หลังจากศาลฎีกาพิพากษายกฟ้อง พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม 1 ใน 5 จำเลย คดีอุ้มฆ่านายโมฮัมหมัด อัลรูไวลี นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย ยอมรับว่า นานเกือบ 30 ปี ที่ตกเป็นจำเลย ทำให้เสียโอกาสในความก้าวหน้าต่อหน้าที่การงาน จึงได้ฟ้องร้องดำเนินคดีกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทางคดี เช่น อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษในขณะนั้น
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2553 พล.ต.ท.สมคิด พร้อมผู้ใต้บังคับบัญชารวม 5 คน กำลังสืบสวนติดตามดคีนักการฑูตซาอุดิอาระเบีย 3 คน ที่ถูกรอบยิง ภายช่วงระยะเวลา 1 ปี
นายโมฮัมหมัด อัลลูไวลี่ ตกเป็นผู้ต้องสงสัยเพราะทำธุรกิจเกี่ยวกับจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานแถบตะวันออกกลาง จึงควบคุมตัวมาสอบสวนในวันที่ 12 ก.พ.2553 จากนั้นก็ไม่มีใครพบนายอัลรูไวลี่อีกเลย
เป็นจุดเริ่มต้นของคดีที่ตำรวจทั้ง 5 นาย ตกเป็นผู้ต้องหาคดีซ้อมทรมาน นายอัลลูไวลี่จนเสียชีวิตและซ่อนเร้นทำลายศพโดยการเผาภายในไร่แห่งหนึ่งใน จ.ชลบุรี
พนักงานสอบสวนที่ทำคดีนี้ใช้เวลาสืบสวนสอบสวนนาน 3 ปี กระทั่งสรุปสำนวนส่งฟ้องอัยการ เมื่อปี 2536 ซึ่งอัยการมีความเห็นสั่งไม่ฟ้อง คดีนี้เงียบหายไปนานกว่า 10 ปี กระทั่งปี 2549 ครอบครัวของผู้เสียชีวิตเดินทางมาประเทศไทยเพื่อยื่นคำร้องขอรื้อฟื้นคดีและโอนคดีให้ดีเอสรับผิดชอบจากนั้นดีเอสไอใช้เวลาประมาณ 3 ปี
จนเมื่อปลาย ปี 2552 ดีเอสไอเรียกทั้ง 5 คน มารับทราบข้อกล่าวหาทำให้ทั้งหมดตกเป็นผู้ต้องหาในคดีนี้อีกครั้ง และในครั้งนี้ศาลประทับรับฟ้องการสืบพยานเริ่มต้นขึ้นในปี 2553 โดยดีเอสไอนำสืบโดยการใช้พยานหลักฐานใหม่คือแหวนนายอัลรูไวลี่จากพยานคนสำคัญ
ในวันที่ 31 มี.ค.2557 ศาลชั้นต้นยกฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่ได้นำ พ.ต.ท.สุวิชชัย แก้วผลึก พยานคนสำคัญเข้าเบิกความต่อศาลทั้งยังมีข้อพิรุธสงสัยเกี่ยวกับแหวนของผู้ตาย จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยพิพากษายกฟ้อง ฝ่ายโจทก์อุทธรณ์คดีต่อ
กระทั่ง 3 พ.ค.2559 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ยกฟ้องจำเลยทั้ง 5 คน โดยให้เหตุผลเดียวกันกับศาลชั้นต้น