ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มธ.ผลิต "THAMMASK" หน้ากากกันน้ำเสริมกำลังป้องกันทีมแพทย์

Logo Thai PBS
มธ.ผลิต "THAMMASK" หน้ากากกันน้ำเสริมกำลังป้องกันทีมแพทย์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.ผลิตหน้ากากอนามัยจาก “ผ้าฝ้ายผสมโพลิเอสเตอร์” หวังป้อนบุคลากรทางการแพทย์ ลดเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ในภาวะขาดแคลน โดยมีแนวคิดในการใช้ผ้าที่มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น ป้องกันการแพร่เชื้อ

วันนี้ (12 มี.ค.2563) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 แนะใช้ “ผ้าฝ้ายผสมโพลิเอสเตอร์” เป็นทางเลือกผลิตหน้ากากอนามัย ป้อนบุคลากรทางการแพทย์ ลดเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ในภาวะขาดแคลน โดยมีแนวคิดในการใช้ผ้าที่มีคุณสมบัติสะท้อนน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น ป้องกันการแพร่เชื้อ พร้อมเตรียมทดสอบความสามารถในการสะท้อนน้ำ และความคงทนของเส้นใย ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University


ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา และประธานคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) กล่าวว่า แม้สถานการณ์การแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทย จะอยู่ในเฟส 2 แต่ปัจจุบันในโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศ กลับขาดแคลนหน้ากากอนามัย เนื่องจากความต้องการใช้หน้ากากอนามัยทั่วประเทศที่สูงกว่า 30-40 ล้านชิ้นต่อเดือน สวนทางกับกำลังการผลิตของภาคโรงงานรวม 10 โรง ที่สามารถผลิตได้ประมาณ 30 ล้านชิ้นต่อเดือน

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University


ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายหรือติดเชื้อไวรัส ตลอดจนลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single - Use) ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ และภาคประชาชน คณะทำงาน จึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัย คุณสมบัติผ้าที่เหมาะสม ในการพัฒนา “หน้ากากผ้ากันน้ำ THAMMASK เพื่อใช้ในทางการแพทย์” หน้ากากผ้าทางเลือก ที่ผลิตจากวัสดุผ้าสะท้อนน้ำ ไม่ดูดซับความชื้น และช่วยลดโอกาสในการแพร่เชื้อ

ภาพ : Orapan Poachanukoon

ภาพ : Orapan Poachanukoon

ภาพ : Orapan Poachanukoon


ด้าน ธนิกา หุตะกมล อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีวัสดุและสิ่งทอ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระบุว่า หน้ากากผ้ากันน้ำ THAMMASK เพื่อใช้ในทางการแพทย์นั้น เป็นการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างผ้าที่มีคุณสมบัติในการกันน้ำ และเหมาะสมแก่การพัฒนาเป็นหน้ากากผ้าป้องกันสารคัดหลั่งเบื้องต้น เพื่อใช้ทดแทนหน้ากากอนามัยที่ขาดแคลนในขณะนี้

โดย “ผ้าฝ้ายผสมโพลิเอสเตอร์” (Cotton-Silk) มีโครงสร้างของเส้นใยที่เหมาะสม ประกอบด้วย Cotton – Microfiber จำนวนเส้นด้าย 500 เส้นต่อ 10 ตารางเซนติเมตร โดยมีเส้นด้ายยืนโพลีเอสเตอร์ ไฟเบอร์ เบอร์ 75 (Polyester Microfiber) เส้นด้ายพุ่งโครงสร้างเส้นใยฝ้าย คอมแพ็ค โคมบ์ เบอร์ 40 (Cotton Compact Combed)

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University


นอกจากนี้ บริษัทผู้ผลิตการใช้เทคโนโลยีสะท้อนน้ำ ด้วยสาร NUVA – 1811 ซึ่งมีอนุภาคเป็นระดับไมครอนสามารถแทรกเข้าไปเนื้อผ้า เพื่อต้านไม่ให้โมเลกุลของน้ำแทรกเข้าไปในเนื้อผ้าได้ NUVA – 1811 ได้รับการรับรองจาก Oekotex Standard 100 – 2019 ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีความปลอดภัยเมื่อสัมผัสผิวหนังโดยตรง ซึ่งทางคณะทำงานฯ กำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบประสิทธิภาพการใช้งาน และความคงทนของเส้นใย ว่ายังคงประสิทธิภาพเดิมหรือไม่ เมื่อนำไปซักด้วยเครื่องซักผ้ามาตรฐานทั่วไป ดังนั้น ผ้าฝ้ายผสมโพลิเอสเตอร์จึงน่าจะเป็นอีกหนึ่งวัสดุทางเลือกในการผลิตเป็นหน้ากากผ้าเพื่อใช้ป้องกันการแพร่เชื้อไวรัส COVID-19 ทั้งในบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไป

ภาพ : Orapan Poachanukoon

ภาพ : Orapan Poachanukoon

ภาพ : Orapan Poachanukoon


อย่างไรก็ดี ในภาคประชาชน ยังสามารถประดิษฐ์ “หน้ากากผ้า D.I.Y. ด้วยผ้านิตเจอร์ซี่” เพื่อใช้ป้องกันสารคัดหลั่งจากการไอหรือจาม ทดแทนหน้ากากอนามัยในภาวะขาดแคลน เนื่องจากโครงสร้างผ้านิตเจอร์ซี่ (Jersey Knit) จะมีลักษณะคล้องกันเป็นห่วงตลอดทั้งผืน โดยที่ผ้าด้านหน้าจะมีลักษณะเป็นแนวตั้ง ส่วนผ้าด้านหลังมีลักษณะเป็นห่วงแนวนอน อีกทั้งยังเป็นผ้าถักที่มีความยืดหยุ่น สวมใส่สบาย น้ำหนักเบา ระบายอากาศได้ดี สามารถซักและใส่ซ้ำได้

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University

 

นายกฯ ชมแนวคิดผลิตหน้ากากอนามัยกันน้ำ

ขณะที่ นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ชื่นชมแนวคิดของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (SCI-TU) และคณะทำงานป้องกันและควบคุมโรคไวรัสโคโรน่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่ผลิตหน้ากากอนามัยกันน้ำ THAMMASK โดยใช้ผ้าฝ้ายผสมโพลิเอสเตอร์ (Cotton-Silk) ไม่ดูดซับความชื้น ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ในภาวะขาดแคลนให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ด้วยเทคโนโลยีสะท้อนน้ำ จากการเคลือบด้วยสาร NUVA – 1811

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University

ภาพ : Thammasat University


ทั้งนี้ ขณะนี้ทีมพัฒนาอยู่ในขั้นตอนการวิจัยเพื่อเตรียมทดสอบความสามารถในการสะท้อนน้ำและความคงทนของเส้นใย คาดว่าจะแล้วเสร็จและผลิตล็อตแรก 1,000 ชิ้น ได้ในสิ้นเดือน มี.ค.นี้

การผลิตหน้ากากอนามัยกันน้ำ เป็นแนวคิดที่มีประโยชน์อย่างมากต่อบุคลากรทางการแพทย์ รัฐบาลต้องขอขอบคุณ พร้อมให้การสนับสนุน โดยจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปประสานเพื่อต่อยอดถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่ประชาชนในการตัดเย็บใช้เองต่อไป

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง