1.เปลี่ยนตัวผู้ต้องหา
เหตุการณ์ เกิดขึ้นประมาณ ตี 5 รถเฟอร์รารี่ สีบรอนซ์เทา วิ่งความเร็วสูงพุ่ง ชนรถของด.ต.วิเชียร กลี่นประเสริฐ อย่างแรง บริเวณซอยสุขุมวิท 47 ร่างของดาบวิเชียรถูกลากไกลออกมา 200 เมตร เสียชีวิตที่ซอยสุขุมวิท 49 จากนั้นเฟอร์รารี่ ขับหลบหนี
.
พบรอยคราบน้ำมันเครื่องยนต์ ไหลเป็นทางยาว ตั้งแต่ปากซอยสุขุมวิท 53 ไปจนถึงบ้านหลังหนึ่งในซอยนั้น เป็นตึกสูง 6 ชั้น เนื้อที่กว่า 3 ไร่ มีกำแพงสูง 3 เมตร ประตูทางเข้าบ้านเป็นประตูเหล็ก
.
ตำรวจล้อมบ้าน รอหมายค้นแล้วจึงเข้าไปตรวจค้นภายในบ้าน พบ รถเฟอร์รารี่ไม่มีป้ายทะเบียน มีร่องรอยการชนยับเยิน กระจกหน้ารถแตกเป็นวงกว้าง ถุงลมนิรภัยกางออก และมีเครื่องหมายนายดาบติดอยู่ที่กระจก (มีภาพรถเฟอร์รารี่ และลักษณะการชน)
.
เวลาต่อมา สารวัตรป้องกันปราบปราม (สวป.) สน.ทองหล่อ ในขณะนั้น นำตัว นายสุเวศ หอมอุบล อายุ 45 ปี พ่อบ้าน(คนงาน) เข้ามอบตัว ที่ สน.ทองหล่อ
.
นายสุเวศให้การอ้างว่า เป็นคนขับรถเฟอร์รารี่ พุ่งชนรถจักรยานยนต์ของ ดาบวิเชียร ด้วยตัวเอง แต่ระหว่างการสอบสวน นายสุเวศ เล่าเหตุการณ์ไม่ได้ ให้การวกวน บอกรายละเอียดไม่ได้ ร่างกายไม่มีร่องรอยบาดแผลไม่มีรอยขีดข่วน ถูกสอบสวนจนกระทั่งยอมรับว่า “มารับผิดแทนนาย”สำนึกในบุญคุณ จึงสมอ้างเป็นคนขับ
.
สวป.ถูกตั้งกรรมการสอบสวนวินัย มีคำสั่งย้ายไปช่วยราชการ ต่อมากรรมการสอบสวนมีคำสั่งให้ออกจากราชการชั่วคราว จนกระทั่งเรื่องเงียบ 5 ปีต่อมา ขยับเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็น รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สน.ท่าเรือ
ส่วนพ่อบ้าน “อยู่วิทยา” ถูกแจ้งข้อหาส่งฟ้องศาลคดีให้การเท็จ (ไม่ทราบว่า ถูกลงโทษหรือไม่)
2.ค้าสำนวน ซื้อเวลาอายุความ
การสอบสวน เมื่อพบว่า นายวรยุทธ อยู่วิทยา เป็นคนจับรถตัวจริง ตำรวจแจ้งข้อกล่าวหา 5 ข้อหา
- ขับรถขณะมึนเมาสุรา (ไม่ฟ้อง)
- ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ขาดอายุความ 3 ก.ย.2556 )
- ขับรถโดยประมาททำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย (ขาดอายุความ 3 ก.ย.2556)
- ขับรถชนแล้วไม่หยุดให้ความช่วยเหลือและไม่แจ้งเจ้าพนักงาน (ขาดอายุความ 3 ก.ย.2560)
- ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
.
ตำรวจใช้เวลาสอบสวนคดีนี้ ประมาณ 6 เดือน แต่มีความสั่งฟ้องแค่ 3 ข้อหา ไม่ฟ้อง 2 ข้อหา คือ
.
ขับรถขณะมึนเมาสุรา เพราะอ้างว่าขณะขับรถไม่ได้เมาสุรา และที่ตำรวจตรวจพบแอลกอฮอล์ เนื่องจากเมื่อกลับมาถึงบ้านเกิดความเครียด นำเหล้าพ่อมาดื่มจนเมา เมาหลังจากขับรถชนตำรวจตาย
.
ขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด เพราะมีหลักฐานยืนยัน ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานจากผู้เชี่ยวชาญ หลักฐานจากสภาพความเสียหายรถยนต์ และภาพจากกล้องวงจรปิด เมื่อคำนวณจากเวลาในภาพ
เช่น เวลาภาพบันทึกรถยนต์เฟอร์รารี่ จับภาพได้เวลา 05.34.17 วิ่งในเลนขวาสุดชิดเกาะกลางถนน ผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ คำนวณเวลาจากจุดวิ่งผ่านเสาไฟ
จนกระทั่งภาพรถผ่านไปพ้นจากมุมกล้อง คำนวณความเร็วได้ที่ 177 กิโลเมตร แต่อาจมีความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน 17 กิโลเมตร/ชั่วโมง
.
ตำรวจส่งสำนวนการสอบสวนให้อัยการ แค่ 3 ข้อหา แต่ในเดือน พ.ค.2556 อัยการให้ตำรวจสอบสวนเพิ่มเติม และเพิ่มเติมข้อหาขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด รวมเป็น 4 ข้อหา
แต่ข้อหาขับรถเร็ว และข้อหา ไม่หยุดช่วยเหลือ มีอายุความเพียง 1 ปี นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ อัยการ จึงมีเวลา เพียง 4 เดือน ส่งฟ้องข้อหานี้ แต่เมื่อไม่สามารถติดตามตัวนายวรยุทธ มาฟ้องได้ทัน เพราะอ้างว่าอยู่ต่างประเทศ ทำให้ข้อหานี้ขาดอายุความ 3 ก.ย.2556
.
ความล่าช้าของการทำสำนวนการ ใช้เวลาถึง 6 เดือน ส่งผลให้ข้อหา ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนดขาดอายุความ ทำให้ตำรวจ 11 นาย ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย เมื่อวันที่ 22 เม.ย.2559
อีก 3 ปีต่อมา 29 ก.ค. 2562 ป.ป.ช. มติชี้มูล ตำรวจมีความผิดทางวินัยไม่ร้ายแรง ลงโทษกักยาม ภาคทัณฑ์ ทั้ง ๆ ที่ การปลอยคดีขาดอายุความ อาจส่งให้เห็นเจตนาประวิงเวลา และช่วยเหลือผู้กระทำความผิดหรือไม่ เข้าข่ายปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต ม.157
3.เลื่อนฟ้อง ขาดอายุความ
การขอเลื่อนคดีของนายวรยุทธ เลื่อนคดีทั้งหมด 7 ครั้ง
ครั้งที่ 1 วันที่ 25 เม.ย.2559 จากเกิดเหตุ 4 ปี หลังจากเกิดเหตุ ให้เหตุผลว่าอยู่ต่างประเทศ
.
ครั้งที่ 2 วันที่ 25 พ.ค.2559 ขอเลื่อนเนื่องจากร้องขอความเป็นธรรมพยาน ประเด็นการขับรถเร็วไปที่คณะกรรมาธิการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สนช.
.
ครั้งที่ 3 วันที่ 24 มิ.ย.2559 อ้างว่าอยู่ระหว่างกระบวนการร้องขอความเป็นธรรมคณะกรรมาธิการฯ สนช.
.
ครั้งที่ 4 วันที่ 28 ต.ค.2559 ขอเลื่อนอีก อ้างเหตุผลเดิมอยู่ระหว่างกระบวนการร้องขอความเป็นธรรมคณะกรรมาธิการฯ สนช.
.
ครั้งที่ 5 วันที่ 30 พ.ย.2559 ขอเลื่อน อ้างติดภารกิจที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
.
ครั้งที่ 6 วันที่ 30 มี.ค.2560 ขอเลื่อนคดี อ้างว่าติดภารกิจอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
.
ครั้งที่ 7 วันที่ 27 เม.ย.2560 นายวรยุทธขอเลื่อนคดีออกไปอีก อ้างเหตุเร่งด่วนไปจัดการธุรกิจต่างประเทศ
.
ระหว่างการขอเลื่อนเข้าพบอัยการ ทำให้ข้อหาขับรถโดยประมาท ทำให้ทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย หมดอายุความอีก 1 ข้อหา ในปี 2556 จึงเหลือข้อหา เพียง 2 ข้อหาในปี 2560 คือ ขับรถชนแล้วไม่หยุดให้ความช่วยเหลือ และไม่แจ้งเจ้าพนักงาน และขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
4.ออกหมายจับ
.
วันที่ 27 เม.ย.2560 อัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ เห็นว่า ทนายความขอเลื่อนคดีด้วยลักษณะเดียวกัน อย่างต่อเนื่องหลายครั้ง มีเจตนาประวิงคดี และหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี
อัยการสูงสุดในขณะนั้น มีคำสั่งไม่ให้ผู้ต้องหาเลื่อนคดีอีก จึงขออนุมัติออกหมายจับ และให้นำตัวยื่นฟ้องศาลทันที เพราะสำนวนการสอบสวนเตรียมไว้หมดแล้ว ก่อนข้อหาที่ 4 จะหมดอายุความ วันที่ 3 ก.ย.2560 หรือ ภายใน 5 ปีจากวันเกิดเหตุ
.
หมายจับ นายวรยุทธ อยู่วิทยา ทำให้ตำรวจต้องตามตัว มาส่งฟ้องให้ทันภายในอายุความ ที่เหลือเพียง 1 ข้อหา คือ ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มีอายุความ 15 ปี คือ หมดอายุความวันที่ 3 ก.ย.2570
.
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนดไว้ ว่า หากสั่งฟ้องผู้ต้องหาต้องจัดการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้ตัวมาดำเนินคดี และหากอยู่ต่างประเทศก็จะต้องขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เมื่อศาลออกหมายจับแล้วจะต้องติดตามจับให้ได้ก่อนคดีขาดอายุความ
5.สร้างหลักฐานใหม่
.
จุดเปลี่ยนคดี ย้อนกลับไปที่ ข้อร้องเรียนขอความเป็นธรรมคดี ของทนายความ ต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายกระบวนการยุติธรรมและกิจการตำรวจ สนช.
รายงานข้อเท็จจริงและผลการสอบสวนของ กมธ.ชุดนี้ มีผลอย่างไร ต่อข้อหา ที่เหลืออยู่เพียงข้อหาเดียว คือ ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ทำให้มีการสอบสวนใหม่ ทั้ง ๆ ที่ อัยการคดีอาญากรุงเทพใต้ ขออนุมัติออกมายจับ เตรียมสำนวนการสอบสวนไว้พร้อมแล้ว และให้นำตัวยื่นฟ้องศาลทันที
.
แต่กลับมีพยานเพิ่มขึ้น มา 2 คน ให้การวันที่ 4 ธ.ค.2562 อ้างว่า “ขับรถตามหลังจาก รถจักรยานยนต์ของ ดาบวิเชียร ซึ่งขี่รถด้วยความเร็ว 60 กม/ชม. พยานให้การว่า “ บอส” ขับรถยนต์ด้วยความเร็ว 50-60 กม./ชม” เท่านั้น
(ประเด็นนี้ ขัดแย้งกับความเห็นผู้เชี่ยวชาญด้านฟิสิกส์ = 177 กม./ชม. , และสภาพความเสียหาย รถยนต์เฟอร์รารี่ : นิติวิทยาศาสตร์)
.
แต่สำนวนการสอบสวนใหม่ของอัยการ กลับอ้างว่า ไปสอดคล้องกับความเห็นผู้เชี่ยวชาญ
.
คำให้การพยานใหม่ 2 คน ทำให้อัยการเชื่อว่า “บอส” ขับรถในเลนชิดเกาะกลางถนน ด้วยความเร็วเพียง 80 กม./ชม
.
ส่วน “ดาบวิเชียร” ขี่รถจักรยานยนต์ในช่องทางด้านซ้าย จากนั้นเปลี่ยนช่องทางไปที่ช่องทางขวาชิดเกาะกลางถนน ทำให้พยาน 1 คน ที่ขับรถกระบะ ในเลนกลาง อยู่ด้านหลัง ต้องหักหลบพวงมาลัยไปทางซ้าย
.
รถจักรยานยนต์ของดาบวิเชียร เมื่อวิ่งไปทางเลนด้านขวาสุดชิดเกาะกลางถนน และในระยะกระชั้นชิดทำให้รถเฟอร์รารี่ของ “บอส” พุ่งเข้าชนท้าย จึงเป็นเหตุสุดวิสัย มิใช่เกิดจากความประมาท
.
ท้ายสำนวนคดี ระบุไว้ว่า เนื่องจาก ครอบครัว “ดาบวิเชียร” ได้รับค่าชดเชยความเสียหายและรับสินไหมทดแทนแล้ว และไม่ประสงค์จะดำเนินคดีทั้งแพ่งและอาญาต่อไป
จึงสั่งไม่ฟ้อง .. “บอส” วรยุทธ อยู่วิทยา