ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

THE EXIT : ทางเลือก...เลิกใช้ "พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส"

สิ่งแวดล้อม
28 ส.ค. 63
19:33
1,294
Logo Thai PBS
THE EXIT : ทางเลือก...เลิกใช้ "พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส"
ทางเลือกของเกษตรกร หลังแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสก็ยังจำกัด ยังไม่มีสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชตัวใด ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนและจำหน่ายอย่างถูกต้อง บางผลิตภัณฑ์อ้างว่าหมักตามธรรมชาติ แต่กลับพบส่วนผสม และสีฉลากที่ยังถูกจัดอยู่ในวัตถุอันตรายประเภทที่ 2

เมื่อต้องยกเลิกการใช้สารเคมี เพื่อไล่แมลงศัตรูพืช เกษตรกรบางคนเลือกใช้น้ำหมักที่มีส่วนผสมหลักจากสับปะรด แก้วมังกร และน้ำส้มควันไม้ น้ำหมักจากการผสมของเศษพืชผลไม้ ถูกนำมาใช้ในไร่แก้วมังกร ของสมศักดิ์ ทองวัตร เกษตรกรบ้านหนองเสือคาง ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย

นายสมศักดิ์ ทองวัตร เกษตรกรบ้านหนองเสือคาง ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย กล่าวว่า "มันจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าหญ้าอยู่แล้ว แต่พอเขาระงับไปไม่ให้ใช้ คนที่ลำบากคือเกษตรกรที่ไม่รู้จะใช้อะไร ซึ่งผมมีตัวใหม่ออกมาซึ่งเป็นยาฆ่าหญ้าประสิทธิภาพเท่ากัน เผาไหม้ได้เหมือนกัน ดูดซึมได้เหมือนกัน เป็นชีวภาพ ในไร่แก้วมังกรใช้ชีวภาพ ซึ่งประสิทธิภาพเหมือนกัน แต่ผมไม่รู้ว่าส่วนใหญ่ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียน แม้ว่าจะตรวจเรื่องสารตกค้างก็ไม่มีเลย"

สมศักดิ์ ยังใช้วิธีการจ้างอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนสำหรับภาคการเกษตรแทนแรงงานคนฉีดพ่นยา เพื่อลดต้นทุน ค่าจ้างแรงงาน และต้องเฉลี่ยเงินมาใช้ในค่าใช้จ่าย ในส่วนของสารกำจัดแมลง และกำจัดวัชพืชที่มีต้นทุนสูง ทั้งพื้นที่ปลูกแก้วมังกร และไร่มันสำปะหลัง

 

วชิรวิชญ์ สกุลโชติวัฒน์ ผู้รับจ้างฉีดพ่นสารเคมี กล่าวว่า "การที่จะเกิดประสิทะภาพได้ก็คือ ยังไงสารนั้นต้องตกไปที่ใบพืชอยู่แล้ว ซึ่งการกินอาหารของพืชใช้ทางใบในการสังเคราะห์แสงและปรุงอาหาร ปากใบพืชจะดูดสารอาหารเข้าไป ซึ่งวิธีการเดิมของเกษตรกรคือการให้ปุ๋ยทางดิน ทำให้เสียเงินโดยไม่มีเหตุผลทำให้เกาตรลงทุนสูงและนัวตกรรมที่คิดคต้นมาช่วยประหยัดเวลา ต้นทุน และแรงงาน "

 

สภาพหญ้าที่แห้งตาย ในไร่แก้วมังกรคือตัวอย่างผลลัพธ์ ที่สมศักดิ์อ้างว่าเป็นผลมาจากการใช้สารชีวภัณฑ์ บนฉลากระบุว่า เป็นน้ำหมักธรรมชาติกำจัดวัชพืช ผลิตโดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์และชีวภาพ ใน จ.อุตรดิตถ์ เขาอ้างว่า สารชีวภัณฑ์ตัวนี้มีคุณสมบัติเผาไหม้ในลักษณะเดียวกับสารพาราควอตที่ถูกแบน แต่ปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อมและใช้มานานกว่าปี แต่ปัจจุบันน้ำหมักธรรมชาติยี่ห้อนี้ ยังจำหน่ายไม่ ได้ เนื่องจากยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย

 

นายสมศักดิ์ ทองวัตร เกษตรกรบ้านหนองเสือคาง ต.หนองบัว อ.ภูเรือ จ.เลย กล่าวว่า "ยาฆ่าหญ้าอินทรีย์ก็มี ยากำจัดมดแมลงอินทรีย์ก็มี แต่พอไปขึ้นทะเบียนไมได้ อย่างสารไล่แมลงแม้ว่าจะไม่ตายแต่พวกแมลง มด หนอนก็จะไม่มายุ่ง ช่วยมาทดแทนเรื่องสารได้ "

 

 

ไทยพีบีเอส ตรวจสอบฉลากข้างขวด พบว่า น้ำหมักธรรมชาติยี่ห้อนี้ มีส่วนผสมของสาร สำคัญ คือ อะซีติก แอซิด, โซเดียม คลอไรด์ แอลกอฮอล์ และแคลเซียม ไฮดรอกไซด์ และเป็นแถบฉลากสีน้ำเงิน และยังจัดอยู่ในประเภทวัตถุอันตรายประเภทที่ 2 ข้อมูลเหล่านี้ สอดคล้องกับข่าวออนไลน์หลายสำนัก เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยืนยันไม่มีสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืช ผ่านการขึ้นทะเบียน นอกจากนี้ ในรายละเอียดข่าว อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ยังยืนว่า สารชีวภัณฑ์ที่ผ่านการขึ้นทะเบียนกับกรมวิชาการเกษตรมีเพียงสารชีวภัณฑ์กำจัดโรคพืชและศัตรูพืชรวม 73 ทะเบียนเท่านั้น

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง