ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เพียงคำเดียว ที่มาของสำนวน "ตกกระป๋อง"

Logo Thai PBS
เพียงคำเดียว ที่มาของสำนวน "ตกกระป๋อง"
มีขึ้นก็ต้องมีลง ยามขึ้นอย่าหลง ยามลงอย่าท้อ ไม่เพียงเป็นข้อคิด หากเป็นธรรมดาชีวิตที่เกิดขึ้นเสมอ นอกจากเป็นข้อความที่ถูกนำไปใช้บ่อยทั้งในงานวรรณกรรมและบทเพลง ความหมายที่ว่ายังพาให้นึกถึงคำกล่าวที่ว่า "ตกกระป๋อง"

เพราะไม่ใช่แค่ภาชนะสำหรับใส่ใช้บรรจุของ หากแต่เป็นกระป๋อง ที่ในอดีตเคยถูกใช้เป็นที่ทิ้งขยะรองรับของเสีย นอกจากทำให้หลายคนมองว่าสิ่งที่อยู่ในกระป๋องเป็นของไร้ค่า ไม่น่าโปรดปราน ยังพาลไปถึงคำเปรียบใช้เรียกคน เป็นที่มาของการผสมคำ นำกริยา ตก มาใช้กับ กระป๋อง กลายเป็นคำภาษาปากที่ใช้กันเรื่อยมา ในความหมายว่า หมดอำนาจวาสนา ตกอับ ไม่เป็นที่ชื่นชอบ

 

คำว่าตกกระป๋องน่าสนใจ ไม่ถึงขนาดเป็นสำนวนน่าจะเป็นภาษาปากมากกว่า กระป๋องโดยภาพรวมเป็นของที่ไม่ได้มีค่ามีราคาอะไร มักทิ้งกันไป ฉะนั้นสมัยก่อนจะเอาไว้ทิ้งของหรือใส่ของ ตกกระป๋อง จึงหมายความว่าไปอยู่ในที่ที่ไม่ได้มั่นคงถาวร หรือไปอยู่ในที่ที่เขาเอาไว้ทิ้งของ หมายถึงเสื่อมนิยมไป ไม่ได้อยู่ในความสนใจแล้ว

 

ไม่เพียงเป็นภาษาที่ใช้กันเรื่อยมาจนติดปาก หากอีกหลักฐานที่ยืนยันว่าบริบท ตกกระป๋อง ไม่ใช่คำใหม่แต่ใช้กันมานาน คือ ความตอนหนึ่งจากบทละครพูดหัวใจนักรบ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ซึ่งกล่าวถึงคำว่า ลงกระป๋อง ในความหมายว่าไม่เป็นที่ชื่นชอบอีกต่อไป

 

เนื่องจากตก เป็นคำกริยา บ่งบอกถึงสิ่งที่ลดลง บ่อยครั้งจึงมักถูกนำมาใช้ในเชิงลบ ไม่ว่าจะเป็นกริยาว่าด้วยการ ตกอับ ตกต่ำ ตกที่นั่งลำบาก ไปจนถึงสำนวน ตกนรกทั้งเป็น

 

https://www.facebook.com/ArtandCultureThaiPBS/videos/514392225782727/

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง