ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

นายกวิศวกรรมสถานฯ คาดสร้างริมน้ำเหตุหอพัก 3 ชั้นทรุด

สังคม
21 ส.ค. 63
06:24
2,796
Logo Thai PBS
นายกวิศวกรรมสถานฯ คาดสร้างริมน้ำเหตุหอพัก 3 ชั้นทรุด
อบต.พันท้ายนรสิงห์ ยังคงปิดกั้นพื้นที่หอพัก 3 ชั้น ที่ทรุดตัวให้เป็นเขตอันตราย ระหว่างสรุปสาเหตุ เบื้องต้นคาดว่า น้ำจากบ่อด้านหลังหอพักกัดเซาะดินใต้อาคาร ทำให้เสาเข็มเลื่อน และเกิดการทรุดตัว

วันนี้ (21 ส.ค.2563) จากกรณีหอพัก 3 ชั้น จำนวน 30 ห้อง ใน ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมืองสมุทรสาครเกิดการทรุดตัว สภาพของหอพักยังปรากฏร่องรอยความเสียหาย ทั้งรอยแตกร้าว พังยุบ

ผู้รับเหมาก่อสร้าง ชี้แจงว่า อาคารก่อสร้าง 3 ชั้น ด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ใช้เสาเข็มไอ 26 ยาว 21 เมตร คานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กตามแบบ ซึ่งทำตามแบบทุกอย่าง คาดว่าสาเหตุเกิดจากด้านหลังอาคารเป็นบ่อน้ำ ทำให้โครงการเกิดการบิดตัวช่วงมุมอาคาร จนอาคารหลุดจากหัวเสาเข็มทุกอัน ผู้รับเหมายืนยันว่า ที่ผ่านมาก่อสร้างอาคารลักษณะนี้มาแล้วหลายร้อยหลัง แต่ไม่มีหลังไหนชิดริมน้ำเหมือนหลังนี้


สอดคล้องกับนายธเนศ วีระศิริ นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ตรวจสอบแล้วสันนิษฐานว่า เกิดจากการที่อยู่ริมน้ำ เมื่อน้ำลดน้ำเพิ่ม ทำให้ดินเกิดการเลื่อนไหล จนถึงจุดวิกฤติที่เกิดการทรุดตัว และจากการติดแถบวัดระดับที่ตัวอาคาร และตั้งกล้องวัดค่าการเคลื่อนตัว พบว่า ยังอยู่ในระยะปลอดภัย จึงอนุญาตให้เจ้าของห้องเข้าไปเก็บทรัพย์สินในห้องได้ โดยมีทีมกู้ภัยเข้าไปด้วย


นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ลงพื้นที่เกิดเหตุ เพื่อตรวจสอบและหารือกับนายก อบต.พันท้ายนรสิงห์ ถึงแนวทางแก้ไข และเยียวยาผู้เข้าพักกว่า 50 คน ที่เดือดร้อน หากมีการฟ้องร้อง ระหว่างเจ้าของหอพักผู้เช่า รวมถึงผู้รับเหมาก่อสร้าง ก็เป็นสิทธิ์ของแต่ละฝ่าย

พื้นที่เก่า "นากุ้ง" ปัจจัยสำคัญ หอพักทรุดตัว 

ขณะที่ รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ อาจาย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ ในสาขาวิศวกรรมปฐพีและฐานราก อธิบายไว้เพิ่มเติม เมื่อวิเคราะห์จาก Google Earth เเละรูปถ่าย พบว่า พื้นที่เดิมก่อนจะมีหอพักคือ นากุ้ง น่าจะมีการถมดินลงไปในบ่อ แล้วตอกเสาเข็ม สร้างเป็นหอพัก ซึ่งชั้นดินที่ตั้งหอ อยู่ในพื้นที่ดินอ่อนที่มีความหนามาก


ถ้าเสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ เพราะปลายไม่ถึงชั้นดินเเข็ง หอพักต้องมีอาการทรุดตัว ตั้งเเต่หลังการก่อสร้าง แต่ผ่านมา 5 ปีแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเกิดจากการกัดกร่อนใต้อาคาร เเละค่อยๆ ลดความสามารถในการรับน้ำหนักลง จนถึงจุดวิบัติ หรือว่าเสาเข็มเยื้องศูนย์ทั้งเเถว แต่ตอม่อยังรับน้ำหนักได้ เเต่ก็เริ่มเเตกร้าวจนทรุด


นอกจากนี้ อีกกรณีนี้หนึ่งอาจเกิดจากพื้นที่เป็นดินอ่อนมาก เเบบชายเลน หรือนากุ้งเก่า พอถมดินเเล้วตอกเข็มเลย ดินจะทรุดตัวเเล้วฉุดเข็มลง หรือดินที่ถมหลังหอด้านที่ติดกับบ่อ เกิดการสไลด์ทำให้เข็มหลุดฐาน ซึ่งกรณีนี้ต้องเกิดจากการสั่นสะเทือน หรือน้ำในบ่อลดลง ซึ่งเป็นไปได้ทั้งหมด

 

 อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ระทึก! หอพัก 3 ชั้นเมืองสมุทรสาครทรุดตัว ผู้เช่าอพยพกว่า 50 คน

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง