สยบข่าวลือ วันที่ 10 ส.ค.นี้"ดาวเคราะห์น้อย QQ 23" ไม่ได้พุ่งชนโลก ระบุความยาว 570 เมตรเทียบเท่าความสูงตึกใบหยก 2 เท่า แม้จะมีขนาดใหญ่ และอยู่ในระยะห่างที่ต้องเฝ้าระวังแต่ไม่ควรกังวล สดร.เตรียมสังเกตการณ์บริเวณหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ ดอยอินทนนท์
นาซาส่งยานสำรวจขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา มุ่งหน้าไปยังดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี เพื่อสำรวจพื้นผิวของดาวดวงนี้ว่าจะเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหรือไม่ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าโครงการนี้จะช่วยเปิดมิติใหม่เกี่ยวกับแหล่งที่อยู่อาศัยนอกโลกได้มากขึ้น
ยานสำรวจออกเดินทางจากโลกเพื่อมุ่งหน้า “ดวงจันทร์ยูโรปา” ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี เพื่อไขคำตอบที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าอาจมีน้ำอยู่ใต้ผิวน้ำ จะเอื้อแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบสุริยะหรือไม่ โดยยานลำนี้จะเดินทางนาน 5 ปีครึ่ง ก่อนที่คาดว่าจะเข้าวงโคจรรอบดาวพฤหัสฯ ในปี 2030
การทดสอบส่งมนุษย์ไปสถานีอวกาศนานาชาติของยานสตาร์ไลเนอร์ ถือเป็นก้าวสำคัญของงานด้านอวกาศสหรัฐฯ เมื่อโบอิ้งเป็นบริษัทเอกชนกลุ่มที่สองที่สามารถส่งนักบินอวกาศให้กับนาซาได้ แต่กว่าจะถึงวันนี้เส้นทางของยานสตาร์ไลน์เนอร์นั้นต้องฝ่าอุปสรรคมากมาย ติดตามในทันโลก Sci & Tech กับ คุณ ธรณินทร์ เทพวงค์
หัวหน้าสำนักงานนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลสหรัฐฯ หรือ OSTP แจ้งถึงหน่วยงานด้านอวกาศที่เกี่ยวข้อง เร่งจัดทำแผนกำหนดมาตรฐานเวลาบนดวงจันทร์ Coordinated Lunar Time หรือ LTC ภายในปี 2026 เพื่อใช้เทียบเวลาในการทำภารกิจสื่อสารกับยานอวกาศและดาวเทียมด้วยความแม่นยำ
หลังเสร็จสิ้นภารกิจการบินสำรวจคุณภาพอากาศในประเทศไทยของทีมนักวิทยาศาสตร์จากนาซ่า ที่ร่วมกับทางจีสด้า ล่าสุด มีการเปิดเผยถึงข้อมูลเบื้องต้นที่สำรวจมาได้ นายเจมส์ ครอฟอร์ด นักวิทยาศาสตร์อาวุโสด้านเคมีบรรยากาศของนาซ่า เปิดเผยว่าข้อมูลเบื้องต้นที่ได้ค่อนข้างครบถ้วน โดยจากการบินสำรวจคุณภาพอากาศด้วยเครื่องบินลำใหญ่ DC-8 ที่บินสำรวจและเก็บข้อมูลสภาพอากาศตั้งแต่กรุงเทพมหานครไปจนถึงจังหวัดเชียงใหม่ แสดงให้เห็นปริมาณควันที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือสูงมากกว่าในบริเวณอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด
ในภารกิจสำรวจคุณภาพอากาศ นาซา (NASA) ได้นำเครื่องบิน DC-8 เข้าร่วมในปฏิบัติการ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่เครื่องบินของนาซาเดินทางมาประเทศไทย ไทยพีบีเอสพาไปดูกันว่าภายในเครื่องบินที่ได้ฉายาว่า "ห้องแล็บลอยฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก" มีอะไรอยู่ข้างในบ้าง
ในภารกิจสำรวจคุณภาพอากาศด้วยเครื่องบินของนาซ่า นักวิทยาศาสตร์จะต้องอยู่บนเครื่องบินที่ติดตั้งอุปกรณ์พิเศษยาวนานถึง 8 ชั่วโมงโดยไม่หยุดพัก ในขณะที่เครื่องบินจะเปลี่ยนระดับความสูงขึ้น-ลงระหว่าง 1 หมื่นฟุต ลงมาจนถึง 50 ฟุตเหนือพื้นดิน วนไปเรื่อยๆ ซึ่งมีความท้าทายไม่น้อย.. ซึ่งไทยพีบีเอส ได้รับอนุญาตจากองค์การนาซ่า เพื่อให้ขึ้นไปสำรวจ ภายในเครื่องบินที่ใช้ในภารกิจนี้ ติดตามกับคุณเฌอศานต์ ศรีสัจจัง