ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รพ.จุฬาฯ เตรียมพร้อมห้องแล็บตรวจ COVID-19 หากเข้าระยะ 3

สังคม
28 ก.พ. 63
20:38
2,346
Logo Thai PBS
รพ.จุฬาฯ เตรียมพร้อมห้องแล็บตรวจ COVID-19 หากเข้าระยะ 3
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ยืนยันความพร้อมรับมือหากการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 เข้าสู่ระยะที่ 3 เตรียมห้องปฏิบัติการ 3 แห่ง สามารถตรวจยืนยันได้ถึงวันละ 1,000 ตัวอย่าง และจัดระบบคนไข้ไม่เร่งด่วนเพื่อลดภาระงานแพทย์

ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ทำหน้าที่ตรวจยืนยันเชื้อ COVID-19 ทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ควบคู่กับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพราะต้องมีผลยืนยันหาเชื้อจาก 2 ห้องปฏิบัติการ

ในแต่ละวัน ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่จะมีกลุ่มตัวอย่างที่ต้องตรวจหาสารพันธุกรรม COVID-19 เฉลี่ย 200-300 ตัวอย่าง โดย 1 ตัวอย่างสามารถทราบผลตรวจได้ภายใน 3 ชั่วโมง ซึ่งขณะนี้ห้องปฏิบัติการของศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่และคณะแพทยศาสตร์ รวม 3 แห่ง มีความพร้อมรองรับสถานการณ์หากเกิดการแพร่ระบาดในระยะที่ 3 เพราะสามารถตรวจยืนยันได้ถึงวันละ 1,000 ตัวอย่าง

 

ทนพญ.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ กล่าวว่า วิธีการตรวจหาสารพันธุกรรม COVID-19 ไม่ต่างจากตรวจไวรัสเมอร์สและซาร์ส แต่ COVID-19 เป็นโรคอุบัติใหม่และมีสารพันธุกรรมผันแปรสูง

เราใช้หลักการเดียวกันคือ ตรวจรหัสพันธุกรรม ตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส สิ่งที่ต่างกันคือถ้าจำนวนมาเยอะๆ จะทำให้ระยะเวลาตรวจนานขึ้น สำหรับโคโรนาเป็นเชื้อใหม่ มีสารพันธุกรรมที่มีความผันแปรสูง การออกแบบการตรวจต้องเลือกตำแหน่งของรหัสพันธุกรรมที่มีความแม่นยำและมีความไวในการตรวจสูง

 

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ยืนยันถึงความพร้อมรับมือหากการแพร่ระบาดของ COVID-19 เข้าสู่ระยะที่ 3 ขณะนี้มีห้องความดันลบ หรือห้องแยกโรค 4 ห้อง และห้องกักโรคสำหรับกลุ่มเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค 20 เตียง ประชุมบุคลากรทางการแพทย์ ติดตามสถานการณ์เกือบทุกวันและจัดระบบผู้ป่วยไม่จำเป็นเร่งด่วน เพื่อลดภาระงานของแพทย์

ถ้าเข้ามาสู่เฟส 3 จริงๆ แล้วจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการแพทย์เพื่อไปดูคนไข้เหล่านี้มากขึ้น เราจำเป็นต้องลดปริมาณงานที่ดูแลคนไข้ที่ไม่จำเป็นลง เช่น เคสไม่ได้รีบด่วน หรือเคสที่รอมาตรวจในระยะถัดไปได้

นอกจากนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังพัฒนาห้องแล็บในศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ส่วนภูมิภาค 14 แห่ง ด้วยวิธีการเรียลไทม์พีซีอาร์ ที่จะรู้ผลใน 3 ชั่วโมง เพราะหากมีการส่งตรวจจากพื้นที่ต่างจังหวัดเข้ามายังกรุงเทพฯ ก็จะใช้เวลาในการเดินทาง ซึ่งเชื้ออยู่ในสภาพแวดล้อม 6-8 ชั่วโมงก็ตายแล้ว ดังนั้นจึงต้องพัฒนาในระดับภูมิภาคให้สามารถตรวจหาเชื้อ COVID-19 ได้ด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไกด์ไทยวัย 25 ปีกลับจากเกาหลีใต้ป่วย COVID-19 เพิ่ม 1 คน

WHO ชี้วิกฤต COVID-19 เตือนทั่วโลกเพิ่มมาตรการคุมระบาด

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง