ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เส้นทางปลดล็อก "กัญชา" สู่ยารักษาโรค

สังคม
13 พ.ย. 61
11:30
846
Logo Thai PBS
เส้นทางปลดล็อก "กัญชา" สู่ยารักษาโรค
เกือบ 6 เดือน ท่ามกลางเสียงสนับสนุนและคัดค้าน พ.ร.บ.ปลดล็อกกัญชา ในวันนี้มีความชัดเจนขึ้นเมื่อ ครม.มีมติเห็นชอบแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ปี 2552 ถือเป็นใบเบิกทางให้ "กระท่อม-กัญชา" นำมาศึกษาวิจัยและใช้ทางการแพทย์

หลังจากร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ที่มีเป้าหมายปลดล็อกกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ ถูกหยิบยกแยกออกมาพิจารณาหลังมีการเสนอแก้ไข ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าว และยังมีหลายประเด็นที่ถกเถียง โดยเฉพาะขั้นตอนการพิจารณาปรับแก้กฎหมาย ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เห็นว่า หากทำตามขั้นตอนพิจารณาทั้งหมดคงไม่ทันรัฐบาลนี้ จึงดึงเรื่องเร่งด่วนเพื่อตั้งคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างในรายละเอียดที่เกี่ยวเนื่องกับการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างเดียว

นั่นเป็นที่มาให้ร่าง พ.ร.บ.ปลดล็อกกัญชา กลับสู่การพิจารณาในขั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง ทั้งๆที่ร่างฉบับเต็ม คือ ร่าง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ขณะนี้ผ่านการพิจารณาของ สนช. วาระแรกไปแล้ว

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ย้อนดูเส้นทาง ก่อน ครม.มีมติเห็นชอบปลดล็อก ให้กัญชาถูกนำเข้าสู่การวิจัยและใช้ประโยชน์ทางการแพทย์  

มิ.ย.2561 สนช. รับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ปลดล็อกกัญชา และมีเวลาให้คณะกรรมาธิการพิจารณา 90 วัน สนช. ตั้ง กมธ.พิจารณาในรายละเอียด เฉพาะเรื่องการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ในการแพทย์เป็นการเฉพาะรวม 180 วัน

25 ก.ย.2561 กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ส่งมอบกัญชาของกลางจำนวน 100 กิโลกรัม ให้กับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อส่งต่อให้องค์การเภสัชกรรม นำไปศึกษาวิจัยทางการแพทย์ โดยการส่งมอบครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่บช.ปส.ได้ส่งมอบนอกรอบเวลาปกติ ก่อนการนำกัญชาของกลางจะถูกนำไปเผาทำลายปีละครั้ง

30 ต.ค.2561 ที่รัฐสภามีการสัมมนา "สนช.ปลดล็อกกัญชาเป็นยารักษาโรค" และเปิดรับฟังความคิดเห็นของก่อนเสนอร่าง พ.ร.บ.ซึ่งเป็นร่างกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ยาเสพติด พ.ศ. 2522 เข้าสู่วาระการประชุม สนช.

8 พ.ย.2561 นพ.โสภณ เมฆธน ประธานกรรมการองค์การเภสัชกรรม หรือ อภ. และประธานคณะกรรมการพิจารณาการนำกัญชามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ มั่นใจว่า จะสามารถผลิตและขึ้นทะเบียนยา กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.ได้ เพราะเป็นการผลิตยาจากพืชสมุนไพร โดยขณะนี้ อภ.สามารถสกัดน้ำมันกัญชาหยดใต้ลิ้น จากกัญชาของกลางได้แล้ว ซึ่งมีสัดส่วนของสาร THC สารกล่องประสาทสูง คาดว่าจะผลิตล็อตแรกในเดือนม.ค.2562 จำนวน 4,000 ขวด

9 พ.ย.2561 นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รมว.สธ. ในฐานะตัวแทนรัฐบาลเห็นชอบในหลักการ สาระร่าง พ.ร.บ. ดังกลับและจะนำกลับไปพิจารณาภายใน 30 วัน ก่อนเสนอ สนช.

12 พ.ย.2561 นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ชี้แจงกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวเกี่ยวกับข้อกังวลเรื่องการยื่นจดสิทธิบัตรสารสกัดกัญชาตามธรรมชาติของบริษัทต่างชาติในประเทศไทย กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยยืนยันไม่มีใครเป็นเจ้าของ “สารสกัดจากกัญชา” ส่วนกรณีบริษัทต่างชาติขอยื่นจดสิทธิบัตรเป็นการรับคำขอตามขั้นตอนตามกฎหมายยังไม่ได้อนุมัติ พร้อมระบุคนไทยยังวิจัยต่อยอดได้

12 พ.ย.2561 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟชบุ๊กตั้งคำถามสิ่งที่ประชาชนต้องการ โดยให้กรมทรัพย์สินฯ พิจารณาตรวจสอบการประดิษฐ์คำขอทั้ง 3 คำขอว่าจะให้หรือไม่ให้สิทธิบัตร

นอกจากนี้ ให้กรมทรัพย์สินฯ พิจารณาคำขอทั้ง 7 คำขอที่ยังไม่ยื่นการตรวจสอบการประดิษฐ์ด่วน กรณีที่ขัดต่อมาตรา 9 ให้รีบดำเนินการยกคำขอ โดยไม่ต้องรอให้แต่ละคำขอครบ 5 ปีหลังประกาศโฆษณา หากไม่สามารถดำเนินการเองได้ เห็นควรให้ องค์การเภสัชกรรมและผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้กัญชาในการรักษาโรคฟ้องศาล เพื่อใช้อำนาจศาลสั่งให้กรมฯยกเลิกคำขอ

13 พ.ย.2561 มีการนำร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี คาดว่ากลางเดือน พ.ย.นี้

ขณะที่ ล่าสุดวันนี้ (13 พ.ย.) คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบแก้ไข พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ปี 2552 เปิดทางให้ "กระท่อม-กัญชา" นำมาศึกษาวิจัยและใช้ทางการแพทย์ ภายใต้การควบคุมของแพทย์ เตรียมส่ง สนช.พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

ทั้งนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะเข้าสู่ที่ประชุม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)  วาระที่ 1 จากนั้นในชั้นกรรมาธิการอาจใช้เวลา 30-45 วัน ก็สามารถผ่านวาระ 2-3 ได้ และถ้าผ่าน สนช. 3 วาระ ก็จะนำร่างกฎหมายขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

อย่างไรก็ตาม มีการคาดการณ์ว่าจะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ก่อนการเลือกตั้ง ปี 2562

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ไบโอไทย" หนุนปกป้องสิทธิบัตรกัญชา

ใครยื่นขอสิทธิบัตรสารสกัดจากกัญชาบ้าง?

ยื่นขอสิทธิบัตร ทำอย่างไร ?

 

ยื่นขอสิทธิบัตร ทำอย่างไร ?
ข่าวที่เกี่ยวข้อง