ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เพียงคำเดียว "ลิ้น" ในสำนวนสื่อคำพูด

Logo Thai PBS
เพียงคำเดียว "ลิ้น" ในสำนวนสื่อคำพูด
นอกจากเป็นอวัยวะรับรส การเคลื่อนไหวของลิ้นยังช่วยในการออกเสียง "ลิ้น" จึงเป็นอีกสิ่งที่ถูกนำมาใช้ในสำนวน สื่อความหมายโดยตรงถึงการพูด ทั้งพูดดีและพูดไม่ดี

นอกจากมีคุณสมบัติการรับรส ที่ปลายลิ้นจะรับรสหวาน ด้านข้างรับรสเปรี้ยวเค็ม ส่วนรสขมก็รับรสตรงโคนลิ้น "ลิ้น" ยังเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่การเคลื่อนไหวช่วยในการออกเสียง จึงไม่แปลกที่ลิ้นจะถูกนำมาใช้ในสำนวนเกี่ยวกับการพูด ซึ่งมีมากกว่า 10 สำนวน โดยเฉพาะในทางลบที่มักจบด้วยความหมายประชดประชัน หนึ่งในนั้นเป็นสำนวนใหม่ใช้ว่า "ลิ้นกระดาษทราย น้ำลายเชลแล็ก" เปรียบลิ้นดังคำพูด ที่ขัดจนเนียนไม่พอ ยังขอเคลือบด้วยน้ำลายอีกที 

ลิ้นกระดาษทราย น้ำลายเชลแล็ก คือ สอพลอเต็มตัว ทำให้คนที่ถูกเยินยอปลื้มจนไม่รู้ความจริง

บางสำนวนยังเปรียบคำพูดของคนกับลิ้นของสัตว์ โดยมักเป็นลักษณะลิ้นสองแฉกแยกสองทางของสัตว์เลื้อยคลาน อย่าง งู กิ้งก่า ตะกวด เป็นที่มาของสำนวน "ลิ้นสองแฉก และ ลิ้นตะกวด" สื่อความหมายเดียวกัน คือพูดจาสับปลับ กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้

ลิ้นไม่มีกระดูก ยากจะควบคุม เลยมักถูกนำมาเปรียบกับพฤติกรรมมนุษย์ที่เอาแน่เอานอนไม่ได้ มีความหมายในเชิงบิดพลิ้วไม่ค่อยน่าเชื่อถือ

ยังมีบ้างที่ "ลิ้น" ถูกนำมาพูดถึงในสำนวนเชิงบวก เช่น เปรียบคนพูดจาดีมีศิลปะการเจรจาว่ามี "ลิ้นทูต" ส่วนใครพูดคล่องว่องไวไพเราะน่าฟังเค้าเรียก "ลิ้นทอง" คล้ายนกสาริกาเจรจาเก่ง

https://www.facebook.com/ArtandCultureThaiPBS/videos/2331117807206537/

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง