วันนี้ (3 ธ.ค.2562) เพจสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page เผยแพร่ภาพสุดอัศจรรย์ดาวหมุนเหนือโลก โดยระบุว่าช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้ หลายภูมิภาคยังมีฝนตกฟ้าคะนองเป็นบางแห่ง และบนดอยอากาศเริ่มหนาวกันบ้างแล้ว วันนี้จึงขอนำเสนอภาพดาราศาสตร์ถ่ายเหนือความแปรปรวนของบรรยากาศโลก ในมุมมองของผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานีอวกาศนานาชาติ มาให้ชมกัน
เส้นส่วนโค้งวงกลมบนท้องฟ้ายามราตรีเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวต่าง ๆ แสงที่ปรากฏเป็นเส้นประสีเหลืองจางๆ ด้านล่างของภาพ คือแสงบนพื้นดินมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันจากแสงไฟในเมือง เนื่องจากจุดแต่ละจุดในภาพเคลื่อนที่เร็วกว่าวัตถุบนท้องฟ้าในช่วงเวลานั้น เช่น เส้นสีส้มที่บางลงและเฉดสีเข้มเป็นไฟถนนในประเทศแองโกลาและคองโก
ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับขั้วฟ้าเหนือ (มุมบนซ้าย) เป็นเส้นโค้งสั้น ๆ ในขณะที่ดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกมามีระยะเชิงมุมเพิ่มขึ้น ความยาวเป็นรัศมีวงกลม จึงมีขนาดใหญ่มากขึ้น ในที่สุดเส้นทางของดาวก็ยาวพอที่จะตกลงไปใต้โลกอย่างที่เห็นในภาพ เส้นทางของแสงที่เป็นจุดห่างๆ ผ่านส่วนโค้งบนท้องฟ้า เป็นดาวเทียมที่เคลื่อนที่ผ่านไปในช่วงเวลาที่ถ่ายภาพ
บริเวณกลางภาพเป็นส่วนโค้งของโลกที่ปรากฏเป็นจุดแสงสีขาวอมฟ้าหลากหลายตำแหน่ง นั่นคือสายฟ้าแลบจากพายุฝนฟ้าคะนองเหนือประเทศแอฟริกากลาง
เส้นโค้งสีเขียวแกมเหลืองจาง ๆ ที่อยู่เหนือชั้นบรรยากาศโลกเรียกว่าแสงเรืองท้องฟ้า (Airglow) ทอดยาว 80 ถึง 645 กิโลเมตร เกิดจากการสะท้อนแสงจากพื้นโลกขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ
Let’s talk about it! This #WorldMentalHealthDay, we remember to advocate for identification and treatment of mental illnesses and to open up the dialogue to support each other. pic.twitter.com/IGWD0Oo77m
— Christina H Koch (@Astro_Christina) October 10, 2019
คริสตินา ค็อกค์ นักบินอวกาศของนาซา เป็นผู้ถ่ายภาพทั้งหมด 400 ภาพในเวลา 11 นาที จากสถานีอวกาศนานาชาติ ที่กำลังเคลื่อนที่เหนือประเทศนามิเบียสู่ทะเลแดง เมื่อนำภาพหลายภาพมารวมกัน ทำให้ได้ภาพถ่ายลักษณะนี้
คริสตินา ประจำการอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลาประมาณ 8 เดือน เพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่บางส่วนสำหรับแผงเซลล์สุริยะ ระหว่างนั้นเธอก็ได้บันทึกภาพสวย ๆ มาให้คนบนโลกได้ชื่นชมกัน