ผ้าชนิดใดเหมาะกับการทำหน้ากากอนามัย
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ทำไมหน้ากากอนามัยถึงป้องกันโรคได้ ปกติหน้ากากอนามัยจะมี 2 ด้าน คือ สีเขียวและสีขาว โดยด้านนอกที่เป็นสีเขียวจะเคลือบสารกันน้ำ ทำให้น้ำไม่สามารถซึมเข้ามาได้ ด้านในจะเป็นการดูดซับน้ำ จะทำให้น้ำถูกอุ้มอยู่ข้างในนาน หากใส่หน้ากากอนามัย ข้างนอกก็จะเข้ามาไม่ได้ ข้างในหากป่วยก็จะถูกดูดซับอยู่ในนั้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้หน้ากากอนามัยป้องกันโรคต่างๆ ได้ เพราะไวรัสไม่ได้อยู่โดดเดี่ยว แต่จะอยู่กับ Droplet หรือสารคัดหลั่งที่มาจากไอหรือจาม ดังนั้น หน้ากากผ้าที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับหน้ากากอนามัย คือ หน้ากากผ้าที่ด้านนอกสามารถกันน้ำได้ และด้านในสามารถอุ้มของเหลวได้
สมาคมแพทย์ปอดได้แนะนำไว้ว่า ผ้าด้านนอกควรจะเป็นผ้าที่เคลือบด้วยสารเทฟลอน แต่หากหาไม่ได้จริงๆ ผ้าที่สามารถพอใช้ทดแทนได้ คือ ผ้าไหม ผ้าโพลีเอสเตอร์ทอแน่น หรือพวกผ้าทาฟเฟสต้าใช้สำหรับเสื้อแจ็กเก็ตบุขนเป็ด สามารถทดสอบได้โดยการฉีดน้ำลงไปบนผ้า ถ้าเกิดว่าไม่ซึม ก็สามารถใช้ได้ ส่วนผ้าด้านในก็ต้องเป็นผ้าที่ซับน้ำได้ อาจจะเป็นผ้าฝ้าย ผ้าสาลู ต่างๆ ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
ผ้าชนิดใดไม่เหมาะทำหน้ากากอนามัย
ผ้าที่ไม่ควรใช้เลยคือ ผ้าสปันบอนด์ เนื่องจากไม่ใช่ผ้า แต่จริงๆ เป็นพลาสติก ซึ่งสปันบอนด์มีหลายเกรดมากทั้งเกรดที่นำมาทำหน้ากากอนามัย และเกรดที่นำมาทำถุงผ้า ดังนั้น จึงแยกได้ยากมากว่าเกรดไหนเหมาะสมที่จะเอามาใช้ทำหน้ากากอนามัย จึงไม่แนะนำเลย นอกจากนี้ เมื่อนำไปซักแล้วจะทำให้คุณสมบัติเสื่อมไป และอาจมีการย่อยสลายด้วย
ข้อแนะนำในการใช้หน้ากากผ้าให้มีประสิทธิภาพ
ต้องบอกว่า ขึ้นอยู่กับการเลือกเนื้อผ้าจริงๆ โดยต้องหาผ้าชั้นนอกที่กันน้ำได้ และผ้าชั้นในที่ซับน้ำได้ แต่หากไม่สามารถหาผ้าชั้นนอกที่กันน้ำได้ ก็ควรจะซ้อนหลายชั้น การตัดเย็บ พยายามไม่ให้มีตะเข็บตรงกลาง เพื่อไม่ให้มีสารคัดหลั่งซึมเข้าไปได้ ควรเป็นผ้าชิ้นเดียวที่ปิดให้คุมใบหน้า ถ้าผ้าไม่มีคุณสมบัติกันน้ำแล้วเข้าไปในที่ชุมชนแล้วมีคนไอจามใส่ ให้ถอดแล้วนำไปซักทันที วิธีการซักไวรัสก็ด่างอยู่แล้ว น้ำยาซักผ้าก็ใช้ได้ ถ้าไม่แน่ใจว่าสะอาดไหมก็ให้ต้มเพราะเชื้อโรคก็แพ้ความร้อน และตากให้แห้งในพื้นที่ที่มีแดด