จากกรณี ศบค.ออกมาตรการผ่อนปรนให้ร้านอาหารในหางสรรพสินค้า เปิดจำหน่ายในรูปแบบการสั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่านบริการขนส่งอาหาร (Food delivery service) ทั้งในระบบออนไลน์ระบบโทรศัพท์หรือระบบบริการช่วยเหลือของร้านอาหารและเปิดได้ไม่เกินเวลา 20.00 น.ทำให้ทางสมาคมผู้ประกอบการภัตตาคารไทย ได้เข้าหารือและขอให้ทบทวนมาตรการดังกล่าว
วันนี้ (5 ส.ค.2564) เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 ระบุว่า ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ศปก.ศบค.) สรุปเรื่องการซื้ออาหารในห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 30 สามารถดำเนินการได้ดังนี้
- ให้ซื้อตามระบบนำส่ง (Delivery) ไปส่งที่บ้านหรือที่ทำงาน
- สามารถโทรสั่งร้านอาหาร ร้านอาหารในห้าง และ Supermarket ให้นำมาส่งในที่ที่จัดให้รับอาหาร
ทั้งนี้ ผู้ขาย คือ ร้านอาหารเครื่องดื่ม ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ จะจัดเตรียมพื้นที่บริเวณซุปเปอร์มาร์เก็ต กำหนดเป็นพื้นที่รอคิว ซึ่งมีบริเวณพักคอย เว้นระยะห่างที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดความแออัดจนเสี่ยงต่อการแพร่ระบาด
โดยร้านอาหารเครื่องดื่ม ภายในห้าง ศูนย์การค้าคอมมูนิตี้มอลล์ หรือสถานประกอบกิจการอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน สามารถนำส่งอาหาร เครื่องดื่ม มาวางจำหน่าย ณ จุดที่จัดเตรียมพื้นที่ไว้ให้ภายใน บริเวณซุปเปอร์มาร์เก็ตได้
อ่านข่าวเพิ่ม ชั้นวางสินค้าในซุปเปอร์มาเก็ตโล่ง โควิด-19 กระทบภาคการผลิตอาหาร
คนกินว่าอย่างไร-ห้างปรับตัวขายเดลิเวอรี่?
ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์ผู้ที่สั่งอาหารเดลิเวอรี่ จากร้านอาหารแห่งหนึ่งในห้างสรรพสินค้า กล่าวว่า เนื่องจากทำงานที่บ้าน ตามมาตรการ WFH มากว่า 1 เดือนแล้ว ทำให้ส่วนใหญ่จะสั่งอาหารจากร้านในห้างสรรพสินค้ามากกว่า เพราะมีร้านอาหารหลากหลายประเภท และหลากหลายเมนูให้เลือก ที่สำคัญมั่นใจในคุณภาพความสะอาด และความปลอดภัย สั่งได้ของเมนูตรงตามปก
ช่วง WFH ปกติสั่งจากเดลิเวอรีจากร้านอาหารในห้างอยู่แล้ว แต่เมื่อศบค.ให้ปิดก็กระทบ เพราะร้านที่เราอยากกิน เปิดขายบางแห่งนอกห้าง ทำให้ต้องจ่ายค่าส่งแพงกว่า เช่น ปกติจากห้าง 12 บาท แต่นอกห้างค่าส่ง 25-30 บาท
สำหรับคน WFH ก็ยังสะดวกกว่าร้านในห้างถูกสั่งปิดทั้งหมด
ส่วนบางกลุ่มที่อยากไปซื้อหน้าร้าน และต้องส่งทางเดลิเวอรี่ และรับในช่องทางจัดเตรียม ก็อาจเห็นต่างกันว่าอาจเป็นภาระเรื่องค่าจ่าย ขณะที่ตัวไรเดอร์ ที่รับส่งอาหารหน้าร้าน และนำมาส่งลูกค้าที่มารอในจุดรับส่ง เขาอาจจะชอบก็ได้ เพราะลดรายจ่ายเรื่องค่าน้ำมันในการไปส่งตามบ้าน
ขณะที่พบว่าห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ เช่น เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว ก็ปรับมาตรการภายใต้การคุมเข้มยกระดับมาตรการ โดยเฉพาะจุดให้บริการเดลิเวอรี่รับ-ส่งอาหาร เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกร้านค้า และสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้าที่รอรับอาหารอยู่ที่บ้าน รวมทั้งเปิดแคมเปญเชิญชวนการสั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี มีโปรโมรชันจูงใจจากร้านค้าในห้างด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ประชาชนโทรสั่งอาหารร้านในห้างได้ แต่ต้องกำหนดจุดรับ-ส่ง
เปิดร้านอาหารในห้างวันแรกวุ่น สั่งเดลิเวอรี่ เพิ่มค่าใช้จ่ายให้ผู้บริโภค