กรณีหญิงไทย 2 คนที่เดินทางกลับจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ COVID-19 หลังจากพ้นระยะกักตัวไปแล้ว 14 วัน ทำให้หลายคนเกิดความกังวลใจ เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีการติดเชื้อ COVID-19 ภายในประเทศมานานถึง 87 วัน ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและอยู่ใน State Quarantine
วันนี้ (20 ส.ค.2563) ไทยพีบีเอสสัมภาษณ์ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะเเพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า กรณีพบหญิงอายุ 35 ปี ชาวจ.เลย ที่เดินทางกลับประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ถึงไทยเมื่อ 24 มิ.ย.ที่ผ่านมาและ ตรวจไม่พบเชื้อทั้ง 2 ครั้งในขณะกักตัว State Quarantine และจนเมื่อกักตัวครบ 14 วันและออกไปใช้ชีวิตตั้งแต่ 8 ก.ค.ที่ผ่านมา
การที่เจอเชื้อ COVID-19 เกือบ 6 สัปดาห์หลังจากพ้นสถานที่กักตัวไปตั้งแต่ 8 ก.ค.ถือว่าระยะยาวนานมาก สาเหตุอาจจะติดเชื้อ และตรวจไม่พบใน 14 วัน มีความเป็นไปได้แต่น้อย และทางที่ 2 เขาอาจจะมีโอกาสไปรับเชื้อจากชุมชนที่เขาเดินทางไปในประเทศ แต่จากการแถลงไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ แต่ไปพูดว่าไม่มีโอกาส
ไทยเปิดประเทศ ยังเสี่ยงไม่มีโอกาสรอด
รศ.นพ.ธีระ กล่าวอีกว่า ตอนนี้ไทยเปิดประเทศแล้ว หากเทียบจากหลายประเทศที่พบการระบาดรอบใหม่ไม่มีโอกาสรอด ทั้งญี่ปุ่น เวียดนาม เกาหลีใต้ ระบาดแล้วจะคุมยากมาก จึงอยากย้ำว่าตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยน จึงมีโอกาสติดเชื้อในประเทศได้ ซึ่งในเคสรายที่ 2 ยังมีความเป็นไปได้ว่าติดติดเชื้อในประเทศ หรือตรวจเชื้อไม่พบหลุดจากการกักกัน
พื้นที่ที่หญิงคนนี้เดินทางไปจังหวัดอะไรบ้าง พื้นที่ไหนบ้างขอให้ประชาชน ในพื้นที่นั้นช่วยกันประเมินตัวเอง 1-2 สัปดาห์มีอาการคล้ายหวัดใหญ่หรือไม่ ถ้ามีให้หยุดเรียน หยุดงาน และเน้นให้คนอื่นๆต้องป้องกันตัวเองไว้
ส่วนกรณีการกักตัว 14 วัน เพียงพอหรือไม่ รศ.นพ.ธีระ กล่าวว่า ในโอกาสกักตัว 14 วันสามารถพบเชื้อได้ 15% แต่ถ้า 99% ต้องกักตัว 30 วัน เพราะพื้นที่รองรับไม่เพียงพอ จึงเน้นให้ไปกักตัวที่บ้าน และการกักตัว 14 วันยังมีโอกาสหลุดได้ ดังนั้นทุกคนจึงมีมีอกาสที่จะรับเชื้อไม่รู้ตัวได้ ดังนั้นต้องสังเกตอาการตัวเองและไม่ควรนนิ่งนอนใจ
ส่วนอีก 1 คนที่อบกว่าเป็นซากเชื้ออาจจะไม่แพร่สู่คน มั่นใจได้แค่ไหน ความรู้เดิมเรื่องเก่าไปแล้ว ล่าสุดมีหลักฐานทางวิชาการของเกาหลีใต้ว่าคนที่ติดเชื้อ และไม่พบเชื้อในโพรงจมูก แต่เอาอุจจาระ ปัสสาวะของคนที่เคยติดเชื้องเพาะเชื้อไวรัสขึ้นมาได้อีก 2-3 สัปดาห์หลังจากนั้น ดังนั้นถึงแม้คนป่วยจะรักษากลับออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว ควรต้องป้องกันตัวเองเพราะอาจมีสารคัดหลั่ง ปัสสาะวะ อุจจาระ และการใช้ห้องน้ำสาธารณะต้องใช้หน้ากากอนามัย และป้องกันตัวเอง
เมื่อวานนี้ (19 ส.ค.) นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ระบุว่า สารพันธุกรรมเชื้อตาย COVID-19 ยังอยู่ในร่างกายได้นานถึง 3 เดือน แต่ไม่สามารถแพร่เชื่้อไปสู่บุคคลอื่นๆ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
สธ.ยืนยัน 2 หญิงไทยติด COVID-19 หลังพ้นกักตัว 14 วัน
ด่วน! รอฟังชัดๆ คนไทยติด COVID-19 รายใหม่