ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

สมาคมนักข่าวฯ จัดอบรมเทคนิคทำข่าวความขัดแย้ง

สังคม
18 ก.ย. 63
10:32
447
Logo Thai PBS
สมาคมนักข่าวฯ จัดอบรมเทคนิคทำข่าวความขัดแย้ง
สมาคมนักข่าวฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย รุ่นที่ 11 เพื่อช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับสื่อมวลชนเกี่ยวกับเทคนิคทำข่าวความขัดแย้ง

วันนี้ (18 ก.ย.2563) นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ "การรายงานข่าวในภาวะวิกฤตและสาธารณภัย" หรือ Safety training รุ่นที่ 11 ระหว่างวันที่ 11-13 ก.ย.2563 เพื่อช่วยสร้างองค์ความรู้พื้นฐานให้แก่สื่อมวลชนเรื่องการทำข่าวอย่างปลอดภัยในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งรุนแรง รวมถึงสร้างเครือข่ายสื่อมวลชนที่ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยง และส่งเสริมให้สื่อมวลชนรายงานข่าวอย่างครบถ้วน รอบด้านภายใต้กรอบจริยธรรม

 

 

โดยเนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย การเตรียมตัวและวางแผนก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานข่าว การเข้าทำข่าวในพื้นที่ที่ภาวะวิกฤต ภาษาที่ใช้ในการรายงานข่าวในสถานการณ์ความขัดแย้งและการรายงานข่าวในสถานการณ์อันตราย การช่วยชีวิตและการปฐมพยาบาลเชิงยุทธวิธีในสถานการณ์ฉุกเฉิน และความปลอดภัยในการใช้ดิจิทัลฯลฯ

 

 

นอกจากนี้ ยังมีบรรยายพิเศษ "แนวโน้มสถานการณ์ขัดแย้งในสังคมไทยที่สื่อมวลชนควรรู้" โดย ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และมีการให้ความรู้เรื่อง "Digital Safety" โดยนายจิระวัฒน์ ภูมิศรีแก้ว ผู้แทนจากบริษัท กูเกิ้ล (ประเทศไทย) จำกัด และการตรวจสอบข่าวปลอม หรือ Fakenews โดย น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ จาก CO FACT

 

 

นายจีรพงษ์ กล่าวว่า สมาคมฯ เห็นถึงความสำคัญในความปลอดภัยและสวัสดิภาพของผู้สื่อข่าวภาคสนาม ที่ต้องเข้าพื้นที่รายงานข่าวในสถานการณ์ที่มีปัญหาความขัดแย้งรุนแรง เพราะนักข่าวภาคสนาม ถือเป็นด่านหน้าที่สำคัญในการเป็นต้นทางของการรายงานข่าว กลับไปยังกองบรรณาธิการ หรือ นำเสนอผ่านแพลตฟอร์มช่องทางต่างๆ โดยตรงไปยังประชาชนผู้ติดตามข่าว ซึ่งข่าวที่มีความขัดแย้ง ข่าวที่มีสถานการณ์ความรุนแรง ข่าวภัยพิบัติ-สาธารณภัย

 

 

รวมถึงข่าวที่มีเสี่ยงของการตกเป็นผู้บาดเจ็บและสูญเสียของตัวนักข่าวภาคสนามเอง เมื่อต้องลงพื้นที่ไปรายงานข่าว ก็เป็นอีกศาสตร์ของอาชีพนักข่าวที่มีเทคนิค วิธีการเป็นการเฉพาะด้วยเช่นกัน เพื่อให้นักข่าวภาคสนามปลอดภัย รู้ทันและไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ลดความเสี่ยงและผลกระทบในมิติต่างๆ จากการรายงานข่าวดังกล่าว ที่จะเกิดขึ้นต่อตัวนักข่าวเอง ต่อองค์กร ต่อวิชาชีพและสังคมโดยรวม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง