ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สธ.ผลักดัน "การแพทย์วิถีใหม่" สร้างความปลอดภัย-ลดความแออัด

สังคม
15 พ.ค. 63
16:45
5,719
Logo Thai PBS
สธ.ผลักดัน "การแพทย์วิถีใหม่" สร้างความปลอดภัย-ลดความแออัด
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เดินหน้าจัดระบบบริการ "การแพทย์วิถีใหม่" โดยมีเป้าหมายเรื่องความปลอดภัย ลดแออัดและลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยกับทั้งคนไข้และบุคลากรทางการแพทย์

วันนี้ (15 พ.ค.2563) นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข กล่าวถึงเรื่อง "New normal การแพทย์วิถีใหม่ และแนวทางการดูแลผู้ป่วย" โดยระบุว่า ที่ผ่านมา สธ.ได้ร่วมมือกับสถานพยาบาลและโรงพยาบาลทุกเครือข่าย รับมือกับผู้ป่วย COVID-19 จนถึงวันนี้สามารถพูดได้ว่าเราต่อสู้กับ COVID-19 "ชนะยกแรก" โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อต่ำกว่า 10 คนติดต่อกันหลายวัน และมีผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลน้อยมาก หากเทียบกับประเทศอื่นๆ

 

สำหรับเรื่องการแพทย์วิถีใหม่ เป็นเรื่องที่ต้องปรับปรุงหลายส่วนของการให้บริการที่จะมีวิธีการจัดการแบบใหม่ โดยเรียนรู้จากสถานการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้น โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานใน 3 เรื่องใหญ่ ประกอบด้วย 1.ความปลอดภัย ซึ่งแยกเป็น 3 ส่วน คือ การปรับโครงสร้างใหม่ ปรับระบบการทำงานใหม่ และคำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากร 2.การลดความแออัด โดยจัดกลุ่มประเภทผู้ป่วยให้ชัดเจน จัดบริการให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม และใช้เทคโนโลยีร่วมด้วย ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตจะทำให้ 3.ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการเข้าถึงและยกระดับคุณภาพของบริการทางการแพทย์

เราจะดำเนินการโครงการนี้ภายใต้สถานการณ์ความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อระบบสาธารณสุข เราจะดำเนินการการแพทย์วิถีใหม่ ภายใต้ความเชื่อมั่นต่อบุคลากรทางการแพทย์

ใช้กลวิธี "จัดรูปแบบบริการวิถีใหม่-ใช้เทคโนโลยี"

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า กรมการแพทย์มีความพยายามที่จะเปลี่ยนการรักษาเฉพาะที่โรงพยาบาล ไปสู่การรักษาได้ทุกสถานที่และทุกเวลา มาแล้ว 2-3 ปี แต่ไม่คืบหน้า เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง แต่ครั้งนี้จะใช้วิกฤต COVID-19 มาผลักดันการแพทย์วิถีใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ของประชาชน

การดำเนินการการแพทย์วิถีใหม่ จะต้องให้เกิดความปลอดภัยทั้งบุคลากรทางการแพทย์และผู้มารับบริการ7โดยมีเป้าหมายการดำเนินงาน 3 ประเด็น คือ 1 ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่(2P Safety) เป็นเป้าหมายระยะสั้นช่วง COVID-19 ซึ่งกรมการแพทย์ได้จัดทำเป็นแพคเกจ เช่น การผ่าตัดวิถีใหม่ เลื่อนการผ่าตัดกรณีไม่เร่งด่วนออกไป หรือตรวจหา COVID-19 ในผู้ป่วยก่อนผ่าตัด รวมถึงก่อนการทำฟัน เป็นต้น

ประเด็นที่ 2 เพิ่มระยะห่างทางสังคม โดยลดความแออัดของการใช้บริการที่โรงพยาบาล เน้น 2 กลวิธี คือ จัดระบบการบริการใหม่แยกกลุ่มประเภทผู้ป่วยให้ชัดเจน คือ กลุ่มสีเขียว เป็นกลุ่มที่ดูแลตนเองได้ดี เช่น คนไข้เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่สามารถคุมได้ดี ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลทุกเดือน และไปพบแพทย์ปีละ 2 ครั้ง

กลุ่มสีเหลือง เป็นกลุ่มที่มีปัญหาเล็กน้อย แต่ยังไม่มีโรคแทรกซ้อน โดยจะมีผู้จัดการคนไข้ที่เป็นพยาบาลและผู้ประสานงานคนไข้ที่เป็น อสม. ลงไปเยี่ยมบ้านและสอบถามถึงปัญหาที่ต้องการปรึกษาแพทย์ ซึ่งจะใช้ระบบเทเลเมดิซีนจากบ้านคนไข้ที่อยู่ที่บ้าน ไปยังแพทย์ที่โรงพยาบาล ส่วนกลุ่มสีแดง มีความจำเป็นต้องมาโรงพยาบาล ซึ่งใช้ระบบดิจิทัลในการจัดคิว ทำให้คนไข้ไม่ต้องรอนาน หรือแออัดอยู่ภายในอาคาร ซึ่งมีการเริ่มดำเนินการแล้วที่โรงพยาบาลราชวิถี

 

และกลวิธีพัฒนา Digital Solution หรือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยจัดการ เช่นการใช้แอปพลิเคชัน ตั้งแต่เข้าตรวจ รักษา และจ่ายเงิน โดยไม่ต้องจับธนบัตร รวมถึงการรับยาทางไปรษณีย์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีการถอดบทเรียนเพื่อนำไปใช้กับ 12 เขตบริการสุขภาพ โดยได้รับเงินสนับสนุนจากญี่ปุ่นผ่านองค์การอนามัยโลก โดยขณะนี้ได้นำร่องที่ จ.ปัตตานี

ประเด็นที่ 3 เพิ่มการเข้าถึงบริการแก่ประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งการแพทย์วิถีใหม่ด้วยการใช้เทคโนโลยี ทำให้ผู้ป่วยทุกคนเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยมีผู้จัดการคนไข้และผู้ประสานงานคนไข้ไปเยี่ยมถึงบ้าน ถ้ามีความจำเป็นค่อยไปโรงพยาบาล

มาตรการเหล่านี้ทำให้รูปแบบการบริการแก่ผู้ป่วยต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ทั้งคนไข้และเจ้าหน้าที่ จึงเรียกได้ว่าเป็น New Normal of medical Service ซึ่งมาตรการเหล่านี้ทำให้รูปแบบการ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รพ.ศิริราช สร้างแอปฯ พบแพทย์ออนไลน์ อำนวยความสะดวกผู้ป่วย

คัดกรองผู้ป่วย ผ่านแอปพลิเคชัน ONLINE CLINIC

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง