ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รมว.ทส.ขอเป็น "สัปเหร่อพลาสติก" ปี 2563

สิ่งแวดล้อม
25 ธ.ค. 62
15:09
679
Logo Thai PBS
รมว.ทส.ขอเป็น "สัปเหร่อพลาสติก" ปี 2563
วราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. ขอฉายา "สัปเหร่อออนท็อป" ในปีหน้า พร้อมดึงประชาชนร่วมเทรนด์รักษ์โลก พกถุงผ้า และลดใช้ถุงพลาสติก โฟม และหลอด

วันนี้ (25 ธ.ค.2562) นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กล่าวถึงฉายา "สัปเหร่อออนท็อป" ที่ได้รับจากสื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาลว่า ปีหน้าขอเป็นสัปเหร่อของพลาสติก เช่น ถุงพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง หลอดพลาสติก ถาดโฟม แต่จะไม่เป็นสัปเหร่อของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าสัตว์บก หรือสัตว์น้ำ เนื่องจากตายจำนวนมากแล้ว ประกอบกับ ทส.ได้รณรงค์อย่างต่อเนื่องในการลดใช้ถุงพลาสติก ซึ่งปี 2563 จะเป็นปีที่ท้าทายของ ทส. ซึ่งการทำงานในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา ถือว่าอยู่อันดับต้น ๆ ของกระทรวงในไทย

ชูลดใช้ถุงพลาสติก เทรนด์รักษ์โลก

นายวราวุธ ระบุว่า แคมเปญเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง ในปี 2563 จะช่วยลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกได้ เกือบร้อยละ 50 โดยตั้งเป้าให้ขยะพลาสติกหายไปจากท้องตลาด และวงการขยะของประเทศไทย 

รมว.ทส. คาดว่าการณรงค์ดังกล่าวจะได้รับความร่วมมือจากบริษัทห้างร้าน ภาคเอกชน โดยเฉพาะประชาชนคนไทยทุกคนมากขึ้น เนื่องจากมีการเผยแพร่ข่าวสารอย่างต่อเนื่อง พร้อมขอความร่วมมือและเป็นกำลังใจให้กับประชาชนในการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น พกถุงผ้า กระบอกน้ำ แก้วน้ำ หลอดส่วนตัว ไปใช้นอกบ้านด้วย ซึ่งจะช่วยเกิดความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ 

การเปลี่ยนนั้นสิ่งที่ยากที่สุดคือการเริ่มต้น การพกถุงผ้า กระบอกน้ำ แก้วน้ำ หลอดส่วนตัว อาจะดูไม่สะดวกในช่วงแรก แต่หากทุกคนทำเหมือนกัน เชื่อว่าจะกลายเป็นแฟชั่น 

ปัจจุบันไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำในอาเซียน ที่ช่วยกันลดปริมาณขยะบนบกและในทะเล โดยปี 2563 นอกจากลดขยะถุงพลาสติกแล้ว จะรณรงค์เรื่องการลดใช้หลอดพลาสติก ภาชนะที่ทำจากโฟม และแก้วพลาสติก 

นายวราวุธ ยังกล่าวถึงการรณรงค์จัดการขยะในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ ว่า ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.2562 – 1 ม.ค.2563 จะเปิดให้ประชาชนเข้าแหล่งเรียนรู้ท่องเที่ยวทางธรรมชาติ 36 จังหวัด 113 แห่ง ฟรี

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้คนที่เข้าไปเที่ยวช่วยกันเก็บขยะออกมาด้วย หากไม่ทราบว่าจะนำไปไว้ที่ใด ขอให้นำมาให้เจ้าหน้าที่อุทยานฯ ป้องกันสัตว์ป่ากินขยะจนเจ็บป่วยและตาย รวมทั้งเกิดความสะอาดและความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติให้ลูกหลานได้ชื่นชมกันต่อไป

กวางป่าที่พบพลาสติกอยู่ในกระเพาะอาหารถึง 7 กิโลกรัม หากมีใครนำถุงพลาสติกมาให้ลูกหลานเรากิน อย่าให้ถึง 7 กิโลเลย เแค่ 1-2 ถุง เราก็คงเสียชีวิตกันแล้ว 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง