วันนี้ (15 เม.ย.) นพ. ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า หลังจากอย. ได้เปิดให้บริการสอบถามข้อสงสัยเกี่ยวกับกัญชา ภายหลังจากที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวกับการนิรโทษและครอบครองกัญชา 3 ฉบับมีผลบังคับใช้ ช่วงวันที่ 9-11 เม.ย.นี้ มีผู้สอบถามเข้ามาที่สายด่วนอย. 1556 จำนวน 647 คนหมายเลขโทรศัพท์ของกองควบคุมวัตถุเสพติด อย. 31 คน และที่ Counter Service 10 คน และมีผู้ป่วยมาแจ้งครอบครองกัญชาจำนวน 239 คน ขณะที่ภาพรวมตั้งแต่วันเริ่มเปิดรับแจ้ง 27 ก.พ.-ปัจจุบันมีผู้โทรสอบถามเรื่องกัญชาเข้ามาที่อย. 8,850 คน และแจ้งครอบครองกัญชาแล้ว 1,053 คน
สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้กัญชาในการรักษาโรค ให้มาแจ้งการครอบครองต่อเจ้าหน้าที่ภายในระยะที่เวลาที่กำหนดคือ 19 พ.ค.นี้ โดยไม่ต้องรับโทษในความผิดฐานมีไว้ในครอบครอง ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน สำหรับผู้ที่อยู่ในกรุงเทพฯ แจ้งได้ที่ อย. ส่วนต่างจังหวัดแจ้งได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.)
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ห้ามปลูกขาย! อย.ย้ำนิรโทษผู้ครอบครองกัญชาใช้รักษาโรคเท่านั้น
โดยขอให้เตรียมบัตรประชาชน เอกสารแจ้งการมีกัญชา เอกสารรับรองอาการเจ็บป่วยจากแพทย์ และนำกัญชาที่ใช้ในการรักษาไปด้วย หากมีปริมาณมาก สามารถใช้รูปถ่ายได้ โดยถ่ายรูปกัญชาที่มีในครอบครองให้ครบถ้วน ชัดเจน และระบุที่อยู่พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้เพื่อเจ้าหน้าที่จะนัดหมายทำการตรวจสอบต่อไป
ผู้ป่วยใช้กัญชารักษาต้องให้แพทย์รับรอง
นอกจากนี้ ขอให้ไปพบแพทย์ที่ให้การรักษาและออกใบรับรองการเจ็บป่วยหรือโรคที่เป็น โดยขอให้แพทย์ลงชื่อในใบรับรองแพทย์ และระบุเลขที่ใบประกอบวิชาชีพ หรือเลขที่ใบรับรองหรือใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ และก่อนเดินทางไปแจ้งการครอบครอง หากกลุ่มผู้ป่วยมีจำนวนมาก สามารถติดต่อหรือโทรศัพท์ประสานกับ อย.หรือสสจ. เพื่อแจ้งชื่อ นามสกุล กำหนดวัน เวลานัดที่จะเดินทางไปแจ้งการครอบครองได้
ทั้งนี้สามารถกรอกแบบการแจ้งครอบครอง เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว และนำยากัญชา หรือน้ำมันสกัดกัญชาที่ใช้ในการรักษาโรคพร้อมเอกสารต่างๆ ไปแจ้งครอบครองตามที่ได้มีการนัดหมายไว้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกัญชา สอบถามที่สายด่วนอย.1556 กด 3 และป.ป.ส.1386 กด 3 วันและเวลาราชการ
ผู้ประกอบวิชาชีพ ทั้งแผนปัจจุบันและแผนไทย ที่จะใช้ยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ต้องได้รับการอบรมหลักสูตรจากกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุขให้การรับรอง
ปัจจุบันมีเฉพาะกรมการแพทย์ และกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกเท่านั้น แพทย์ ทันตแพทย์ และเภสัชกร อบรมกับกรมการแพทย์ ส่วนแพทย์แผนไทย แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้าน อบรมกับกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ส่วนการอบรมในหลักสูตรอื่นๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขไม่ได้ให้การรับรอง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
คณะเภสัช จุฬาฯ เชิญ "เดชา" ร่วมพัฒนายาจากกัญชา
ป.ป.ส.ปัดเอื้อนายทุนบุกจับ "มูลนิธิข้าวขวัญ" วิจัยกัญชา