วานนี้ (16 เม.ย.2562) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชบัญญัติข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (17 เม.ย.) โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยข่าวกรองแห่งชาติ พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 26 ประกอบกับมาตรา 28 มาตรา 32 มาตรา 33 และมาตรา 33 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติหน้าที่ของสำนักข่าวกรองแห่งชาติในการได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 26 ของรัฐธรรม นูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่รัฐสภา
โดยมีสาระสำคัญดังนี้ มาตรา 6 ระบุว่า เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 5 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ อาจสั่งให้หน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดส่งข้อมูลหรือเอกสารที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงแห่งชาติภายใน ระยะเวลาที่ผู้อำนวยการกำหนด หากหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลดังกล่าวไม่ส่งข้อมูลหรือเอกสารภายใน กำหนดเวลาโดยไม่มีเหตุอันสมควร
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม พระราชบัญญัติ ข่าวกรองแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๒
ให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา สั่งการตามที่เห็นสมควรต่อไป ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารอันเกี่ยวกับการข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรอง การข่าวกรองทางการสื่อสาร หรือการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
อาจดำเนินการด้วยวิธีการใด ๆ รวมทั้งอาจใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เครื่องโทรคมนาคม หรือเทคโนโลยีอื่นใด เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือเอกสารดังกล่าวได้
ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบที่ผู้อำนวยการกำหนดโดยความเห็นชอบ ของนายกรัฐมนตรี โดยระเบียบดังกล่าวอย่างน้อยต้องกำหนดให้มีการบันทึกรายละเอียดขั้นตอน การดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ เหตุผล ความจำเป็น วิธีการ บุคคลที่ได้รับผลกระทบหรือ อาจได้รับผลกระทบ และระยะเวลาในการดำเนินการ
รวมทั้งวิธีการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบ ต่อบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง การดำเนินการตามมาตรานี้ หากได้กระทำตามหน้าที่และอำนาจโดยสุจริตตามสมควร แก่เหตุแล้ว และเป็นไปเพื่อประโยชน์ด้านความมั่นคงหรือการป้องกันภัยสาธารณะ ให้ถือว่าเป็น การกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 12 ให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติ จัดให้มีศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “ศป.ข.” เป็นหน่วยงานภายใน เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการประสานกิจการการข่าวกรองการต่อต้านข่าวกรอง และการรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือนร่วมกับหน่วยข่าวกรองอื่นภายในประเทศโดยให้ผู้อำนวยการ แต่งตั้งรองผู้อำนวยการคนหนึ่งเป็นผู้อำนวยการศูนย์ประสานข่าวกรองแห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “ผอ.ศป.ข.” มีหน้าที่รับผิดชอบ บริหารจัดการ และกำกับดูแลการดำเนินงาน ของ ศป.ข. ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ
หน้าที่สำคัญของ ศป.ข. คือ ติดตาม ประเมิน และวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันทั้งภายในประเทศและต่างประเทศตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งรายงานข่าวประจำวัน ข่าวด่วน ข่าวเฉพาะกรณี และรายงานการแจ้งเตือนล่วงหน้าที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงต่อนายกรัฐมนตรี สภาความมั่นคงแห่งชาติ และผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตลอดจนกระจายข่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
รวมถึงเฝ้าระวังภัยคุกคาม ความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในภาวะปกติ และช่วงมีสถานการณ์ ช่วงเทศกาลที่สำคัญ พระราชพิธี และการประชุมหรืองานพิธีการที่สำคัญของรัฐ เพื่อสนับสนุนการป้องกัน หรือแก้ไขสถานการณ์ที่มีเหตุการณ์ฉุกเฉินรุนแรงเกิดขึ้น และปฏิบัติต่อเนื่องจนสิ้นสุดสถานการณ์นั้น