ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ประวิตร" สั่งเร่งช่วยลูกจ้างตกงานจาก COVID-19

สังคม
9 ม.ค. 64
10:54
1,186
Logo Thai PBS
"ประวิตร" สั่งเร่งช่วยลูกจ้างตกงานจาก COVID-19
"พล.อ.ประวิตร" ห่วงผู้ใช้แรงงาน กำชับ "สุชาติ" รมว.แรงงาน เร่งช่วยลูกจ้างตกงานจาก COVID-19 รอบแรก ไปแล้วกว่า 2,900 คน

วันนี้ (9 ม.ค.2564) นายสุชาติ ชมกลิ่น รมว.แรงงาน เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับกระทรวงแรงงาน ได้แสดงความห่วงใยลูกจ้างผู้ใช้แรงงาน พร้อมสั่งการมาที่ตนให้ติดตามปัญหาต่างๆ

โดยเฉพาะกรณีลูกจ้างจำนวนมากที่ถูกบริษัทเลิกจ้างกะทันหันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในรอบก่อน เช่น บริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด ที่เลิกจ้างลูกจ้าง 2,500 คน บริษัท ยูนิสัน แพน (เอเซีย) จำกัด เลิกจ้างลูกจ้าง 658 คน

สั่ง กสร.ช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิลูกจ้าง

ทั้งนี้ ขณะนี้การแพร่ระบาดระลอกใหม่ มีแนวโน้มจะกระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งอาจจะซ้ำเติมลูกจ้างได้อีก หากยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย จึงได้สั่งการให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เร่งรัดติดตามการช่วยเหลือคุ้มครองสิทธิลูกจ้างอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ได้รับสิทธิอย่างครบถ้วนและรวดเร็ว เพราะปัญหาค่าใช้จ่ายในเรื่องความเป็นอยู่ และปากท้องของแรงงานในปัจจุบันเป็นสิ่งที่สำคัญ

นายสุชาติ ชมกลิ่น

นายสุชาติ ชมกลิ่น

นายสุชาติ ชมกลิ่น

 

นายอภิญญา สุจริตตานันท์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) รายงานว่า ขณะนี้กรมฯ ได้ติดตามการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างบริษัท วิงสแปน เซอร์วิสเซส จำกัด โดยประสานกับ บริษัท วิงสแปนฯ และผู้ทำแผนฟื้นฟูบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยได้นำแคชเชียร์เช็คมาจ่ายให้กับลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจำนวน 2,441 คนแล้ว รวมเป็นเงิน 258,309,031.87 บาท

ยังคงมีลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างยังไม่มารับแคชเชียร์เช็คอีกจำนวน 59 คน ซึ่งได้ให้คำแนะนำแก่บริษัทฯ โอนเงินตามสิทธิที่ลูกจ้าง จะได้รับเข้าบัญชีธนาคารตามรายชื่อของลูกจ้างทั้ง 59 คนแล้ว

เอาผิด "ยูนิสัน" ฝ่าฝืน พ.ร.บ.แรงงานฯ

นายสุชาติ กล่าวอีกว่า กรณีลูกจ้างบริษัท ยูนิสัน แพน (เอเซีย) จำกัด ที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานภายในระยะเวลาที่กำหนด และกรมฯ ได้แจ้งความดำเนินคดีต่อนายจ้าง ฐานฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

และกระทรวงแรงงานได้อนุมัติเงินกองทุนสงคราะห์ลูกจ้าง กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายเงินค่าชดเชย จำนวน 426 คน เป็นเงินจำนวน 6,743,750 บาท ซึ่งมีลูกจ้างมายื่นขอรับเงินกองทุนสงเคราะห์ฯ แล้ว จำนวน 175 คน เป็นเงินจำนวน 2,713,750 บาท

ในขณะที่มีลูกจ้างจำนวน 252 คน ได้ทำสัญญากับนายจ้างที่ยื่นข้อเสนอว่าจะจ่ายเงินค่าชดเชย และค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ ซึ่งเป็นจำนวนงินที่ลูกจ้างพอใจ และได้ลงลายมือชื่อไว้ในสัญญาเพื่อเป็นหลักฐาน ส่วนลูกจ้างที่ยังไม่ได้เข้ามายื่นขอรับเงินกองทุนฯ กรมฯ จะได้ประสานให้ลูกจ้างเข้ามารับเงินดังกล่าวต่อไป

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"ชลบุรี" แนวโน้มผู้ติดเชื้อ COVID-19 ลดลง

สนามบินเชียงใหม่ชี้แจง กรณี จนท.ติดเชื้อ COVID-19 

"ตาก" พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่ม 17 คนข้ามมาจากฝั่งเมียนมา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง