ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มั่นใจ! เพชรบุรี พ้นน้ำท่วมรอบ 2 ตัดยอดน้ำเลี่ยงเมืองรับ “เบบินคา”

ภัยพิบัติ
16 ส.ค. 61
13:23
950
Logo Thai PBS
มั่นใจ! เพชรบุรี พ้นน้ำท่วมรอบ 2 ตัดยอดน้ำเลี่ยงเมืองรับ “เบบินคา”
กรมชลประทาน มั่นใจเพชรบุรี พ้นน้ำท่วมรอบ 2 งัดแผนตัดยอดน้ำเลี่ยงเมืองรับ “เบบินคา” หลังพบแนวโน้มน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้นกว่า 20 ล้านลบ.ม. ส่วนเขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี และอ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี ต้องปรับแผนระบายน้ำหลังน้ำสูงขึ้นรวดเร็ว

วันนี้ (16 ส.ค.2561) นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงแผนรับมือสถาน การณ์น้ำ เนื่องจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เบบินคา” ที่ขณะนี้ขึ้นฝั่งบริเวณชายฝั่งประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนวันพรุ่งนี้ (17 ส.ค.) หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน และหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศลาว ในวันที่ 18 ส.ค.นี้ และทำให้ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ และภาคเหนือ มีฝนตกชุกหนาแน่น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 16-19 ส.ค.นี้

โดยกรมชลประทาน ได้กำชับให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเบบินคา โดยมีเขื่อนใหญ่ 6 แห่งที่ต้อง เร่งระบายน้ำเพิ่มพื้นที่ในเขื่อนรับน้ำใหม่ คือเขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี และอ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน

 

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า  โดยเฉพาะเขื่อนแก่งกระจาน มีปริมาณน้ำ 732 ล้านลบ.ม.หรือ 103 % มีน้ำไหลเข้าอ่างกว่า 20 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน และมีน้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway)สูง 49 ซม.แนวโน้มปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้นช่วงสัปดาห์นี้ ยังต้องเฝ้าระวังสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ฝนที่ตกในพื้นที่ตอนบนของเขื่อนทำให้ระดับน้ำในเขื่อนแก่งกระจานขยับตัวขึ้นแบบช้าๆ ตอนนี้จึงยังคงแผนเดิม ใช้ระบบกาลักน้ำตัดน้ำลงแม่น้ำเพชรบุรี ระบายน้ำผ่านเขื่อนเพชร โดยควบคุมปริมาณระบายน้ำ 153 ลบ.ม.ต่อวินาที และการกระจายน้ำออกผ่านคลองฝั่งซ้าย ฝั่งขวา ตัดน้ำเข้าคลอง D9 เพื่อไม่ให้น้ำล้นตลิ่งแม่น้ำเพชร ไม่ให้กระทบกับ อ.เมืองเพชรบุรี

มั่นใจว่าถ้าการทำงานยังคงเป็นตามกลไกเดิมทั้งกรมชลประทาน ผู้ว่าฯเพชรบุรีและทุกหน่วยงาน ก็เชื่อว่าการทดสอบรอบแรกที่ควบคุมสถานการณ์น้ำไม่ให้เข้าเมืองเพชรบุรีได้ ก็จะไม่เกิดน้ำท่วมในเพชรบุรีในรอบ 2

แต่ยอมรับว่าอาจจะยังมีจุดฟันหลอและเขตอ.บ้านแหลม ที่อยู่ติดทะเลจะกระทบจากน้ำทะเลหนุน แต่กรมชลประทาน จะแก้ปัญหาให้ดีขึ้น และยังขอให้ประชาชนที่ทำแนวป้องกันทั้งปูน กระสอบทรายอย่าเพิ่งรื้อทิ้ง เพราะอีก 1 เดือนข้างหน้าเป็นฝนของภาคใต้ และอาจมีพายุเข้ามา

ภาพ : กรมชลประทาน

ภาพ : กรมชลประทาน

ภาพ : กรมชลประทาน

 

ชี้ 5 เขื่อนใหญ่ยังต้องเฝ้าระวัง

นอกจากนี้จกข้อมูลของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือสทนช.รายงานว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ มีปริมาณน้ำเกินร้อยละ 80 ของความจุ มีจำนวน 4 แห่ง ดังนี้ 1. เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีปริมาณน้ำ 732 ล้าน ลบ.ม. หรือ 103% น้ำล้นทางระบายน้ำ (Spillway) สูง 49 ซม.  

เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีน้ำ 533 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 103% เร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่ การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ มีการแจ้งให้ติดตามสถานการณ์น้ำในจังหวัดสกลนคร บึงกาฬ นครพนม ซึ่งลำน้ำอูนและลำน้ำสงคราม ไหลผ่าน

 

ภาพ : กรมชลประทาน

ภาพ : กรมชลประทาน

ภาพ : กรมชลประทาน

 

เขื่อนวชิราลงกรณ จ.กาญจนบุรี มีปริมาณน้ำ 7,759 ล้าน ลบ.ม. 88% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 132.05 ล้าน ลบ.ม.มีปริมาณน้ำไหลออกวันละ 41.42 ล้าน ลบ.ม. เร่งพร่องน้ำโดยเพิ่มการระบายน้ำเพื่อรองรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนทีเพิ่มขึ้น

เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีน้ำ 189 ล้าน ลบ.ม.หรือ 84% ต้องเร่งพร่องน้ำ ให้เต็มศักย ภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณน้ำจากอิทธิพลของฝนที่ตกเหนือเขื่อน โดยประสานจังหวัด และพื้นที่เตรียมแจ้งเตือนพื้นที่ ซึ่งแม้ว่าน้ำไหลเข้าอ่างจะลดลงเหลือแค่ 9 ล้านลบ.ม. จาก 12 ล้านลบ.ม.

ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และกลางที่มีปริมาณน้ำในอ่างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวน 2 แห่ง คือ เขื่อนรัชชประภา จ.สุราษฏร์ธานี น้ำ 4,884 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 87% ปริมาณน้ำไหลเข้าวันละ 15.41 การบริหารจัดการน้ำ ปรับแผนการระบายน้ำจากเดิม 20 ล้าน ลบ.ม ให้มากขึ้นเต็มศักยภาพของลำน้ำท้ายน้ำ เพื่อรองรับปริมาณฝนที่ตกเหนือเขื่อนโดยประสานจังหวัด และพื้นที่การแจ้งเตือนและการช่วยเหลือ ติดตามสถานการณ์ด้านท้ายน้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับเพิ่มลดการระบายให้มีผลกระทบด้านท้ายน้ำน้อยที่สุด

ส่วนอ่างเก็บน้ำคิรีธาร จ.จันทบุรี สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ ปริมาณน้ำ 74 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 97% ปริมาณน้ำที่ระบาย 0.66 ล้าน ลบ.ม. ระดับน้ำอยู่ที่ระดับ 204.8 ม.รทก. การบริหารจัดการน้ำ ติดตั้งกาลักน้ำจำนวน 30 ชุด มีการประสานขอเพิ่มจำนวนกาลักน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ

 
  

 



ข่าวที่เกี่ยวข้อง