ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ยุทธพร" เชื่อร่างกฎหมายงบฯ63 ส่อเป็นโมฆะ

การเมือง
24 ม.ค. 63
18:40
346
Logo Thai PBS
"ยุทธพร" เชื่อร่างกฎหมายงบฯ63 ส่อเป็นโมฆะ
นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ชี้ปัญหาเรื่องการโหวตร่าง พ.ร.บ.งบประมาณที่ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ส่อเป็นโมฆะ

วันนี้ ( 24 ม.ค. 2563) รองศาสตราจารย์ยุทธพร อิสรชัย นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช ระบุถึงประเด็นปัญหาจากการเสียบบัตรลงคะแนนของสภาผู้แทนราษฎรบางคนต่อร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 เพราะการยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความชอบในกระบวนการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 148 ที่บัญญัติไว้ว่าหากพระราชบัญญัติฉบับใดมีข้อความหรือสาระสำคัญที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ หรือ กระบวนการในการตราไม่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ ให้ถือว่ากฎหมายตกไปทั้งฉบับ

และหากกฎหมายตกไปทั้งฉบับนั้น จะทำให้ต้องไปเริ่มต้นกระบวนการกันใหม่ เนื่องจากการใช้ใช้มาตรา 143 นับระยะเวลา 105 วันนั้น หากนับจากวันแรกที่สภาผู้แทนราษฎรมีมติรับหลักการร่างกฎหมายฯเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 จะครบกรอบกำหนดในวันที่ 19 มกราคม 2563


โดยเริ่มต้นการตรากฎหมายงบประมาณตามรัฐธรรมนูญมาตรา 141 บัญญัติไว้ต้องตราเป็นพระราชบัญญัตินั้น จะทำให้งบประมาณมาใช้ไม่ทันในเวลานี้ แต่สามารถใช้กฎหมายงบประมาณของปีก่อนไปพราง เชื่อว่าคือทางออกที่เกิดขึ้น  ซึ่งปัญหาดังกล่าวสะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งเชิงหลักการของระบบรัฐสภา และปัญหาในเชิงกฎหมาย และปัญหาในเชิงสังคมวิทยาการเมืองด้วย

เพราะตามกฎหมายกำหนดให้ ส.ส. 1 คน ออกเสียงได้ 1 เสียงจะออกแทนคนอื่นนั้น ทำไม่ได้ การมอบหมายการลงคะแนนแทนอ้างว่าช่วยนั้นทำไม่ได้ทุกกรณีตามกฎหมาย อย่างที่ประธานรัฐสภาวินิจฉัยไว้ ทำให้โอกาสทำให้กฎหมายงบประมาณฉบับนี้เป็นโมฆะเป็นไปได้สูงมาก สะท้อนว่า ส.ส.ไม่ได้ให้ความสำคัญกับงานนิติบัญญัติในสภา ซึ่ง ส.ส.ให้ความสำคัญกับการลงพื้นที่มากว่าการทำงานในสภาฯ


รองศาสตราจารย์ยุทธพรยังระบุถึงปัญหาอำนาจแฝงในสภาผู้แทนราษฎร ส.ส.ต้องทำตามมติพรรค ทำให้ความรู้สึกของ ส.ส.ถึงการมีสมรรถนะทางการเมืองของตัวเองลดลง ว่าการลงคะแนนหรือไม่มีผลเหมือนกัน ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า "การลงคะแนนเหมาเข่ง" สะท้อนถึงประสิทธิภาพการทำงานของ ส.ส.มีอำนาจแฝ

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง