วันนี้ (5 พ.ย.2564) นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของงานวิจัยมณีแดง (RED-GEMs) กล่าวในงานเสวนา "มณีแดง ยาย้อนวัยถูกค้นพบได้อย่างไร" โดยระบุว่าขณะนี้ยังไม่เปิดงานวิจัยมณีแดงอย่างละเอียด แต่เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา ทีมวิจัยจากจุฬาฯ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เข้ารายงานผลต่อนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
นพ.อภิวัฒน์ ระบุว่า เป็นน่าตื่นเต้นว่าสามารถที่จะย้อนวัยหนูที่ชราแล้วได้ ซึ่งจากตัวอย่างการทดสอบในหนูทดลอง 3 ตัว โดยเทียบตับหนูตัวแรกอายุ 7 เดือน ส่วนตัวที่ 2 อายุ 30 ดือน และตัวที่ 3 หนู 30 เดือนทีได้รับมณีแดง โดยวิธีการย้อมเซลล์ชรา ให้ติดสีน้ำเงินในหนูทั้ง 3 ตัว
จากการทดลองหนูหนุ่มอายุ 7 เดือนจะไม่มีเซลล์ชราอยู่แล้ว ส่วนหนู 2 ตัวอายุ 30 เดือนพบว่าหนูตัวที่ 3 อายุ 30 เดือนที่ได้รับมณีแดงไป พบว่าเซลล์ชราจะหายหมด โดยกลไกไม่ได้ทำลายเซลล์ชรา แต่เปลี่ยนเซลล์ชราให้กลับมาเป็นเซลล์ที่กลับมาทำงานได้ปกติ
ผลทดลองพบหนูเซลล์ชราคืนสภาพ
นพ.อภิวัฒน์ กล่าวว่า จากการทำวิจัยในไทย ที่จะต้านชราอย่างเดียว แต่สิ่งที่ค้นพบคือหน้าที่ของตับทำงานเป็นปกติ เพราะหน้าที่ของตับในวัยชราจะทำงานไม่ดี และความทรงจำ กลับเป็นปกติ เช่น ให้หนูไปว่ายน้ำ หาอาหาร นอกจากนี้ ยังใช้รักษาโรคที่อวัยวะเสื่อมสภาพ จากการทำลายจากสิ่งแวดล้อม เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น
คุณสมบัติของสารชีวโมเลกุลมณีแดง เป็นการย้อนวัยที่ตัวดีเอ็นเอ เป็นต้นน้ำของสิ่งมีชีวิต การย้อนวัยทำให้จีโนมในร่างกายเสถียร ไม่ถูกทำลายได้ง่าย ดังนั้นมณีแดง จึงเป็นความหวังของมนุษยชาติ และต่อยอดงานวิจัยเพื่อรักษาโรคอื่นๆ
ทั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ค้นพบรอยแยกของดีเอ็นเอ ซึ่งลักษณะของดีเอ็นเอจะเป็นสายโพลิเมอร์ 2 เส้นจับกันเป็นเกลียวคู่ เวลาทำงานดีเอ็นเอเกลียวคู่นี้ จะต้องแยกออกจากกัน ทำให้เกิดแรงบิดและถูกทำลายได้ง่าย ทั้งนี้ อนาคต อาจใช้รักษาโรคสมองเสื่อม หัวใจวาย ความดันโลหิตสูง ถุงฃมโป่งพอง ตับแข็ง สภาพจากความชรา หรือเบาหวาน ป้องกันความรุนแรงจากการติดเชื้อโควิด ริ้วรอยเหี่ยวย่นและอื่นๆ
เป็นเรื่องประหลาดที่พบว่าไม่มีใครอยากจะเชื่อว่ามีงานวิจัยแบบนี้ในไทย ดังนั้น เพื่ออธิบายว่าค้นพบและคิดค้นวิธีการย้อนวัยขึ้นมา ซึ่งมีแผนจะทำวิจัยต่อในอีก 2 ปีนี้จะทำอะไรต่อเพื่อให้มณีแดงใช้ได้ในคน