วันนี้ (31 ก.ค.2561) นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เขื่อนน้ำพุง ในพื้นที่ อ.ภูพาน จ.สกลนคร ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ช่วยกักเก็บน้ำมาหลายเดือนแล้ว แต่ขณะนี้ จำเป็นต้องระบายออก หลังฝนที่ตกหนักบริเวณเทือกเขาภูพาน ทำให้น้ำในเขื่อนเกินระดับความจุกักเก็บโดยน้ำจากเขื่อนน้ำพุง จะไหลไปลงแหล่งเก็บน้ำหนองหาร ใน อ.เมือง จ.สกลนคร ห่างกันกว่า 40 กิโลเมตร
เขื่อนน้ำพุงจะระบายน้ำออกจากเขื่อนน้ำพุง 600,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน โดยที่ประชุมสถานการณ์น้ำ ได้ประชุมร่วมกันช่วงค่ำเมื่อวานนี้ และเห็นว่าการระบายออกมาเพื่อลงหนองหาร ซึ่งอยู่ในตัวเมือง จ.สกลนคร แทบไม่มีผลต่อระดับน้ำในหนองหารเพราะระดับน้ำเพิ่มขึ้นไม่ถึง 1 เซนติเมตร ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนอย่ากังวลยืนยันไม่มีผลกระทบต่อพื้นที่ในตัวเมือง และติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด
เขื่อนนำพุง รับน้ำมาจากเทือกเขาภูพานที่มีฝนตกหนักสะสมในช่วงที่ผ่านมา และเมื่อระบายลงหนองหารแล้วน้ำ น้ำจากหนองหารจะระบายออกสู่ลำน้ำก่ำ เฉลี่ยวันละ 1,200,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
น้ำจากหนองหารทำให้เกิดผลกระทบกับบ้านเรือนและพื้นที่การเกษตรตามแนวลำน้ำก่ำ ที่เกิดน้ำท่วมทุ่ง และน้ำล้นจากคลองสาขา โดยเฉพาะ อ.โพนาแก้ว และ อ.โคกศรีสุพรรณ
สำหรับการแจ้งเตือนภัยวันนี้จุดวัดน้ำหนองหาน ที่ศุนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด ยังคงติดการเตือนภัยที่ระดับธงสีเหลือง ซึ่งยังต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด ซึ่งหนองหารเป็นแหล่งกักเก็บน้ำใหญ่ที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีผลต่อระดับน้ำในตัวเมืองสกลนคร และแนวลำน้ำก่ำ ที่ต่อเนื่องไปถึง อ.ธาตุพนม จ.นครพรม เพื่อระบายน้ำออกสู่แม่น้ำโขง
ล่าสุด ทางศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ได้แจ้งปรับเปลี่ยนระบบการแจ้งเตือนภัย ระดับน้ำ เป็น 5 ระดับตามลำดับเกตการณ์ปกติเริ่มที่สีเขียวไปสู่ระดับสีน้ำเงิน เหลือง ส้ม และสีแดง ที่เป็นระดับอันตรายสูงสุด
ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ร่วมกับฝ่ายเกี่ยวข้อง แถลงมาตรการป้องกันและสถานการณ์น้ำใน จ.สกลนคร โดยพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ขณะนี้ มี 9 อำเภอ จากทั้งหมด 18 อำเภอ ได้แก่ อ.โพนนาแก้ว อ.คำตากล้า อ.พรรณานิคม อ.เจริญศิลป์ อ.พังโคน อ.สว่างดินแดง อ.โคกศรีสุพรรณ และ อ.เมือง