ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ทางรอดประเทศไทย “ประชาชนไปต่อ” : ชุมชนพร้อมสู้ โป่งแยงแม่ริม ต้องรอด

ภูมิภาค
22 ก.ค. 64
20:44
721
Logo Thai PBS
ทางรอดประเทศไทย “ประชาชนไปต่อ” : ชุมชนพร้อมสู้ โป่งแยงแม่ริม ต้องรอด

สิ่งที่เรา : “เครือข่ายสื่อพลเมือง”ทั่วประเทศพบเห็นคือ ความพยายามของประชาชนจำนวนไม่น้อย คิดและลงมือทำ พยายามสร้างทางเลือก หาทางออกหลายลักษณะอย่างไม่ย่อท้อ สิ่งเหล่านี้อาจเป็นแนวทาง เป็นมุมมอง เป็นวิธีทำ วิธีคิดที่สังคมจะได้ทำความเข้าใจ เรียนรู้หรือเป็นพลังผลักดันเพื่อให้เป็นทางรอดจากวิกฤตินี้ ติดตาม #14 วันประชาชนไปต่อ ในช่วงข่าวค่ำไทยพีบีเอส และคลิก The Citizen Plus

 

เมื่อชุมชนในพื้นที่ห่างไกลกลางหุบเขา พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในหมู่บ้าน รวมไปถึงภายในโรงเรียนที่มีทั้งเด็กเล็ก และคุณครู การควบคุมสถานการณ์การระบาดในพื้นที่ไม่ให้เกิดเป็นวงกว้างจะทำเช่นไร? ชุมชนพร้อมสู้ โป่งแยงต้องรอด งานเขียนชิ้นนี้บอกเล่าเรื่องราวของคนในพื้นที่บ้านกองแหะ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่

ย้อนดูไทม์ไลน์การติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อน เริ่มต้นเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 64 เป็นวันแรกที่พบผู้ติดเชื้อ ณ หมู่ 5 บ้านกองแหะ ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ จนกลายเป็นคลัสเตอร์ในพื้นที่ห่างไกลที่มีการติดเชื้อทั้งคนในชุมชนและโรงเรียน ทำให้มีคำสั่งปิด หมู่บ้านกองแหะ หมู่ 4 หมู่บ้านปางลุง-บวกเต๋ย หมู่ที่ 8 และบ้านบวกจั่น หมู่ที่ 7 ตำบล โป่งแยง อำเภอ แม่ริม จังหวัด เชียงใหม่ เป็นเวลา 14 วัน

พื้นที่ทั้ง 3 หมู่บ้านมีประชากร 1,000 คน จำนวน 500 หลังคาเรือน เป็นเรื่องที่ท้าทายไม่น้อยในการกักตัวในพื้นที่ทั้ง 3 นี้

ภาพจาก รพ.สต.โป่งแยงใน

ถอยออกมาดูบริบทของพื้นที่ จุดนี้เป็นจุด แลนมาร์กด้านการท่องเที่ยวที่หนึ่งของเชียงใหม่เลยก็ว่าได้ เส้นทางขึ้นดอยมายังบ้านโป่งแยง ตลอดเส้นทางเป็นเส้นทางการท่องเที่ยว ที่สำคัญ เช่น ม่อนแจ่ม ปางช้างแม่สา สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ทั้งยังมีที่พักตามธรรมชาติ ร้านกาแฟ ร้านอาหารต่าง ๆ ของผู้ประกอบการกว่า 500 แห่ง สลับกับพื้นที่เพาะปลูกพืชผลทางเกษตรชาวบ้าน ทั้งชาติพันธุ์และคนเมือง กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่นี่นอกจากการท่องเที่ยวแล้วยังมีชาวบ้านส่วนใหญ่ยังทำเกษตร มีการนำส่งผลผลิตทางการเกษตรในทุก ๆ วัน

 


หลังการระบาดแม้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะหายไป แต่พื้นที่นี้ยังคงเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวไทย สะท้อนผ่านการกำหนดให้พื้นที่เป็นหนึ่งในจุดหมายสำคัญของโครงการ “แซนด์บ็อกซ์” เตรียมการเปิดรับนักท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

โป่งแยงต้องรอดอย่างไร?

ก่อนหน้านี้มีความพยายามในการจัดการเชิงรุกการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน ในพื้นที่นำร่องเพื่อให้อำเภอแม่ริม เปิดรับการท่องเที่ยวให้ได้เร็วที่สุด แต่เมื่อเกิดการระบาดในพื้นที่

การควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ปฏิเสธไม่ได้ว่า คนในพื้นที่และท้องถิ่นเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยทำให้สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ เพราะหน่วยงานที่ทำงานใกล้ชิดกับประชาชน และประชาชนรู้จักกันอย่างทั่วถึง เพื่อให้เห็นภาพการทำงานในพื้นที่อย่างชัดเจนขึ้นว่า กลไกสำคัญที่ทำให้สามารถควบคุมการระบาด ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น และให้คนในพื้นที่ได้ไปต่อ…. ทางบุคลากรด่านหน้าและคนในชุมชน เขาทำกันอย่างไร

พูดคุยกับ ประธาน อสม. ช่อเอื้อง ระหว่างการขอสัมภาษณ์ แกนั่งอยู่ในจุดตรวจทางเข้าออกชุมชน


จริง ๆ แม่เป็นเจ้าของสวนดอกไม้ปลูกดอกดาวเรืองขายเป็นไร่ในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว เปิดสวนให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชม ตัดส่งขายคนข้างล่างบ้าง ส่งไปตลาดต่างจังหวัด แต่พอสถานการณ์แบบนี้เราต้องทิ้งสวนเลยนะ แล้วออกมาทำหน้าที่อสม. ช่วยคุณหมอเพื่อควบคุมการระบาดให้สถานการณ์ดีขึ้นแม่ค่อยไปแก้ไขเรื่องของตัวเอง

แม่เอื้องฟ้า ประธาน อสม. หมู่ 4 บ้านกองแหะ เล่าให้ฟังว่า พบการระบาดครั้งแรกทางชุมชนไม่ทันได้ตั้งตัว เป็นการนำเชื้อมาจากที่อื่น ทางเราอสม. ลงติดตามเพื่อสืบหาทามไลน์คู่ไปกับทางหมอ รพสต. เพื่อตามหากลุ่มเสี่ยงที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อมีใครบ้าง เพื่อพาไปตรวจหาเชื้อในตอนนั้นกลายเป็นครัสเตอร์ในครอบครัวก่อน เพราะหนึ่งในนั้นมีเด็กเล็ก และเป็นเด็กเล็กโรงเรียนบ้านกองแหะ

ในตอนนั้นรู้แล้วว่าประเมินกับทีมแพทย์จะต้องมีผู้ติดเชื้อเป็นครอบครัวอีกแน่นอนจึงทำการปูพรมตรวจเชิงรุกทั้งหมู่บ้าน จากเคสแรกที่พูดถึงว่ามีเด็กเล็กถึงทำการปูพรมตรวจเชิงรุกเด็กเด็กบ้านคลองแหะที่เป็นเด็กเล็ก ในระดับชั้นอนุบาลตรวจเด็กไปจำนวน 80 คนหลังจากนั้นจึงเตอเป็นคลัสตอร์ใหญ่ วันแรกพบ 36 คน หลังจากนั้นต้องตรวจทั้งผู้ปกครองและคุณครู

“เพราะเราเข้าใจว่าทั้งคุณครูและผู้ปกครองมีการทั้งอุ้มและกอดสัมผัสลูกหลานของตัวเองเราประเมินสูงไว้” จนพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มอีก 40 กว่าราย


“เพราะว่าพื้นที่ตรงนี้มีวิวทิวทัศน์ที่สวยงามเป็นพื้นที่น่าท่องเที่ยวมีน้ำตกมีวิวที่สวยงามและทั้งเป็นหมู่บ้านของการทำการเกษตรยังหนี้ไม่พ้นโรคนี้”

 

หลังจากตรวจนักเรียนทั้งหมดทางทีมด่านหน้าก็ยังไม่นิ่งนอนใจเพราะเด็กที่มาเรียนในโรงเรียนนี้มีทั้งเด็กเด็กหมู่บ้านอื่น ๆ จึงต้องทำการติดตามเชิงรุกเรื่อย ๆ ให้ทั่วถึง ถ้าพูดถึงการจัดการ แม่เป็น อสม. มา 20 ปี เป็นประธานอสม.มา 2 ปี ได้ช่วยงานกับทาง ผอ.รพ.สต. โป่งแยงใน ผู้ใหญ่บ้านที่นี่ก็ยังเป็น อสม.

 

เรามีการสื่อสารกันในทุกวันประชุมกันว่าสถานการณ์ในตอนนี้เป็นอย่างไร และพอเรารู้ถึงปัญหาว่า อย่างชาวบ้าน อสม. เป็นผู้ที่เข้าถึงชาวบ้านมากที่สุด เพราะโรคระบาดที่มันเกิดนี้ ทุกคนกลัวไม่มีใครเข้ามาจัดการทาง

ดีที่อสม.ที่นี่ สามัคคีเข้มแข็ง ช่วยกันคนที่ป่วยก็รักษาตัวไป คนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงก็กักตัวไป แต่คนที่ดีไม่ได้เป็นอะไรก็ออกมาทำงานช่วยกัน แรก ๆ มีความติดขัดเล็กน้อยเพราะ อสม. ส่วนมากเป็นผู้หญิง ต้องทำการประสานงานทั้งคุณหมอทั้งโรงเรียนและชาวบ้านในชุมชน

 

วันสองวันแรกหลังจากพบเชื้อและมีการกักตัวก็มีคำสั่งให้ปิดหมู่บ้าน ทางหน่วยงานและคนในพื้นที่ร่วมกันจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเด็กเล็กบ้านกองแหะขึ้น การตั้งโรงพยาบาลสนามกองแหะ โป่งแยง มีทีมงานหลายจุดแบ่งเป็น ทีม 1 อยู่ที่โรงพยาบาลสนาม ทีมที่ 2 ออกจุดswab และ ทีมที่3 ตั้งรับ/ประสานงานจาก โรงพยาบาลสนาม ประสานรถรับส่ง รับของบริจาค/และกระจายของที่ รพ.สต.โป่งแยง

“ในส่วนการจัดการใน รพ.สนามเด็กบ้านกองแหะ จะมีคุณครูที่ติดเชื้อ อยู่ดูแลเด็ก ๆ นะคะ เพราะน้อง ๆ ยังเป็นเด็กเล็ก ละจะมีพี่ ๆ ทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นพยาบาลสื่อสารกันผ่านทางออนไลน์ร่วมดูแล 24 ชม. โดยใช้การ วีดีโอกับคุณครูผู้ดูแลเด็กภายใน รพ.สนาม ก่อนนอนก็เช็คสัญญาณชีพเด็กทุกคนผ่านทางวีดีโอคอล”



ส่วนคนในชุมชนที่ป่วยจะถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลสนามด้านล่างคือที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเพื่อไม่ให้รวมกับเด็ก ๆ ส่วนของชาวบ้านกลุ่มเสี่ยงกลาง ในก็ให้ทำการกักตัวอยู่ในบ้านทำ home quarantine 14 วัน แล้วทำการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง

สำหรับเสบียงอาหาร เราต้องเป็นคนหาให้ชาวบ้าน ไม่เช่นนั้นการกักตัว 100 เปอร์เซ็นต์ก็จะเป็นไปไม่ได้ ถ้าเราไม่มีเสบียงและไม่มีของใช้ที่จำเป็นให้ชาวบ้าน

การนำอาหารแจกจ่ายให้กับกลุ่มเสี่ยงในโรงพยาบาลสนาม จะทำการส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ของอบต.นำส่งอาหารให้กับเด็ก ๆ ส่วนแม่ๆ อสม. ต้องขับรถมอเตอร์ไซค์หรือบางครั้งเป็นรถยนต์นำของที่จำเป็นต้องใช้ และอาหารไปส่งให้ถึงบ้านที่ต้องกักตัว นำไปหย่อนใส่ตะกร้าบางบ้านจะทำการแจกจ่ายกันเอง


พอมีการสั่งปิดหมู่บ้านทางทีมก็ประเมินกันว่าแบบนี้ถ้าจะต้องส่งข้าวส่งน้ำให้ทุกวันแค่เข้ากล่องน่าจะอยู่ไม่ได้ถ้าปิดหมู่บ้านร้านค้าในหมู่บ้านทุกร้านก็ต้องปิดตัวลงไปก่อนออกมาซื้อของก็ไม่ได้

ต้องรักกันแล้วก็เลยช่วยกันคิดนำเสบียงข้าวของที่คนบริจาคเข้ามาชุดยังชีพถุงยังชีพ เราจะต้องทางหน่วยงานส่งมาให้ทางชุมชนทางอบต. ถ้าของเหลือนำมาวางไว้ที่วัดเป็นจุดศูนย์กลางที่คราวนี้เราต้องมาจัดการส่งต่อให้กับคนในชุมชนจึงทำการระดมทีมชาวบ้านที่เป็นผู้ปกติสีเขียวแบ่ง การทำงาน เพื่อทำการแพ็คถุงยังชีพและแจกเพื่อให้ชาวบ้านอยู่ได้นานที่สุด

แม่เอื้องฟ้า เล่าว่า ก่อนหน้านี้ทาง อบต.จัดอาหารขึ้นมาแจกให้กับชาวบ้านคนละ 3 มื้อ หลังจากที่มีกลุ่มเสี่ยง อสม. จะต้องวิ่งรถแล้ววันละ 3 รอบ ซึ่งการวิ่งรถจะมีรถในการส่งของที่โรงเรียนและส่งข้าวให้กับชาวบ้าน ทำให้เล็งเห็นว่าถ้าเราใช้รถวิ่งสวนกันคันเดิมเดิมก็จะสวนกลับการที่ผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามเด็กเล็กต้องนั่งรถสวน กับรถอาหารและรถขนส่งอาจทำให้เกิดการแพร่เชื้อในอาหารได้ แต่ในที่นี้คือรถสามประเภทนี้แยกคันกันโดยไม่ใช้ปนกัน ในส่วนตรงนี้คนไข้ต้องลงไปเอ็นสเรย์ปอดข้างล่างเพราะรถขึ้นมาไม่ได้ ต้องลงไปตรวจปอดที่ รพ.สต.ใกล้บ้าน เรารู้สึกว่าเหมือนเชื้อโรคสวนทางกับรถอาหารการสวนกันแบบนี้จึงทำให้คิดแก้ปัญหา เลยให้ อบต.หยุดทำอาหารแจกจ่ายให้กลุ่มเสี่ยงแต่แจกถึงยังชีพเอาไปทำกับข้าวกินเองในครัวเรือนจะดีกว่า ให้เค้ามีกินอยู่ตรงนั้น ให้หุงข้าวปลาอาหารมีกิจกรรมทำในครอบครัว ที่นอกเหนือจากการกักตัวและเครียดไปวัน ๆ


สาย สาตะถา กำนันโป่งแยง อ. แม่ริม จ. เชียงใหม่ เป็นคนในพื้นที่อีกท่านหนึ่งที่การสื่อสารผ่านเฟสบุ๊กให้คนนอกพื้นที่รับรู้เห็นรายละเอียดการจัดการ และความเป็นไปในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

แม้กระทั่งในช่วงหนึ่งของการสัมภาษณ์ กำนันสาย ยังพาเดินชมบรรยากาศโดยรอบโรงครัว ที่จัดตั้งขึ้นโดยชุมชน แถมยังเป็นที่ระดมข้าวของจากการบริจาคจากทั้งคนภายนอกและคนในชุมชน

กำนันสาย เดินชี้ให้เห็นโดยรอบว่า ข้าวสารพืชผักผลไม้นี้ไม่ใช่แค่การรวบรวมของคนในตำบลโป่งแย่งเท่านั้นแต่ได้การช่วยเหลือจากพี่น้องรอบข้างทั่วทั้ง อ.แม่ริม และคนในเชียงใหม่ นำผลผลิตทางการเกษตรมาร่วมสมทบบริจาคเพื่อเป็นมื้ออาหารของนักเรียนคุณครูที่ป่วยและผู้ที่ต้องกักตัวอยู่ในชุมชน

การส่งอาหารและข้าวของอย่างที่แม่เอื้อง อสม.บอกเราเลยคะว่าทำงานเป็นทีม ให้เจ้าหน้าที่บวกกับทีม อสม.เป็นผู้กระจายข้าวของและอาหารให้กับกลุ่มเสี่ยงและผู้กักตัวในชุมชน เพราะเวลาส่งในสถานที่เสี่ยงต้องใส่ชุด PPE ให้เรียบร้อย ข้าวศาลอาหารแห้งที่ใส่เป็นถุงนี้จะอยู่ได้ถึงสามวัน ในการดูแลอาหารและโภชนาการของเด็กเล็กในโรงพยาบาลสนามบ้านกองแหะ จะมีแม่บ้านอาสาที่เป็นคนในชุมชน ทำอาหารแบบจืดให้เด็กเล็ก ถ้าเป็นผู้ใหญ่ก็ทำอาหารปกติ

ก่อนไปส่งเจ้าหน้าที่มำการฉีดยาฆ่าเชื้อ และเอาข้าวที่เราแพคเสร็จใส่รถขนขึ้นส่งให้ ในตอนนี้สิ่งที่ที่ยังต้องการคือข้าวสารอาหารแห้งหากยังต้องมีการกักตัวและมีผู้ที่ติดเชื้ออยู่ เพราะร้านค้ายังคงต้องปิดอยู่เพื่อระงับการระบาดให้ได้เร็วที่สุด

https://thecitizen.plus/node/46076?fbclid=IwAR34KNRg65eZEHPiOgBbOQNSuSUAPn3adz5PWGNdSMLI-UtgF2Wg6pSk6jI

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง