นายประกอบ ทรัพย์ยอดแก้ว นายกสมาคมเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำไทย ระบุว่า เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้กุ้งก้ามกรามล้นตลาด ประมาณร้อยละ 10 หรือผลผลิตเพิ่มจากเดิม 3 เท่า ทำให้ต้องเพิ่มช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น การรณรงค์บริโภคกุ้ง และการผลักดันการส่งออก เนื่องจากตลาดกุ้งก้ามกรามส่วนใหญ่ร้อยละ 90 บริโภคภายในประเทศเป็นหลัก
นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายในระบุว่า การจับมือกับภาคเอกชน จะช่วยเพิ่มช่องทางการจำหน่ายและระบายผลผลิตได้ ทั้งนี้กุ้งก้ามกรามเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตร 10 ชนิด ที่คณะกรรมการและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มุ่งให้ความช่วยเหลือ เนื่องจากมีปัญหาด้านราคา มีผลผลิตมากแต่ความต้องการบริโภคลดลง
น.ส.ธีราพร ธีรทีป ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารสินค้าอาหารสด บริษัท สยามแม็คโคร ระบุว่า บริษัทได้รับ ซื้อผลผลิตจากเกษตรกรจำนวน 15 ตัน จากผู้เลี้ยงใน 4 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ จ.สุพรรณบุรี,จ.กาญจนบุรี,จ.นครปฐม,จ.ราชบุรี เพื่อลดปริมาณผลผลิตและช่วยดึงราคาให้สูงขึ้น โดยนำมาจำหน่ายให้ผู้บริโภคในราคากิโลกรัมละ 399 บาท ถูกกว่าราคาจำหน่ายในท้องตลาดในราคา 500 - 600 บาท หากได้รับการตอบรับดีจะมีการรับซื้อเพิ่มขึ้น
กรมประมง ประเมินผลผลิตกุ้งก้ามกรามในปีนี้อยู่ที่ 22,509 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท พื้นที่เพาะเลี้ยงกว่า 80,000 ไร่ โดยราคา ตั้งแต่เดือน ม.ค. - มิ.ย.ปีนี้ ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปี 2561 กุ้งขนาดใหญ่อยู่ที่กิโลกรัมละ 489 ขนาดกลาง 349 และขนาดเล็ก 242 บาทต่อกิโลกรัม หรือคิดเป็นร้อยละ 7-21