ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

คพ.สรุปปลาตาย 2 วัดริมเจ้าพระยา ค่าออกซิเจนต่ำ-อาหารตกค้าง

สิ่งแวดล้อม
16 ก.ค. 62
15:28
1,847
Logo Thai PBS
คพ.สรุปปลาตาย 2 วัดริมเจ้าพระยา ค่าออกซิเจนต่ำ-อาหารตกค้าง
กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) สรุปปลาตายในแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัดบุคคโล และวัดปริวาศ เกิดจากค่าออกซิเจนในน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ บวกกับปริมาณอาหารปลาที่คนนำมาให้ปลาสะสมจนน้ำสกปรก เร่งให้เก็บซากปลาขึ้นจากน้ำลดการเน่าซ้ำ

วันนี้ (16 ก.ค.2562) นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรณีมีปลาตายจำนวนมากหน้าวัดบุคคโล เขตธนบุรี และหน้าวัดปริวาศ เขตยานนาวา ทาง คพ.ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบเท็จจริง และตรวจสอบคุณภาพน้ำ บริเวณย่านสะพานกรุงเทพ

ผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำเมื่อวานนี้(15 ก.ค.)บริเวณท่าน้ำโรงแรมอนันตรา ริเวอร์ไซด์ มีค่าออกซิเจนในน้ำ (ดีโอ) 1.3 มิลลิกรัมต่อลิตร  ความเค็ม 0.3 พีพีที (น้ำจืด) บริเวณหน้าวัดบุคคโลมีค่าดีโอ 1.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ความเค็ม 0.3 พีพีที (น้ำจืด) ส่วนบริเวณหน้าวัดปริวาศ มีค่าดีโอ 2.2  มิลลิกรัมต่อลิตร ความเค็ม 0.3 พีพีที (น้ำจืด) ทั้งนี้มาตรฐานคุณภาพน้ำประเมินจากค่าออกซิเจนในน้ำ ต่ำกว่า 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

พบว่าน้ำมีลักษณะขุ่น มีตะกอนแขวนลอยมาก และช่วงนี้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาลดต่ำลงมาก จากการสังเกตปลา ที่หน้าวัดยังกินอาหารที่มีประชาชนนำมาให้ได้เป็นปกติ
ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ชี้ปลาตายจากค่าออกซิเจนต่ำกว่าเกณฑ์-อาหารปลามาก 

สาเหตุที่ปลาตาย เบื้องต้นสันนิษฐานว่ามาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ระดับปริมาณน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาขณะนี้ลดลงมาก ทำให้ค่าดีโอลดน้อยลง ประกอบกับมีการให้อาหารปลาหน้าวัดในปริมาณที่มากเกินไป ที่เป็นส่วนหนึ่งทำให้น้ำบริเวณหน้าวัดมีความสกปรกมากขึ้น จนน้ำมีลักษณะขุ่นข้น

โดยลักษณะสภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงไปอาจทำให้ปลาที่อ่อนแอ และปลาขนาดเล็กปรับสภาพไม่ทันจึงได้รับผลกระทบจากตะกอน และระดับออกซิเจนในน้ำที่ลดต่ำลง ดังนั้นบริเวณวัดที่มีปลาอยู่มาก ควรจะต้องมีการติดตั้งเครื่องเติมอากาศ เพื่อเพิ่มออกซิเจนในน้ำ โดยเฉพาะเวลากลางคืน โดยเฉพาะช่วงเมื่อน้ำในแม่น้ำลดลงอย่างมาก จะต้องเร่งเติมอากาศ และฝนตกที่ในเขต กทม.จะช่วยสถานการณ์ดีขึ้น

ส่วนปลาที่ตาย กรมประมง อาจต้องเก็บตัวอย่างปลาไปพิสูจน์ หลังจากนั้นควรเก็บทั้งหมดขึ้นจากแม่น้ำเพื่อมิให้น้ำเน่าเสียมากขึ้นอีก 

 

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

 

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

ภาพ:กรมควบคุมมลพิษ (คพ.)

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง