ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

อธิบดีกรมทางหลวง สั่งแก้ไข ศาลาริมทาง "ศรีสะเกษ-อ.วังหิน"

สังคม
14 มิ.ย. 63
10:22
15,571
Logo Thai PBS
อธิบดีกรมทางหลวง สั่งแก้ไข ศาลาริมทาง "ศรีสะเกษ-อ.วังหิน"
อธิบดีกรมทางหลวง สั่งแก้ไขศาลาริมทาง ศรีสะเกษ-อ.วังหิน หลังถูกชาวเน็ตวิจารณ์ใช้ประโยชน์ไม่ได้จริง โดยให้ทำกันสาดเพิ่มทั้งด้านหน้าด้านหลังเพื่อกันแดดกันฝน

จากกรณีผู้ใช้เฟซบุ๊กโพสต์ภาพศาลาที่พักริมทาง ริมถนน 4 เลน สายศรีสะเกษ-ขุขันธ์ พร้อมระบุข้อความว่า เพื่อนๆ คิดอย่างไร ทำให้มีผู้ให้มีชาวเน็ตเข้าไปแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก ถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ใช้สอย เช่น ดูดีแต่ใช้ประโยชน์หลบแดดหลบฝนไม่ได้ 

ภาพ : กรมทางหลวง

ภาพ : กรมทางหลวง

ภาพ : กรมทางหลวง

 

นายสิริ สิงหรัตน์ นายช่างโยธาชำนาญงาน สำนักก่อสร้างทางที่ 2 กรมทางหลวง ผู้ช่วยนายช่างโครงการก่อสร้างทางสาย ศรีสะเกษ-อ.วังหิน จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ถนนสายดังกล่าวสำนักสำรวจและออกแบบ กรมทางหลวง เป็นผู้ออกแบบในการก่อสร้างทั้งหมด รวมทั้งศาลาพักริมทาง ใช้งบประมาณในการก่อสร้างกว่า 518 ล้านบาท

ส่วนกรณีศาลาพักริมทาง ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลขณะนี้เป็นการออกแบบรูปแบบใหม่ และก่อสร้างอยู่หลายแห่งทั่วประเทศ เพื่อให้มีความทันสมัย สวยงาม และเพื่อความมั่นคงแข็งแรงของศาลา ซึ่งอาจจะดูเล็ก เนื่องจากสภาพพื้นที่เขตทางบางจุดคับแคบ และหากชาวบ้านมีความคิดเห็นใช้ประโยชน์หลบแดดหลบฝนไม่ได้นั้น เป็นการก่อสร้างตามแบบ ซึ่งตนจะนำเรื่องดังกล่าว เสนอไปยังสำนักสำรวจและออกแบบ ของกรมทางหลวง อีกครั้งหนึ่ง เพื่อพิจารณาหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมต่อไป

ศาลาพักริมทางรูปแบบเดิมเป็นศาลาไม้ 4 เสา หลังค่อนข้างใหญ่ แต่ด้วยระยะเวลานานหลายปี จึงเริ่มทรุดโทรมมีปลวกขึ้นทำให้ศาลาชำรุดทรุดตัวลง ประกอบกับยุคสมัยเปลี่ยนไป ทางสำนักสำรวจและออกแบบ จึงได้มีการออกแบบศาลาพักริมทางในรูปแบบใหม่ ให้ใช้งานได้นานขึ้น แข็งแรงและสวยงามมากขึ้น
ภาพ : กรมทางหลวง

ภาพ : กรมทางหลวง

ภาพ : กรมทางหลวง

 

ล่าสุด วันนี้ (14 มิ.ย.2563) นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า จากการตรวจสอบภาพที่มีการแชร์กันในสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ศาลาริมทางดังกล่าว อยู่ในโครงการก่อสร้างขยายทางเป็น 4 ช่องจราจร ทางหลวงหมายเลข 220 จริง ซึ่งงานก่อสร้าง เริ่มต้นสัญญาตั้งแต่ 12 ก.พ.2562 งานแล้วเสร็จ 12 มิ.ย.2563 และได้ส่งมอบพื้นที่ให้แขวงทางหลวงศรีสะเกษที่ 1 ดูแล

ส่วนสาเหตุที่มีการก่อสร้างศาลาริมทางในลักษณะดังกล่าว มีการชี้แจงว่าถนนสายดังกล่าวแบ่งรูปแบบการก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่มีเขตทาง 30 เมตร และ 40 เมตร โดยช่วงเขตทาง 30 เมตร เมื่อก่อสร้างเป็นทางหลวง 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบยกกว้าง 3.00 เมตร แล้วจะเหลือพื้นที่จากไหล่ทางจนถึงเขตทางหลวงเพียง 4.00 เมตร งไม่สามารถก่อสร้างช่องจอดรถ และศาลาทางหลวงแบบเดิมที่มีความกว้างประมาณ 6.25 เมตร ได้ จึงจำเป็นต้องก่อสร้างที่พักผู้โดยสารเป็นรูปแบบตามที่ปรากฏอยู่ โดยมีความกว้างประมาณ 2.50 เมตร เท่านั้น เพื่อให้ไม่เลยออกนอกเขตทาง

ภาพ : กรมทางหลวง

ภาพ : กรมทางหลวง

ภาพ : กรมทางหลวง

 

ขณะที่ช่วงเขตทาง 40 เมตร เมื่อขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจร เกาะกลางแบบยกกว้าง 4.20 เมตร พร้อมช่องจอดรถโดยสาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการจอดรับผู้โดยสารแล้ว จะเหลือพื้นที่ก่อสร้างที่พักผู้โดยสาร กว้างประมาณ 4.40 เมตร ซึ่งก็ไม่สามารถก่อสร้างศาลาทางหลวงแบบเดิมที่มีความกว้างประมาณ 6.25 เมตร ได้เช่นกัน

ได้สั่งแก้ไขปรับปรุงแล้ว เพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ โดยให้มีการทำกันสาดเพิ่มเติมทั้งด้านหน้า ด้านหลัง เพื่อกันแดดกันฝน รวมทั้งการปรับปรุงพื้นที่โดยรอบให้ดูร่มรื่นขึ้น

อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า ส่วนประเด็นที่มีการแชร์ภาพศาลาจุดรอรถโดยสารของหมู่บ้านที่มีการก่อสร้างใหม่นั้น จุดดังกล่าวเดิมมีศาลาที่ใช้งานมานานกว่า 10 ปี แต่ช่วงเดือน พ.ค.2563 ที่ผ่านมา ศาลาหลังเดิมของชาวบ้านโดนลมพายุพัดพังลงมา ชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างศาลาขึ้นมาใหม่แทนหลังเดิมที่พังลง

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง