จากกรณีปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันโรคไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ซึ่งแม้ภาครัฐจะเร่งผู้ประกอบการให้เร่งการผลิตหน้ากากอนามัย และกระจายให้เพียงพอสำหรับประชาชาชน แต่ปรากฎว่าในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์เริ่มมีปัญหาไม่มีหน้ากากอนามัยและอุปกรณ์เพียงพอสำหรับใช้ปฎิบัติงาน
วันนี้ (5 มี.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวโซเชียลได้ขอให้มีการส่งหน้ากากอนามัยเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆได้มีหน้ากากใช้ก่อน โดยพากันติดแฮชแท็ก #โรงพยาบาลขาดหน้ากากหนักมาก ขึ้น เพื่อเรียกร้องให้หน่วยงานรัฐจัดสรรหน้ากากอนามัยกระจายให้โรงพยาบาลต่างๆ
เรียกร้องกระจายหน้ากากให้ รพ.-สถานพยาบาล
ทั้งนี้ www.change.org ออกแคมเปญรณรงค์เรียกร้อง กระจายหน้ากากอนามัยให้ รพ.และสถานพยาบาลเป็นลำดับแรก โดยขณะนี้มีผู้ร่วมลงชื่อแล้วกว่า 4,379 คน เมื่อเวลา 10.40 น. เนื่องจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนหน้ากากอนามัย และมีการกักตุนสินค้าเพื่อขึ้นราคาและเก็งกำไร จึงเรียกร้องให้ กรมการค้าภายในกระจายมีหน้ากากอนามัยให้กับบุคคลากรทางการแพทย์ และคนไข้ที่มีความเสี่ยงในการติดโรงพยาบาล อาจเกิดผลกระทบต่อการระบาดของเชื้อในวงกว้าง ทำให้สถานการณ์ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) รุนแรงขึ้น
โดยผู้ใช้ทวิตเตอร์ @Sammon_scene ระบุว่า พวกเราบุคลากรสาธารณสุข มีความจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยที่กันเชื้อโรคได้ตามมาตรฐาน พวกเราทำงานกับเชื้อโรคหลายประเภท อยู่กับความเสี่ยงทุกวัน หน้ากากอนามัยไม่ควรขาดแคลนที่โรงพยาบาล ได้โปรดช่วยกันดันแท็กนี้ด้วยค่ะ #โรงพยาบาลขาดหน้ากากหนักมาก
พวกเราบุคลากรสาธารณสุข มีความจำเป็นต้องใช้หน้ากากอนามัยที่กันเชื้อโรคได้ตามมาตรฐาน พวกเราทำงานกับเชื้อโรคหลายประเภท อยู่กับความเสี่ยงทุกวัน หน้ากากอนามัยไม่ควรขาดแคลนที่โรงพยาบาล ได้โปรดช่วยกันดันแท็กนี้ด้วยค่ะ #โรงพยาบาลขาดหน้ากากหนักมาก https://t.co/wqy3ES4C7F
— Sammon (@Sammon_scene) March 4, 2020
อ่านข่าวเพิ่ม พณ.กระจาย "หน้ากากอนามัย" วันละ 1.35 ล้านชิ้น
โดยโรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ออกประกาศว่า เพื่อสำรองหน้ากากอนามัยใช้ในเหตุจำเป็นทางการแพทย์ จึงของดแจกและจำหน่ายหน้ากากอนามัยตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
เช่นเดียวกับผู้ใช้ทวิตเตอร์ @seri_yejin ระบุว่า ตกใจมาก OR คือไม่มีแมส อันนี้หนักมากเกิดมาไม่เคยเจอ หลอนอ่ะ airborne หรือไม่ควรต้องใส่ surgical mask #โรงพยาบาลขาดหน้ากากหนักมาก
ตกใจมาก OR คือไม่มีแมสก์
— Yoon Seri (@seri_yejin) March 4, 2020
อันนี้หนักมากเกิดมาไม่เคยเจอ
หลอนอ่ะ airborne หรือไม่ควรต้องใส่ surgical mask #โรงพยาบาลขาดหน้ากากหนักมาก pic.twitter.com/kuFLiLaeGc
ผู้ใช้ทวิตเตอร์ @namfonniiee ระบุว่า อยากแชร์ รพ.เรา ให้ใช้แมสผ้าสอดด้านใน surgical mask อีกที และใช้เจ้าsurgi ซ้ำ 2-3 ครั้ง ส่วนแมสผ้ามีเบิกให้ 1-2 ชิ้นต่อคน รักษาเท่าชีวิต ใช้ซักๆ หายแล้วซวยยยย คนไข้ออฟไม่ได้ ชั้นจะตาย ไม่ได้ติดโควิคนะ เป็นไข้หวัดธรรมดาก็จะตาย
อยากแชร์ รพ.เรา ให้ใช้แมสผ้าสอดด้านใน surgical mask อีกที และใช้เจ้าsurgi ซ้ำ 2-3 ครั้ง ส่วนแมสผ้ามีเบิกให้ 1-2 ชิ้นต่อคน รักษาเท่าชีวิต ใช้ซักๆ หายแล้วซวยยยย คนไข้ออฟไม่ได้ ชั้นจะตาย ไม่ได้ติดโควิคนะ เป็นไข้หวัดธรรมดาก็จะตาย #โรงพยาบาลขาดหน้ากากหนักมาก pic.twitter.com/ccZGtNwk6d
— เตาผิงหมูตัวนุ่มนิ่มฉันจะต้องทำได้ ◡̈ (@namfonniiee) March 4, 2020
ขณะที่ผู้ใช้เฟชบุ๊ก Pravit Asawanonda ระบุว่า อย่าโขมยมาสก์ จากห้องตรวจตามโรงพยาบาลเลยนะครับ พวกผมเสี่ยงมากอยู่แล้ว หยิบไปทั้งกล่องจะเหลือะไรครับ
หมอ-พยาบาลกังวลติดตามกลุ่มเสี่ยงไร้อุปกรณ์ป้องกัน
ไทยพีบีเอสออสนไลน์ ได้ข้อมูลจากโรงพยาบาลในท้องถิ่น ยังมีปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน ซึ่งไม่ใช่ปัญหาด้านราคา แต่ไม่สามารถสั่งจากโรงงานได้ ทำให้บุคลากรขาดความมั่นใจในการปฏิบัติงานเช่น พื้นที่เสี่ยงที่มีบุคคลเฝ้าระวังที่เดินทางกลับมาจากประเทศที่มีการระบาดของ COVID-19
ทั้งนี้ตั้งข้อสังเกตว่า พื้นที่ในแถบชานเมือง และตัวเมืองมีความเสี่ยงมากกว่าท้องถิ่น เพราะในระดับหมู่บ้าน-ชุมชน มีกลไกของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. สามารถตรวจสอบคัดกรองและเฝ้าระวังให้บุคคลที่กลับมาจากประเทศที่มีการระบาด สามารถติดตามได้อย่างใกล้ชิด
พื้นที่ชานเมืองและตัวเมืองไม่สามารถติดตามได้ละเอียดเช่นนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ต้องผลัดเวรเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในสถานพยาบาลใกล้ตัวเมืองไม่อยากไปทำงาน เพราะขาดอุปกรณ์ป้องกันพื้นฐาน เช่น หน้ากากอนามัย และอุปกรณ์ป้องกันอื่นๆ
อ่านข่าวเพิ่ม เฝ้าระวัง 1,181 คน กลุ่มเสี่ยงจากเกาหลีใต้ ไม่รู้ที่อยู่-เฝ้าอาการไม่ได้
นอกจากนี้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ ยังแชร์ภาพที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ซึ่งระบุว่าเป็นโรงพยาบาลมหาราช ต้องช่วยกันเย็บหน้ากากอนามัยเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์มีใช้ ทำให้ชาวโซเชียลพากันส่งกำลังและเรียกร้องให้รัฐส่งหน้ากากอนามัยให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ก่อน
หน้ากากอนามัยหายไปไหน
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 1 มี.ค.ที่ผ่านมา รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผอ.โรงพยาบาลรามาธิบดี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการอำนวยการเครื่อข่ายโรงพยาบาลกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย ได้ทำหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องการขาดแคลนหนกอนามัยสำหรับป้องกันการติดเชื้อ COVID-19
โดยระบุว่า ตามที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD -19) และประกาศของกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ส่งผลให้ทางโรงพยาบาลในเครือข่ายกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเหศไทย ซึ่งเป็นโรงพยาบาลนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ไม่สามารถจัดหาหน้ากากอนามัย (Sugcal Mas) โดยบริษัทอ้างว่าต้องส่งของไปให้กรมการค้าภายใน และไม่สามารถส่งของให้โรงพยาบาลโดย ตรง ทำให้โรงพยาบาลในเครือข่ายฯ เริ่มขาดแคลนหน้ากากอนามัย บางโรงพยาบาลในเครือข่ายได้ทำหนังสือแจ้งและขอความอนุเคราะไม่ยังอธิบดีกรมการค้าภายใน แต่ยังไม่มีการดำเนินการใด จึงขอความอนุเคราะห์มายังท่านเลชาธิการฯโปรดดำเนินการให้โรงพยาบาลในเครือข่ายมีหน้ากากอนามัยไว้ไช้บริการผู้ปวยตามจำนวนการใช้หน้กากอนามัย ดังนี้
- รพ.ศิริราช 100,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 60,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.รามาธิบดี 60,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.พระมงกุฎเกล้า 50,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.วชิรพยาบาล 35,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ 30,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.ศรีนครินทร์ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น) 35,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.สงขลานครินทร์์ 20,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.ธรรมศาสตร์เฉลืมพระเก็ยรต 10,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี (มศว)14,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.ราชวิถี กรมการแพทย์ 25,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.มหาวิทยาลัยนเรศวร 14,000 ชิ้นต่อสัปดาห์
- รพ.มหาวิยาลัยบูรพา 3,500 ชิ้นต่อสัปดาห์
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2 มี.ค.ที่ผ่านมา นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า ความต้องการหน้ากากที่เพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวของกำลังการผลิตกรมการค้าภายใน ได้รับหน้ากากอนามัยจากโรงงาน เฉลี่ยวันละ 1,350,000 ชิ้น ในจำนวนนี้จัดสรรให้กับโรงพยาบาลรัฐโดยตรง 150,000 ชิ้น องค์การเภสัชกรรม 200,000 ชิ้น สมาคมร้านขายยา 25,000 ชิ้น บริษัทการบินไทย 18,000 ชิ้น และกระทรวงพาณิชย์ 200,000-300,000 ชิ้น เพื่อบรรจุใหม่ขนาด 4 ชิ้น ราคาซองละ 10 บาท ก่อนจัดสรรไปตามร้านธงฟ้า ร้านสะดวกซื้อ ห้างค้าปลีก และจะเพิ่มช่องทางจำหน่าย โดยรถคาราวานไปยังชุมชนหมู่บ้านต่าง ๆ 111 คัน เพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงหน้ากากอนามัยราคาถูก
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ราชกิจจาฯ ประกาศให้ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน
ส่อง D.I.Y สวมหน้ากากผ้า สู้ COVID-19