ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

THE EXIT : ขยะพลาสติก ตอน 2

สิ่งแวดล้อม
25 ส.ค. 63
19:23
1,013
Logo Thai PBS
THE EXIT : ขยะพลาสติก ตอน 2
THE EXIT สะท้อนปัญหาซาเล้งรายได้ลดลงจากราคาขยะที่เก็บไปขายร้านรับซื้อของเก่ามีราคาถูก สวนทางกับนโยบายนำขยะพลาสติกเข้าไทยอีก 600,000 ตันในปี 2564 เพราะอ้างว่าขยะในไทยไม่เพียงพอ แต่ก็มีข้อสังเกตว่าสวนทางทุนจีนเข้ามาตั้งโรงงานขยะรีไซเคิลในไทย

ปริมาณขยะรีไซเคิลที่บรรทุกมาเต็มคันรถ สะท้อนว่าขยะไทยไม่เคยน้อยลง แต่กลับสวนทางกับรายได้ที่ซาเล้งจะได้รับจริง

รอบละ 100 กว่าบาทไม่พอใช้ เป็นราคาจริงที่ซาเล้งนำมาขาย เขาไม่รู้ว่าทำไมราคาขยะถึงถูกลง

กำไรน้อยลง ราคารับซื้อตกต่ำ ราคาขวดพลาสติกใสเหลือกิโลกรัมละ 4 บาทจาก 18 บาทเท่านั้น ทำให้ซาเล้งที่กำลังเผชิญปัญหาราคาขยะตกต่ำต้องเร่งทำรอบเก็บขยะให้ได้ถึง 3 รอบ เพื่อความอยู่รอด

ถ้าเต็มคันรถแต่ก่อนได้ประมาณ 1,300-1,700 บาท แต่ถ้าหักออกแล้วประมาณ 300 บาท

 

ราคาที่ตกลง ทำให้ร้านรับซื้อของเก่าเงียบ ประเภทที่ซาเล้งไม่อยากเก็บคือกระดาษและขวด 

ไม่แน่ใจว่า เป็นเพราะสั่งขยะมาจากเมืองนอกหรือไม่ คนเลยไม่อยากเก็บมาขายเพราะราคาถูก

เจ้าของร้านรับรับซื้อของเก่าย่านดอนเมือง บอกกับ THE EXIT

 

ประเทศไทยประสบปัญหาราคาขยะตกต่ำ จากมาตรการของจีนโดยตรง เนื่องจากโรงงานของจีนหลายแห่ง หนีมาตรการทางกฎหมายที่เข้มงวดขึ้น ได้ย้ายฐานที่ตั้งโรงงานเข้ามาประเทศไทย เห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนปื 2560 เป็นการร่วมทุนหรือมีนักลงทุนจากจีนอยู่เบื้องหลังเป็นส่วนใหญ่ตั้งขึ้นระหว่างปี 2560–2561

โดยเป็นการลงทุน ร่วมของนักธุรกิจไทยและนักธุรกิจชาวจีนหรือฮ่องกง คาดว่าเป็นกิจการที่ตั้งขึ้น เพื่อรองรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเศษพลาสติกที่นำเข้ามาจำนวนมากหลังมาตรการห้ามนำเข้าขยะของรัฐบาลจีน ทำให้มีการผลักดันขยะพลาสติกจากจีน มายังประเทศไทยนับแสนตันและพยายามจะผลักดันขยะพลาสติกมายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผอ.นิธิบูรณะนิเวศ กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นทำเลของของการลงทุนด้านอุตสาหกรรมที่ทำลายสิ่งแวดล้อม แม้ว่ากฎหมายสิ่งแวดล้อม ดูเหมือนจะเข้มแข็ง แต่ถ้าเกิดปัญหาขึ้น กฏหมายไทยกลับไม่สามารถคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และปกป้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพราะบทลงโทษอ่อนมาก

 

ไทยพีบีเอส ตรวจสอบข้อเท็จจริงการย้ายฐานโรงงานจีนมาไทย กับผู้ประสานงานรณรงค์ โครงการลดพลาสติก กรีนพีซเอเชียตะวันออก ประจำประเทศจีน หยวน ฉาง ระบุว่า รัฐบาลจีนได้แจ้งองค์การการค้าโลกหรือ WTO ว่า การนำเข้าขยะจากต่างประเทศ ได้ทำลายสิ่งแวดล้อม ของประเทศจีนอย่างรุนแรง จึงห้ามนำเข้าและ สั่งปิดกิจการรีไซเคิล ในประเทศจำนวนมากทำให้ขยะจากจีนทั้งหมด ทลักเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มาเลเซียอินโดนีเซีย และไทย ที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ในปี 2017 การนำเข้าขยะในจีนจำนวน 3,961 ตัน แต่ในปีต่อมาเพิ่มเป็น 2,200 ตัน และในปีนี้จนถึงเดือน เม.ย.2020 ครึ่งแรกของปีนี้คือ 249 ตัน โดยเปรียบเทียบแล้วลดลงเกือบร้อยละ 50 จริงๆแล้วเราเห็นนโยบายค่อนข้างมีประสิทธิภาพ


ปี 2563 จีนห้ามนำเข้าขยะ 100 เปอร์เซนต์และมาตรการป้องกันไม่ให้แต่ละประเทศ กลายเป็นถังขยะใบใหม่ของโลกแทนจีน จีนย้ำว่ารัฐบาลแต่ละประเทศรีไซเคิลในขยะภายในประเทศเท่านั้น

 ขยะนำเข้ากลายเป็นวัตถุดิบสำหรับการรีไซเคิล ดังนั้นจีนต้องการวัตถุดิบแล้วจะทำอย่างไร จีนเริ่มโครงการแยกขยะในเมืองต่างๆ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปีที่ผ่านมา 

แม้ไทยจะมีนโยบายลดการใช้ขยะพลาสติกแต่ไทยยังไม่เด็ดขาดเหมือนจีน เพราะโรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งยืนยันขยะไทยมีน้อย จำเป็นต้องนำเข้าขยะ6 แสน 5 หมื่นตัน กระทรวงการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงสั่งการให้กลุ่มซาเล้งเร่งสรุปปริมาณขยะพลาสติก ว่าเพียงพอต่อการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมจริงหรือไม่

 

นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)  กล่าวว่า ถ้าหากโรงงานบอกว่าขยะพลาสติกยังไม่เพียงพอยังขาด ต้องดูปริมาณขยะพลาสติกที่ขอนำเข้าว่ามีปริมาณเท่าไหร่ นำเข้าจากที่ไหน เป็นขยะประเภทไหน

ปัญหาที่เกิดขึ้นพบว่าบางส่วนนำมาใช้จริง แต่อีกส่วนนำมาทิ้ง ไทยไม่ใช้ถังขยะของโลกที่มีอะไรจะส่งมาทิ้ง ถ้าผมจับได้จะส่งกลับที่ไปที่ประเทศท่าน ไม่สนใจว่าใครใหญ่จากไหน

หากมีการเห็นชอบนำเข้าขยะล็อตใหญ่จะเป็นการทำลายระบบรีไซเคิลขยะภายในประเทศอย่างสิ้นเชิงนายสมไทย วงษ์เจริญ ปธ.กรรมการบ.คัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิล วงษ์พาณิชย์ จำกัด ระบุว่า

ถ้าเข้ามาแล้วขยะพลาสติกที่เห็นแบบนี้ ประเทศไทยจะไปไหน คนจนไม่มีสิทธิเก็บแล้ว 

 

สิ่งดึงดูดให้นำเข้าขยะพลาสติกนำเข้า เพราะมีราคาถูกกว่าขยะไทยทำให้โรงงานเลือกนำเข้าขยะนอก แต่เป็นสินค้าพลาสติกเกรดต่ำก่อมลพิษสูง และพบว่าบางประเทศให้ขยะฟรีๆ เพื่อแลกกับการส่งมากำจัดในไทย จึงขัดกับนโยบายห้ามคนไทยใช้ถุงพลาสติก แต่เปิดประเทศรับขยะพลาสติก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง