วันนี้ (27 พ.ย.2561) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมเดิน-นั่งรถราง ชมมรดกเชียงใหม่ สู่มรดกโลก(พื้นที่เมืองเก่า) ผศ.ดร.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทำงานเชียงใหม่สู่มรดกโลก พาเที่ยวแหล่งมรดกแสดงถึงคุณค่าโดดเด่นเป็นสากลสูงสุดประกอบด้วย วัดเจดีย์หลวง วัดเชียงมั่น วัดพระสิงห์ และวัดปราสาท
วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นวัดแรกของเมืองเชียงใหม่ สร้างโดยพญามังราย มีจารึกการสร้างเมือง เป็นหลักฐานมีอยู่จริงการตั้งเมืองเชียงใหม่ที่เป็นที่ประจักษ์ จารึกไว้ สถาปัตยกรรม สมัยนั้น สืบทอดมาถึงปัจจุบัน ยังดำรงอยู่เหลือหลักฐานถึงปัจจุบัน ตามการพัฒนาของเมือง ศิลปะพุทธปรัชญา โดยมีความเชื่อทางพุทธศาสนาเป็นแก่นนำ ร้อยเรียงเป็นจิตวิญญาณคนเชียงใหม่ไว้ด้วย ผสมความเชื่อดั่งเดิม ของพวกลั๊วะต่างมีความเชื่อผสมผสนากันกับพระพุทธศาสนา กับความเชื่อเรื่องผี เรื่องหนือธรรมชาติ
วัดปราสาท เป็นวัดที่เชื่อมวัฒธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ เป็นวัดที่ใช้ทำพิธีราชภิเษกของกษัตริย์ตั้งแต่อดีต จนถึงรัชกาลที่ 5 ยังมีอยู่ สถาปัตยกรรม เครื่องไม้ เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมในคุณค่าอันโดดเด่นสถาปัตยกรรมที่หลงเหลืออยู่ในเมืองเชียงใหม่ วิหารเครื่องไม้ ต่อท้ายจาระนำ มีเจดีย์ต่อท้าย
ภาพ : วัดปราสาท
วัดพระสิงห์ เป็นวัดพัฒนาการอีกสมัยพระพุทธศาสนาที่เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะพระเจ้าแสนเมืองมาอัญเชิญพระพุทธสิหิงห์จากเมืองเชียงแสนมาประดิษฐานไว้ที่"วัดลีเชียงพระ" สอดคล้องกับชื่อเดิมที่เป็นตลาดเมืองเชียงใหม่ที่อยู่หน้าวัดพระสิงห์ จึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดพระสิงห์ ตามชื่อพระพุทธรูปสำคัญ วันสงกราต์ทุกปีอัญเชิญเข้าขบวนแห่ให้ประชาชนได้สรงน้ำ
วัดพระสิงห์มีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คือวิหารลายคำ วิหารทรงเครื่องไม้ที่งดงาม ต่อท้ายด้วยจารนำที่งดงาม ประดับลวดลายลายคำ สอดคล้องกับตัววิหารของตัวอาคาร ผนังมีภาพจิตกรรมลายน้ำทิศเหนือเขียงเรื่องสังข์ทองฉบับล้านนา ทิศใต้เขียนเรื่องสุพรรณหงส์ เป็นปัญญชาดกที่สำคัญของเมืองเชียงใหม่ เปฌนหลักฐานศิลปกรรมที่อยู่บนสถาปัตยกรรมที่ยังหลงเหลืออยู่ นอกจากนั้นยังมีวิหาร อุโบสถ เจดีย์ และหอไตร หอธรรม ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งในเชียงใหม่
ภาพ : วัดพระสิงห์
วัดเจดีย์หลวง สถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงใหม่ เป็นแลนด์มาร์คในอดีต ขยายในสมัยพญาติโลกราช สัญลักษณ์เชิงศูนย์กลางของเมือง ทั้งการเมือง การปกครอง เป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นมหาราชของพญาติโลกราช อาคารแห่งนี้เป็นตัวอย่างของเจดีย์ทรงปราสาทขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองเชียงใหม่ก่อสร้างด้วยอิฐ และยังหลงเหลืออยู่แม้จะพังลงมาในช่วงเหตุการณ์ผ่านดินไหว
ภาพ : วัดเจดีย์หลวง
ทั้งหมดนี้ คือ 4 ใน 5 วัดที่ ผศ.ดร.ชาญณรงค์ ศรีสุวรรณ คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เล่าให้ฟัง ต่อจากนี้สิ่งที่คณะทำงานเชียงใหม่มรดกโลกต้องทำต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น สำนักพุทธศาสนา วัด อาคารที่เกี่ยวข้องต้องปฎิบัติตามเกณฑ์ตามแผนมรดกโลก การเขียนแผน ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาฟังความเห็น และวางแนวทางเป้าหมาย เพื่อแก้ไขเอกสารให้ฉบับสมบูรณ์แผนการรักษาให้คงอยู่ และการจัดการผลักดันเชียงใหม่สู่มรดกโลก