วันนี้ (21 ส.ค.2561) รศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดผลงานนวัตกรรมและเทคโนโลยีแก้วิจัยการพัฒนาไบโอเซรามิกกำจัดสารเคมีปราบศัตรูพืชที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม รวม 3 โครงการซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมเสนอจดสิทธิบัตร ทำให้ไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในกระบวนการทั้งหมดได้
หนึ่งในนวัตกรรมการพัฒนาไบโอเซรามิกกำจัดสารเคมี หรือ เซรามิก ที่ตรึงจุลินทรีย์ไว้บนพื้นผิวของ น.ส.มานี จินดาการะเกด ทุนวิจัยระดับปริญญาเอก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) การพัฒนาไส้กรองน้ำเซรามิกนาโนและไส้กรองคาร์บอนนาโนเพื่อผลิตน้ำดื่ม และโครงการพัฒนาไบโอคาร์บอนเพื่อลดปัญหาสารตกค้างในดินและน้ำ
หลักการทำงานของไบโอเซรามิกจะช่วยดูดซับสารพาราควอตเอาไว้ที่พื้นผิว และสารเหล่านี้จะถูกจุลินทรีย์ที่ตรึงบนเซรามิกย่อยสลายให้หมดไปจึงกำจัดสารที่ตกค้างในน้ำได้
เตรียม “จดสิทธิบัตร” 3 นวัตกรรม
การลงพื้นที่สาธิตนวัตกรรมทั้ง 3 ชนิด ได้มีการเก็บตัวอย่างระบบประปาชุมชนของกรมอนามัยที่ใช้ในพื้นที่บ้านท่าลาด อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู ซึ่งเป็นระบบประปาที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะคลองหนีบ ป้อนเข้าระบบสำหรับใช้ในชุมชนแห่งนี้ประมาณ 270 ครัวเรือน
การทดสอบครั้งนี้ ได้มีการเก็บตัวอย่างน้ำจากระบบประปาหมู่บ้าน น้ำสะอาดจากขวด และทดลองโดยการเทียบน้ำสะอาด แต่ถูกเติมสารพาราควอตที่มีค่าความเข้มข้น 5 มิลลิกรัมต่อลิต และ 10 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนอีกหลอดเป็นน้ำจากระบบประปาชุมชน จากนั้นนำระบบไบโอเซรามิกมาที่วิจัยและพัฒนา พบว่าสามารถดูดจับสารพาราควอต ที่มีค่าความเข้มข้นได้ ซึ่งอยู่ระหว่างการเตรียมจดสิทธิบัตรในอนาคต
“ชาวบ้าน” ยอมซื้อน้ำ-กังวลสารพิษ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการสาธิตครั้งนี้มีชาวบ้านในชุมชนจำนวนมากให้ความสนใจการทดสอบ แม้บางคนจะทราบเบื้องต้นและพยายามหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากระบบประปาหมู่บ้าน และไม่ลงเล่นน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์
นายแถว กองอ้น ชาวบ้านหมู่ 12 บ้านท่าลาด
นายแถว กองอ้น ชาวบ้านหมู่ 12 บ้านท่าลาดยอมรับว่า รู้สึกกังวลหลังจากเห็นการทดสอบดังกล่าวว่า ระบบประปามีสารเคมีปนเปื้อน แม้จะพอทราบอยู่แล้ว แต่เมื่อเห็นว่ามีสารปนเปื้อนในน้ำประปาอยู่จริง จึงต้องการให้จังหวัดเร่งแก้ไข เพราะชุมชนท้ายน้ำยังจำเป็นต้องใช้น้ำจากเขื่อน
ชาวบ้านจะรู้เบื้องต้นและไม่บริโภคน้ำจากระบบประปา แต่ใช้วิธีการซื้อน้ำดื่มถังละ 10 ลิตรราคา 10 บาทโดยจะมีรถส่งน้ำเข้ามาส่งถึงในหมู่บ้านส่งสัปดาห์ละ 2 ครั้งโดยต้องมีค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนประมาณ 200 บาทต่อเดือน