ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

THE EXIT : เกษตรกรเลือกไม่คืนสารเคมี หลังครบกำหนด

สิ่งแวดล้อม
29 ส.ค. 63
18:10
3,962
Logo Thai PBS
THE EXIT :  เกษตรกรเลือกไม่คืนสารเคมี หลังครบกำหนด
จ.เลย คือ 1 ใน 3 จังหวัดภาคอีสานตอนบน ที่มีข้อมูลร้านค้าว่า ครอบครองสารพาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต กว่า 230 ร้าน แต่จากผลสำรวจก็ยังไม่พบเกษตรกรนำมาคืน

สัปดาห์นี้เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชไร่ จ.เลย กรมวิชาการเกษตร นำเอกสารประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการรับคืนสารพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ให้กับร้านจำหน่ายวัตถุอันตรายและเคมีภัณฑ์การเกษตร ใน อ.ด่านซ้าย เพื่อให้ทางร้านค้าเตรียมข้อมูลวัตถุอันตราย 2 ชนิด ที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติให้แบน ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.63 ส่งคืนให้กับบริษัท หรือรับคืนจากเกษตรกร

เมื่อครบกำหนดการคืนวัตถุอันตราย 2 ชนิด คือ พาราควอต และคลอร์ไพริฟอส พนักงานร้านค้า ยืนยันว่า ไม่มีเกษตรกรนำสารเคมีมาคืน แม้ว่าจะมีการประชาสัมพันธ์ เหตุผลจากเกษตรกรส่วนใหญ่ บอกว่า เสียเงินซื้อสินค้าไปแล้วแต่ไม่มีความชัดเจนเรื่องเงินชดเชย

 

ส่วนร้านค้ายังเหลือเวลาอีก 30 วัน นับจากวันนี้เพื่อเตรียมข้อมูลส่งให้กับเจ้าหน้าที่

 

ขั้นตอนการคืนพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส ผู้มีไว้ในครอบครองวัตถุอันตรายประเภทที่ 4 เพื่อใช้กำจัดศัตรูพืชในการประกอบเกษตรกรรมเกษตรกรต้องส่งมอบคืน แก่ผู้ขายที่ตนซื้อมาให้แล้วเสร็จ ภายใน 90 วัน แต่ถ้าหากไม่นำมาคืน หรือตรวจสอบพบว่ามีในครอบครอง มีความผิดตามมาตรา 74 ผู้มีไว้ในครอบครอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับ ไม่เกิน 1ล้านบาท หรือทั้งจับทั้งปรับส่วนผู้จำหน่ายร้านค้า ต้องแจ้งปริมาณครอบครอง ให้เจ้าหน้าที่ กรมวิชาการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบใน 120 วัน ซึ่งยังเหลือเวลา อีก 30 วัน นับจากนี้



นายปรีชา แสงโซดา ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย เราเคยทำระบบทะเบียนการจัดซื้อแต่ก็พบว่า การปกิบัติเป็นไปได้ยาก ช่วงแรกที่บอกว่าจำกัดการใช้คือต้องแจ้ง พื้นที่ปลูก พืชปลูกและซึ่งเห็นว่ามีการรายงานน้อย บ่างร้านขายโดยไม่ได้ตัดยอดก็ยังมีปัญหาอยู่"

 

ข้อมูลร้านจำหน่ายปัจจัยการผลิต และปริมาณครอบครองวัตถุอันตราย ในเขตพื้นที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 3 รวม 11 จังหวัด มีข้อมูลว่า จ.เลย มีร้านค้าขาย 3 สาร พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต จำนวน 234 ร้านค้า มีปริมาณ การครอบครองไกลโฟเซต จำนวน 14,906 ลิตร พาราควอต 12,987 ลิตร และคลอร์ไพริฟอส 276 ลิตร แม้พื้นที่ จ.เลย จะมีจำนวนการครอบครองวัตถุอันตรายไม่มาก เท่ากับในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี และ จ.หนองบัวลำภู แต่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ก็พยายามติดตามและประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือเกษตรกร รวมถึงร้านค้า มาอย่างต่อเนื่อง

 

 

แต่การไม่พบการคืนสารเคมีให้กับร้านค้า อาจกำลังสะท้อนว่า การกำหนดให้คืนสารเคมี คงไม่ใช่แนวทางที่เกษตรกรเลือกเพราะยังตั้งคำว่า หากไม่ใช้สารเหล่านี้จะใช้อะไรทดแทน รวมไปถึงร้านค้าเมื่อเก็บคืนมาแล้วจะทำอย่างไรต่อไปเพราะหากศึกษาจากคู่มือการปฏิบัติงาน ตามคำสั่งที่ 750 /2563 เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 พาราควอต คลอร์ไพริฟอส ไม่มีความชัดเจนในการทำลายวัตถุอันตราย 2 ชนิดนี้ เพราะการอายัดสารอันตราย 2 ชนิดนี้ เป็นเพียงการแจ้งจำนวน และบันทึกภาพไว้เท่านั้นและปล่อยให้เป็นหน้าที่ของร้านค้าที่ต้องเก็บไว้ หรือส่งคืนให้บริษัทนำเข้าเพื่อหาช่องทางการทำลาย

 

นอกจากนี้ ยังพบว่าที่ผ่านมา ยังมีปัญหาการร้องเรียน การลักลอบจำหน่ายวัตถุอันตราย 2 ชนิดนี้ ต่อเนื่อง เพราะร้านค้าก็คงตั้งคำถามไม่ต่างจากเกษตรกรว่า หากคืนแล้ว จะได้รับการเยียวยา จากเงินที่ลงทุนไปอย่างไร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง