช.ไม่เห็นด้วย กทม.ก็จะไม่เข้าไปยุ่ง" อัศวินยอมถอยยึดคืนหอศิลป์ ?

 ให้นายกฯ สั่งระงับแนวคิด ผู้ว่าฯ กทม.ยึดคืนหอศิลป์ฯ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง