ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวบ้านรอบเหมืองแร่ทองคำ จ.พิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก รวมถึงภาคประชาสังคมปฏิรูปทรัพยากรและทองคำ นำโดยนางวันเพ็ญ พรมรังสรรค์ และ น.ส.อารมย์ คำจริง จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) วันพรุ่งนี้ (19 ส.ค.) เวลา 09.30 น. เพื่อติดตามคดีค้างเก่าที่อยู่ในความรับผิดชอบของดีเอสไอที่ยังไม่เปิดเผยผลตรวจสอบ จำนวน 10 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด ซึ่งดีเอสไอรับสำนวนไว้เป็นคดีพิเศษตั้งแต่ปี 2558 โดยมีประเด็นยื่นให้ตรวจสอบก่อนหน้านี้ เช่น ทำเหมืองในพื้นที่สาธารณะ, การย้ายบ่อกากแร่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย, การออกเอกสารสิทธิที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย, การเปลี่ยนแปลงผังโครงการทำแร่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย, การใช้นอมินีต่างชาติถือครองที่ดิน, การหลีกเลี่ยงภาษี, ฟอกเงินทำธุรกิจเหมืองทอง
ต่อจากนั้น เวลา 11.00 น. กลุ่มชาวบ้าน และ ภาคประชาสังคมฯ จะเดินทางไปที่กระทรวงอุตสาหกรรม ยื่นหนังสือถึง นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม และ นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดี กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) เพื่อคัดค้านการเจรจากับบริษัทเหมืองทองคำคัดค้านการจะให้เดินหน้าเหมืองทองคำ และขอทราบประเด็นการให้สัมภาษณ์กรณีบริษัทเหมืองทองคำขุดถนนสาธารณะ ซึ่งตามเงื่อนไขแนบท้ายประทานบัตร ห้ามขุดที่ถนนสาธารณะรวมถึงจะยื่นคัดค้านการเดินหน้านโยบายเหมืองแร่ทองคำทั่วประเทศ
และเวลา 13.00 น. จะเดินทางไปยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอให้เร่งดำเนินคดีตรวจสอบประเด็นเหมืองแร่ทองคำ โดยขอให้ตั้งกรรมการชุดพิเศษขึ้นมาดำเนินการและขอให้คัดค้านการดำเนินการของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสหกรรม ในการจะเจรจาและเดินหน้าเหมืองทองคำ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การเตรียมยื่นหนังสือสือวันพรุ่งนี้ สืบเนื่องจากการให้สัมภาษณ์ของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) ต่อสื่อมวลชน เมื่อวันที่ 14 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้เห็นทิศทางการเดินหน้าเหมืองแร่ทองคำโดยที่ปัญหาเดิมตามที่กลุ่มชาวบ้านและภาคประชาสังคมเรียกร้องมาตลอด 6 ปี ยังไม่ถูกแก้ปัญหา
สำหรับกรณีเหมืองแร่ทองคำ บริษัทอัครา รีซอร์สเซส นับเป็นเหมืองแห่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ ในรอยต่อ 3 จังหวัด พิจิตร เพชรบูรณ์ และ พิษณุโลก ซึ่งเคยถูกระงับประกอบกิจการไปเมื่อต้นปี 2560 ตามคำสั่ง ม.44 และกระแสการเจรจากับ บริษัทคิงเกตส์ คอนโซลิเดตเต็ด ลิมิเต็ด สัญชาติออสเตรเลีย บริษัทแม่ของบริษัทอัคราฯ ซึ่งมีกำหนดนัดไต่สวนครั้งแรก ในเดือน พ.ย.นี้
นายสุริยะ ระบุว่า ตามที่มีข่าวว่าต้องการมาพบนายสุริยะนั้น ขอชี้แจงว่า นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดี กพร. เคยบอกกล่าวไว้ตั้งแต่นายสุริยะเข้ามารับตำแหน่งเป็น รมว.อุตสาหกรรม ว่า ประเด็นของ บ.คิงเกตส์ อยู่ในขั้นตอนการต่อสู้ข้อพิพาท ชั้นอนุญาโตตุลาการ ซึ่งขั้นตอนนี้ มีข้อจำกัดที่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่า จะไม่เปิดเผยเรื่องการเจรจาทั้งหมด และค่าเสียหายที่เรียกร้องถือว่า เป็นความล้บ โดยอธิบดี กพร. บอกนายสุริยะว่า ก่อนหน้านี้เคยให้สัมภาษณ์ไปทำให้ทางคู่สัญญา คือ บ.คิงเกตส์ หยิบประเด็นนั้นไปบอกอนุญาโตตุลาการ ซึ่งนายสุริยะ ระบุว่า การจะเข้าไปแทรกแซงอะไร คงทำไม่ได้ และส่วนต้วเห็นข่าวว่า ตั้งแต่มี รมว.อุตสาหกรรมคนใหม่เข้ามา ทางคิงส์เกต ก็อยากเข้ามาพบเพื่อหาข้อยุติ
ผมเห็นว่า ถ้าสามารถเจรจาหาข้อยุติได้ทั้ง 2 ฝ่าย ก็จะเป็นประโยชน์ รัฐไม่ถูกฟ้องเรียกร้อง โครงการเหมือง ก็เดินต่อไปได้ แต่ที่สำคัญที่สุด ผมคิดว่า ถ้ามีการเดินหน้าต่อไป จะทำอย่างไรที่ให้ประชาชนเกิดผลกระทบน้อยที่สุด เพราะถ้าย้งมีผลกระทบต่อสุขภาพต่างๆ ทางรัฐเองก็คงลำบากใจ ถ้าจะทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบ
เมื่อถามว่า แนวทางการเจรจาหรือขี้นตอนเท่าที่เปิดเผยได้ จะต้องทำอะไรกันต่อ นายสุริยะ กล่าวว่า เท่าที่จะเปิดได้ก็เปิดเผยไปแล้ว ถ้าเปิดเผยมากกว่านี้ ท่านอธิบดีคงจะค้อนผมแน่
เมื่อถามว่า ขณะนี้ บ.อัคราฯ ยื่นคำขอเปิดเหมืองทองมาแล้วหรือยัง นายสุริยะ ตอบว่า ถ้ายื่นมาถึงนายสุริยะ ยังไม่มีคำขอมาถึง
กระแสที่ว่า มีการเจรจาก่อนหน้านี้ ความชัดเจนคืออะไร นายสุริยะ กล่าวว่า มีการส่งตัวแทนมาคุยกับคนที่คิดว่า จะสามารถเข้าถึง หรือ เชื่อมถึงนายสุริยะได้ แต่ถามว่า ถ้าแบบที่มาเจราจาหรือส่งหนังสือมาเป็นทางการถึงนายสุริยะโดยตรง ยืนยันว่า ยังไม่มี ตั้งแต่สมัยเข้ามาเป็นรัฐมนตรีช่วงใหม่ๆ แต่ยังไม่มีการคุยรายละเอียดการเจรจากัน
เมื่อถามว่า แนวทางเจรจาในฐานะเป็นรัฐมนตรี จำเป็นต้องดูปัญหาเก่าที่เคยเกิดขึ้นกับเหมืองแร่ทองคำร่วมด้วยหรือไม่ หรือ ไม่ดูแล้วจะเดินหน้ากันต่อไป รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า ต้องดูในเรื่องที่ทำให้รัฐไม่เสียเปรียบ และต้องกระทบประชาชนให้น้อยที่สุด
นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดี กพร. ระบุว่า ถ้าการเจรจาหาข้อยุติกันได้ก่อนถึงวันไต่สวนชั้นอนุญาโตตุลาการ เดือน พ.ย.2562 นี้ ทั้ง 2 ฝ่ายก็จะทำข้อตกลงร่วมกัน ก็จะมีเวลาเจรจากันอีก 1-2 เดือน ถ้าตกลงได้ กระบวนการอนุญาโตตุลาการ ก็จบ ไม่ต้องมี
ถ้าตกลงกันได้ทางโน้นเขาจะถอนฟ้อง พูดง่ายๆ ถ้าตกลงกันได้ คือ เขายินดีถอนฟ้อง
นายสุริยะ กล่าวว่า เงื่อนไขการเจรจาเพิ่อหาข้อยุตินั้นไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะจะทำให้อำนาจการต่อรองดูด้อยไป ส่วนปัญหาของการประกอบกิจการของเหมืองทองที่เคยมีปัญหาจะอยู่ในข้อต่อสู้ชั้นอนุญาโตตุลการด้วยอยู่แล้ว แต่ขณะนี้ยังพูดไม่ได้ลงรายละเอียดยังไม่ได้
ส่วนประเด็นความชัดเจน การให้เหมืองแร่ทองคำ เดินหน้าประกอบกิจการต่อได้เมื่อไหร่นั้น นายวิษณุ กล่าว่า ก็มีโอกาสที่จะได้ทำ เพราว่า ขณะนี้ บ.อัคราฯ ยังมีใบอนุญาตประกอบกิจการต่อ ยังไม่หมดอายุประทานบัตร
เราเปิดโอกาสให้แล้ว ตามนโยบายเหมืองทองคำ เขาสามารถกลับม่ประกอบกิจการได้ ใบอนุญาตเขายังมีอยู่ ยกเว้นใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมที่หมดอายุ ซึ่งอัคราฯ มีคำขอต่ออายุ 1 แปลง ที่เหลือเป็นคำขออนุญาตสำรวจแร่ทองคำจำนวน 10 แปลง
ส่วนกรณีผลกระทบด้านสุขภาพที่เกิดกับประชาชนตามที่มีผลตรวจสอบ จากคณะทำงาน 5 ฝ่าย ในยุครัฐบาล คสช. นายสุริยะ กล่าวว่า เรื่องผลกระทบกับประชาชน ต้องไปพิสูจน์กันอีกทีว่า มีผลกระทบอย่างไรแค่ไหน เพราะจริงๆ เท่าที่ทราบ ผลพิสูจน์นี้ ประชาชนมีผลกระทบสุขภาพจริง แต่ไม่รู้เกิดจากแหล่งแร่นี้ หรือถ้าไปอยู่ในแหล่งแร่นี้ จะมีผลต่อสุขภาพหรือเปล่ายังตอบไม่ได้ ตรงนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์
เมื่อถามว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้นำผลสรุปของคณะทำงาน 5 ฝ่ายมาดำเนินการอะไรต่อหริอยัง เพราะผลตรวจออกมา 5 ปีแล้ว อธิบดี กพร. กล่าวว่า ก็มีคำสั่ง ม.44 สั่งให้ระงับการประกอบกิจการไปแล้ว คำสั่ง ม.44 นี้เอง ได้สั่งให้กระทรวงสาธารณสุขไปดูแลเรื่องสุขภาพประชาชน ซึ่งตอนนี้กระทรวงสาธารณสุขก็ดูแลชาวบ้านในพื้นที่ มีการติดตามผลสุขภาพต่อเนื่อง
ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า คิดว่ามันมี 2 ส่วนคือ จะเป็นผลกระทบจาการทำเหมืองแร่ หรือไม่มีผลกระทบ ซึ่งในพื้นที่การอยู่ในแหล่งแร่ ถ้าต้องมีผลกระทบต่อสุขภาพ ก็ต้องดูแล กระทรวงสาธาณสุขก็ต้องดูแล ไม่ว่าจะด้านไหนก็ต้องดูแลประชาชน
ส่วนประเด็นทีผลตรวจสอบบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1ของบริษัทอัครารั่ว และกระทรวงอุตสาหกรรมแถลงเมื่อ 1 ปีที่แล้วว่า รั่วจริง ผ่านไปแล้วถึงวันนี้ ได้ดำเนินการเอาผิดบริษัทหริอไม่ อย่างไร รวมถึงการพบสารที่รั่ว นายวิษณุ กล่าวว่า ประเด็นนี้ อยู่ในการต่อสู้คดีชั้นอนุญาโตตุลาการ
เมื่อถามต่อไปว่า ในเชิงพื้นที่มีการแก้ปัญหาอย่างไร นายวิษณุ กล่าวว่า ก็มีเรื่องคุณภาพน้ำบางจุด ที่อาจมีการปนเปื้อนอะไรก็ตาม ได้ประสานก้บทางกรมอนามัย , กรมน้ำบาดาล เข้าไปช่วยดูแลคุณภาพน้ำในพื้นที ระบบการกรองน้ำ จะซ่อมบำรุงรักษาอย่างไรให้น้ำกลับมามีคุณภาพ
ส่วนการขยายพื้นที่ตรวจสอบเพื่มไปจุดอื่น หรือ บ่อเก็บกากแร่ที่ 2 ด้วยหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ยัง ยังไม่ตรวจ เพราะผลการศึกษา ตรวจสอบอยู่แค่บ่อที่ 1 ไม่เกี่ยวบ่อ 2
เมื่อถามว่า ในเมื่อผลตรวจสอบพบว่า บ่อ 1 รั่ว มีความเสี่ยงเกิดขึ้นแล้ว และจุดอื่นบ่ออื่นจะมีความเสี่ยงที่จะรั่วด้วยหรือไม่ อธิบดี กพร. ตอบว่า ผลการศึกษาของผู้วิจัย ( กพร. จ้าง ม.นเรศวร ตรวจสอบ) ทำวิจัยแค่บ่อ 1 ไม่ไปเกี่ยวก้บบ่อที่ 2 ซึ่งส่วนตัวเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบอีก รมว.อุตสาหกรรม กล่าวขึ้นว่า จะหาโอกาส ลงไปตรวจสอบแล้วกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เหตุผลของการเดินหน้านโนบายเหมืองแร่ทองคำ อธิบดี กพร. ได้อ้างว่าสามารถดำเนินการได้ ตามมติคณะกรรมการบริหารจัดการแร่แห่งชาติ(คนร.) เมื่อเดือน ส.ค.2560 ที่เห็นชอบนโนบายแร่ทองคำ ซึ่งขณะนั้นเป็นเพียงการเห็นชอบตัวนโยบายเท่านั้น
ซึ่งหลังจากนั้น บ.อัคราฯ เริ่มขอเจรจาเพื่อต้องการกลับมาดำเนินการใหม่ หลังจากถูกระงับชั่วคราว เมื่อต้นปี 2560 ซึ่งนายวิษณุ อ้างว่า บ.อัคราฯ เดินหน้าได้ตามคำขอเดิมที่มีอยู่ บวกกับมตินโยบายทองคำ ของ คนร. ปี 2560 เพราะ ครน. เห็นชอบนโนยายทองคำแล้ว ก็อนุมัติให้เดินหน้าต่อได้ บริษัทก็ยึดตามคำขอเดิมได้เลยที่เคยมีคำขอไว้ โดยไม่ต้องทำหนังสือมาขอนุญาตใหม่
ส่วนโรงประกอบโลหะกรรมของ บ.อัคราฯ สิ้นสุดตามอายุใบอนุญาตไปแล้ว เมื่อเดือน ธ.ค.2559 และบริษัทได้ยื่นมาขอใบอนุญาตใหม่ แต่ยังไม่พิจารณาให้ เพราะเงื่อนไขไม่ครบ 2 เรื่อง คือ บริษัท ยังไม่ส่งรายงานแผนการฟื้นฟูสุขภาพและ แผนงานด้านการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้ กพร.
สำหรับคำขอแร่ทองคำปัจจุบัน มีคำขอเดิม จำนวน 100 แปลง เป็นคำขออาชบัตร พิเศษ 10 ราย ส่วนใหญ่เป็นของบริษัทอัครา และ บริษัทลูกของบริษัทอัคราฯ
ขณะที่ผู้สื่อข่าว พยายามขอสอบถามความชัดเจนไปที่ผู้บริหารบริษัทอัคราฯ แต่ยังไม่สามารถติดต่อได้