การต่อสู้เพื่อนำไปสู่การแบนสารเคมีเกษตรทั้งพาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส เริ่มขึ้นตั้งแต่ 2 ปีก่อน หลังเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้มีคำสั่งให้กรมวิชาการเกษตรยกเลิกและจำกัดการใช้สารพิษที่มีความเสี่ยงสูง
อ่านข่าว : เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคจ่อยื่นนายกฯ ยกเลิกใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด
แม้ที่ผ่านมาทั้งนักวิชาการเกษตรกร รวมถึงเครือข่ายต่างๆ ทั่วประเทศได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของสารเคมีเกษตรทั้ง 3 ชนิด ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ตกค้างในพืชผักและผลไม้ต่างๆ ปนเปื้อนในดิน แหล่งน้ำ แต่การเดินหน้าแบนสารเคมีกลับต้องสะดุดลง เมื่อมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ไม่แบน 3 สารเคมีเกษตร วันที่ 23 พ.ค.2561 เพราะมองว่า ไม่มีงานวิจัย ยืนยันว่าสารเคมีทั้ง 3 ชนิด ส่งผลกระทบอย่างชัดเจน
อ่านข่าว : พบสารพาราควอตตกค้างใน "น้ำปู๋ " 200 เท่า
"กฤษฎา"รับข้อเสนอแบนพาราควอต ตั้งกก.ร่วมพิจารณา 60 วัน
แฉเบื้องหลังมติไม่แบน "3 สารพิษร้ายแรง"
รับจ้างฉีดยาฆ่าแมลง "ชีวิต" บนความเสี่ยงโรคเนื้อเน่า
จำกัดการใช้ 3 สารเคมีเกษตร หนุนยกเลิกใช้ ม.ค.63
กระทั่งในวันที่ 30 ส.ค.2561 ที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเริ่มส่งสัญญาณดี หลังมีมติให้จำกัดการใช้ 3 สารกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต
การยกเลิกใช้ 3 สารเคมี เหมือนจะใกล้ถึงเส้นชัยอีกครั้ง หลังผู้ตรวจการแผ่นดินมีมติและมีข้อเสนอในเดือน ธ.ค.2561 ให้ยกเลิกพาราควอตให้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563 แต่คณะกรรมการวัตถุอันตราย กลับมีมติเมื่อวันที่ 14 ก.พ.2562 ให้ยังคงยืนยันมติเดิม ไม่ยกเลิก และให้เหตุผลว่าสามารถควบคุมและจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชที่มีความเสี่ยงสูงได้
อ่านข่าว : ยังไม่แบนแต่ให้จำกัดพื้นที่ ใช้ 3 สารเคมีต่อไปได้
10 ก.ย.2562 ตัวแทนเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง 686 องค์กร เข้าพบ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนับสนุนยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีความเสี่ยงสูง 3 ชนิด
มติประวัติศาสตร์ จุดเริ่มต้นมติแบน 3 สารเคมี
ขณะเดียวกัน ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเป็นเอกฉันท์ "เห็นชอบ" ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการควบคุมการใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษตกค้างเป็นอันตรายแก่เกษตรกรและผู้บริโภค ซึ่งเปรียบเสมือนประตูที่กำลังจะนำไปสู่การยกเลิกสารเคมีที่ชัดเจน ในวันที่ 13 ก.ย. ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติส่งหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้นำเรื่องเข้า ครม.และสั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศเพื่อปรับระดับการควบคุมพาราควอต ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 คือ ห้ามนำเข้า จำหน่าย และมีไว้ครอบครอง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2563
อ่านข่าว : "พาราควอต" คืออะไร ทำไมต้องขอแบน?
"มนัญญา" ย้ำเลิกสารเคมีเกษตรอันตรายแน่! ปลายปีนี้
ผ่านฉลุยทั้งสภาฯ ตั้ง กมธ.ศึกษาปัญหาสารเคมีเกษตร
ผู้ตรวจฯ ส่งหนังสือถึงนายกฯ ขีดเส้นแบนพาราควอตสิ้นปี 62
ขณะที่ที่ประชุม กมธ.วิสามัญพิจารณาแนวทางควบคุมสารเคมีเกษตร มีมติให้แบนสารเคมีเกษตรที่มีความเสี่ยงสูง 3 ชนิดทันที เมื่อวันที่ 24 ก.ย. โดยได้เสนอรายงาน กมธ. ต่อที่ประชุมสภาฯ พร้อมเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องเข้าให้ข้อมูล ส่วนท่าทีของรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงนั้นต่างเห็นพ้องต้องกันที่จะร่วมสนับสนุนให้ยกเลิกการใช้ 3 สารเคมีเกษตร ทั้ง น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รมช.เกษตรฯ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข
กมธ.สารเคมีฯ มีมติแบนสารเคมีเกษตร 3 ชนิด ทันที
423 เสียงสภาฯ จุดเปลี่ยนการเมืองเรื่อง สารเคมีเกษตร
มติแบน 3 สารเคมี-เกษตรกรค้านแบนขอศาลคุ้มครองชั่วคราว
แล้ววันที่หลายคนรอคอยก็มาถึง เมื่อคณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติยกเลิกการใช้ 3 สารเคมี ทั้งพาราควอต 21 - 5 เสียง คลอร์ไพริฟอส 22-4 เสียง และไกลโฟเซต 19-7 เสียง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอให้ปรับ 3 สารเคมีเกษตรจากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2562 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2562 พร้อมได้มอบหมายให้กรมวิชาการเกษตร ไปดำเนินการยกร่างประกาศกฎกระทรวง ว่าด้วยบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น และเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นในการประชุมครั้งต่อไป
ฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการยกเลิก 3 สารเคมี ต่างรู้สึกว่าได้รับข่าวดี แต่ภาคเกษตรกรบางส่วนกลับมองว่ามติดังกล่าวคือข่าวร้าย เนื่องจากผลงานวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของสารเคมีเกษตรนั้นยังไม่ชัดเจน อีกทั้งรัฐบาลยังไม่มีทางออกหรือทางเลือกอื่นสำหรับการยกเลิกใช้ 3 สารเคมีดังกล่าวให้กับประชาชน
ดังนั้น วันที่ 28 ต.ค. ประธานชมรมกลุ่มคนรักแม่กลอง จ.ราชบุรี และเครือข่ายเกษตรกรค้านแบนสารเคมีเกษตรได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครอง คุ้มครองชั่วคราวมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่สั่งแบนสารเคมีทั้ง 3 ชนิด โดยยืนยันว่า กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาข้อมูลไม่รอบด้าน และใช้ข้อมูลเท็จในการแบน 3 สารเคมี แต่ภายหลังศาลปกครองกลาง มีคำสั่งไม่รับคำฟ้อง คดียกเลิกการใช้สารเคมี 3 ชนิด เพราะมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ยังไม่มีผลทางกฎหมาย เป็นคำสั่งที่จะนำมาฟ้องขอให้ศาลปกครอง มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนไม่ได้ จึงมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออก
อ่านข่าว : มติแบน! "3 สารเคมีเกษตร" บังคับใช้ 1 ธ.ค.นี้
ศาลปกครองยังไม่มีคำสั่ง หลังเกษตรกรฟ้องขอระงับมติแบน 3 สาร
"หักดิบ" เกษตรกรเพราะไม่มีสารทดแทน?
ด่วน! ศาลปกครองไม่รับคำฟ้องคดีแบน 3 สารเคมี
สหรัฐฯ แทรกแซงไทย ค้านแบนสารเคมีเกษตร?
เกษตรกรบางส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับมติยกเลิกใช้ 3 สารเคมีแล้ว หลังมีการรายงานมติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายออกมา ในวันที่ 23 ต.ค.2562 สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม รวมถึงรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับนโยบายแบบสารเคมี 3 ชนิด โดยมีเนื้อหาว่า กระทรวงเกษตร สหรัฐอเมริกา ได้ตรวจสอบผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประเทศไทย ในการห้ามสารเคมีเกษตร 3 ชนิด โดยอ้างว่า อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อการนำเข้าถั่วเหลืองและข้าวสาลีของไทย จึงหวังว่าประเทศไทยจะพิจารณาความกังวลนี้ เพราะไกลโฟเซตเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์กําจัดวัชพืชที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในโลก โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธแสดงความคิดเห็นกรณีนี้ พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ชี้แจง
อ่านข่าว : สหรัฐฯ แทรกแซงไทย ส่งหนังสือถึงนายกฯ ค้านแบนไกลโฟเซต
รู้จัก "เท็ด แมคคินนี" เบื้องหลังสหรัฐฯ ค้านไทยแบน "ไกลโฟเซต"
นายกฯไม่ตอบกรณีสหรัฐฯ ค้านไทยแบน 1 ใน 3 สารเคมี
ขณะที่สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร ประชุมร่วมกับสมาชิก เพื่อรับมือผลกระทบจากการแบนสารเคมี 3 ชนิด ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ 1 ธ.ค.นี้ เสนอให้รัฐบาลขยายเวลาการแบนไปอีก 6 เดือน หลังเกษตรกรยังไม่มีทางออกว่าจะใช้สารทดแทนตัวใด เช่นเดียวกับตัวแทนจำหน่ายสารเคมีเกษตร เผยขณะนี้เกษตรกรไม่กล้าซื้อ 3 สารเคมีที่ถูกแบนไปใช้ และไม่สนใจสารเคมีตัวใหม่ที่ทางบริษัทแนะนำ เพราะราคาสูง เกรงว่าหากขายไม่ได้ตามยอด อาจเสี่ยงตกงาน แต่ในวันที่ 18 พ.ย.2562 ราชกิจจานุเบกษา ก็ได้เผยแพร่คำสั่งกรมวิชาการเกษตร ให้แจ้งครอบครอง 3 สารเคมี ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ในวันที่ 1-15 ธ.ค.นี้ และส่งมอบภายในวันที่ 31 ธ.ค.นี้
ต่อมาในวันที่ 22 พ.ย.2562 ประธานคณะทำงานพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมีทางการเกษตร 3 ชนิด เตรียมเสนอให้เลื่อนการจัดการสต๊อกสารเคมีออกไปอีก 6 เดือน หลังการแบน 3 สาร เนื่องจากผู้ประกอบการขอให้มีมาตรการเยียวยาชะลอการจัดการสต๊อกออกไปก่อน พร้อมทั้งหาแนวทางและมาตรการรองรับสำหรับเกษตรกรในหลังมีผลบังคับใช้ให้ยกเลิกใช้ 3 สารเคมีเกษตร
อ่านข่าว : ผู้นำเข้า 3 สารเคมีเกษตร ขอเลื่อนแบนออกไป 6 เดือน
เช็กสต็อก "สารพิษ 3 หมื่นตัน" หลังถูกแบนอยู่ไหน?
กรมวิชาการเกษตรชงเลื่อนจัดการสต๊อก 3 สารเคมีอีก 6 เดือน
ราชกิจจาฯ เผยแพร่คำสั่งแจ้งครอบครอง-ส่งมอบ 3 สารเคมีในสิ้นปีนี้
"ไบโอไทย" ชี้มีวิธีกำจัดวัชพืชถูกกว่าใช้สารเคมีเกษตร
อดีตผู้ว่าฯ ทำเกษตร 400 ไร่ ไร้สารเคมีกว่า 20 ปี
เลื่อนแบน "พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส" 6 เดือน "ไกลโฟเซต" ใช้ได้ต่อได้
กระทั่งวันที่ 27 พ.ย.2562 คณะกรรมการวัตถุอันตราย มีมติเลื่อนแบน "พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส" ออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมจะเริ่มยกเลิกการใช้ในวันที่ 1 ธ.ค.นี้ เป็นวันที่ 1 มิ.ย.2563 และจัดการอบรมให้เหมาะสม
ส่วน "ไกลโฟเซต" ให้จำกัดการใช้ สร้างความไม่พอใจให้กับหลายฝ่ายเป็นอย่างมาก โดย รศ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นายกสภาเภสัชกรรม ในฐานะประธานผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ หนึ่งในคณะกรรมการวัตถุอันตราย ได้ประกาศลาออกจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย เพื่อแสดงจุดยืน
เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง และเครือข่ายผู้บริโภค ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหว โดยยืนยันจะฟ้องเอาผิดนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย นอกจากนี้ในสื่อสังคมออนไลน์ยังมีแคมเปญรณรงค์ในเว็บไซต์ Change.org รวบรวมรายชื่อสนับสนุนการแบนสารเคมี 3 ชนิด เสนอต่อนายกรัฐมนตรี
นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงจุดยืนการแบน 3 สารเคมี ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2562 ย้ำห่วงสุขภาพประชาชน หลังพบผู้ป่วยจากสารเคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่ามติเลื่อนแบน 3 สารเคมีของคณะกรรมการวัตถุอันตรายไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่มีการนับองค์ประชุมตอนลงมติ และไม่มีการให้กรรมการแต่ละคนออกเสียงในเรื่องที่ขอมติ
อ่านข่าว : เลื่อนแบน "พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส" 6 เดือน "ไกลโฟเซต" ใช้ต่อได้
นายกฯ สภาเภสัชกรรม ลาออกคณะกรรมการวัตถุอันตราย
“สุริยะ-จิราพร” พูดอะไร ในวันเลื่อนแบนสารเคมี
กลุ่มหนุนแบนสารเคมีเกษตรยันฟ้องเอาผิด "สุริยะ"
"ปริญญา" ชี้มติเลื่อนแบนสารเคมีไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ก้าวต่อไปเส้นทางแบนสารเคมี หลัง “อนุทิน” คานอำนาจ คกก.วัตถุอันตราย
วันที่ 9 ธ.ค.2562 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้งให้ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายการจัดการสารเคมีแห่งชาติ โดยจากนี้ไปการเดินหน้ามาตรการเลิกใช้สาร 3 ชนิดในปี 2563 จะเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายการจัดการสารเคมีแห่งชาติ เพื่อจัดการสารเคมีของประเทศในภาพรวมต่อไป ก่อนส่งให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายออกมติ รวมทั้งการแบนสารชนิดอื่นที่มีข้อมูลเชิงประจักษ์ความเป็นพิษ มีอันตรายต่อมนุษย์ด้วย
ที่ผ่านมา นายอนุทินมีจุดยืนชัดเจนในการเดินหน้ายกเลิกการใช้ 3 สารเคมีเกษตรมาตลอด คงต้องรอดูต่อไปว่า ในปี 2563 รัฐบาลจะสามารถผลักดันการยกเลิกใช้สารเคมีเกษตรได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่
อ่านข่าว : "อนุทิน" คุมบอร์ดสารเคมีคานอำนาจ คกก.วัตถุอันตราย
อนุทิน ยืนยันมติแบน 3 สารเคมี มีผลบังคับใช้ 1 ธ.ค.นี้