วันนี้ (22 มิ.ย.2561) พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เตรียมเสนอใช้มาตรา 44 ในการแก้ไขปัญหาการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ หลังมีข้อติดขัดในการใช้บังคับใช้ข้อกฎหมายของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยอมรับว่า มีช่องว่างของข้อกฎหมายบางประการจึงทำให้มีการลักลอบนำเข้าขยะอันตราย ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในสัปดาห์หน้า
ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐหน่วยงานใดเข้ามาเอื้อประโยชน์ในเรื่องนี้ แต่หากพบมีหลักฐานชัดเจนก็จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด ในส่วนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเร่งรัดดำเนินคดีนี้ โดยมีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร และกระทรวงอุตสาหกรรม
ภาพ:สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยอมรับว่าปัญหาที่พบส่วนใหญ่นายทุนชาวต่างชาติ และให้คนไทยถือครองในลักษณะนอมินี จึงทำให้การดำเนินคดีกับนายทุนชาวต่างชาติทำได้ยาก ขณะนี้สามารถดำเนินคดีได้เพียงแต่ผู้ถือหุ้นเพียงเท่านั้น
สำหรับบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม มีทั้งหมด 7 บริษัท พบมีความผิด 5 บริษัท ส่วนอีก 2 บริษัทอยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้อง แต่กลับพบว่ามีการ นำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 9 หมื่นตัน จากที่มีการขออนุญาตนำเข้าถูกต้องกว่า 1 แสนตัน
แต่ทั้งนี้กลับพบขยะอิเล็กทรอนิกส์กว่า 5 แสนตันที่มีการลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ตำรวจต้องสอบสวนหาข้อเท็จจริงว่าปริมาณขยะที่เกินมานั้นมาจากในประเทศหรือต่างประเทศ
"บีโอไอ"ขู่โรงงานผิดเงื่อนไขถอนออกทันที
นายโชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ กล่าวว่า ปัจจุ บัน บีโอไอ สนับสนุนการตั้งโรงงานที่นำวัสดุใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ 2 ประเภทหลัก ได้แก่ โรงงานรีไซเคิลพลาสติก และโรงงานรีไซเคิลทั่วไป ซึ่งจะได้รับการยกเว้นภาษีนิติบุคคล 6-8 ปี แต่กำหนดเงื่อนไขให้รีไซเคิล เฉพาะเศษซากวัถุดิบในประเทศ โดยโรงงานรีไซเคิลเศษซากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ต้องตั้งภายในนิคมอุตสาหกรรมเท่านั้น เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม
รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าวว่า บีโอไออนุมัติบัตรส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว 74 โครงการ พร้อมวางมาตร การติดตามโรงงานที่ขอรับการส่งเสริมจากบีโอไออย่างเข้มงวด ทั้งสั่งให้ผู้ประกอบการ รายงานผลประ กอบการทุกๆ 6 เดือน และ 1 ปี หากพบพิรุธจะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบ เพื่อป้องกันไม่ให้นำเศษซากชิ้นส่วนพลาสติก หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จากต่างประเทศเข้ามาในโรงงาน เนื่องจากการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี พิจารณาเป็นรายโครงการ แต่โรงงานอาจมีพื้นที่ที่มีทั้งโครงการขอรับการส่งเสริม และไม่ขอรับการส่งเสริม
ภาพ:สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
หากพบโรงงานกระทำผิดเงื่อนไข บีโอไอ ก็พร้อมถอนสิทธิรับการส่งเสริม และสั่งชดใช้ภาษีที่ได้รับการยกเว้น อีและจากปัญหาลักลอบนำเข้าเศษซากพลาสติก และอิเล็กทรอนิกส์ บีโอไอ จะเพิ่มความเข้มงวดในการติดตามตรวจสอบโรงงานที่ขอรับการส่งเสริมกิจการรีไซเคิลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะหากเป็นนักลงทุนจากประเทศ
รองเลขาธิการบีโอไอ กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบโรงงานรีไซเคิลที่ถูกกรมโรงงานพักใบอนุญาต 5 แห่ง ไม่ใช่โรงงานที่ได้สิทธิบีโอไอ แต่มีโรงงานรีไซเคิลพลาสติก 1 แห่ง เพิ่งได้รับสิทธิเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่ยังไม่เปิดดำเนินการ พร้อมประเมินแนวโน้มการขอรับสิทธิส่งเสริมการลงทุนกิจการประเภทรีไซเคิลจะลดลง เนื่องจากเทคโนโลยีในโรงงานชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนไป อีกทั้ง ปริมาณวัตถุดิบในไทยยังน้อย และไม่คุ้มค่าหากลงทุนกิจการรีไซเคิลที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
อ่านข่าวเพิ่มเติม
เคลียร์ขยะพิษ-พลาสติกตกค้างกว่า 2 แสนตัน หยุด! นำเข้าเพิ่ม
ชง คสช.ยกเลิกโรงงานรีไซเคิล ตัดวงจรขยะพิษ
ก.อุตฯ จ่อเบรกนำเข้า "ขยะอิเล็กทรอนิกส์"
ผลตรวจเข้มโรงงาน จ.สระแก้ว พบแอบทิ้งขยะพิษกลาง ”ทุ่งนา”