ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กางสถิติช้างทำร้ายคนตาย 4 ปี 93 ศพ-ชี้พฤติกรรมเปลี่ยน

สิ่งแวดล้อม
18 พ.ย. 64
16:49
2,846
Logo Thai PBS
กางสถิติช้างทำร้ายคนตาย 4 ปี 93 ศพ-ชี้พฤติกรรมเปลี่ยน
กางสถิติช้างป่าทำร้ายคน 4 ปี ระหว่าง 2561-64 เสียชีวิต 93 คน ส่วนความเสียหายอื่นเฉลี่ยปีละ 500-800 ครั้ง นักวิชาการพบช้างป่าตะวันออก พฤติกรรมเปลี่่ยนหลังหากินนอกพื้นที่ เจอคนทำร้าย ใช้ความรุนแรง จดจำประสบการณ์ไม่ดี เล็งหาทางออกย้ายช้างเกเร

วันนี้ (18 พ.ย.2564) นายศุภกิจ วินิตพรสวรรค์ ผอ.ส่วนสารสนเทศด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ถึงสถานการณ์ช้างป่าว่า จากการเก็บสถิติความเสียหายจากช้างออกนอกพื้นที่ตั้งแต่ปี 2561-2564 ภาพรวมแม้ว่าจะลดลง กล่าวคือปี 2561 จำนวนรวม 1,093 ครั้ง ส่วนปี 2562 ลดลงเหลือ 850 ครั้ง ปี 2563 จำนวน 585 ครั้ง ปี 2564 จำนวน 544 ครั้ง

ขณะที่อัตราบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากช้างก็ยังมีมาก คือมีคนเสียชีวิต ปี 2561 จำนวน 22 คน ปี 2562 จำนวน 25 คน ปี 2563 และ 23 คน และปี 64 จำนวน 23 คน

นายศุภกิจ กล่าวว่า ตัวเลขความเสียหาย 500-600 ครั้งกับอัตราการเสียชีวิต บาดเจ็บจากช้างยังยอมรับไม่ได้ กรมอุทยานฯ มีการศึกษา ปรับรูปแบบการแก้ปัญหาช้าง แบ่งออกเป็น 3 เฟสในระยะเวลาอีก 10 ปีนี้เช่น การติดปลอกคอช้างเพื่อติดตามเส้นทางของช้างออกนอกพื้นที่ รู้ตำแหน่งและแจ้งเตือนประชาชน เริ่มที่ป่าตะวันออก ซึ่งมีประชากรช้างเกินศักยภาพพื้นที่ มีประชากรช้างเพิ่ม 8.2%

อ่านข่าวเพิ่ม  เร่งติดตาม "ช้างป่าถูกยิง" ห่วงอาการบาดเจ็บ-เสี่ยงติดเชื้อ

พฤติกรรมช้างเปลี่ยน-จำจากประสบการณ์ไม่ดี 

ส่วนกรณีพบปัญหาช้างป่าทำร้ายคนบ่อยขึ้น นายศุภกิจ กล่าวว่า ด้วยความที่ช้างป่าเป็นสัตว์ป่าในธรรมชาติ แต่สัตว์ป่าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นช้าง เสือโคร่ง สัตว์ขน่าดใหญ่ไม่ได้มีความเกรี้ยวกราด และจ้องทำร้ายคนตั้งแต่แรก การที่มีข่าวช้างทำร้ายคนจนบาดเจ็บมักจะมีที่มาที่ไป การที่ช้างทำร้ายคนอาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น การเผชิญหน้ากันโดยบังเอิญ ตกใจและทำร้ายคนจนเสียชีวิต

อีกสาเหตุพบว่าช้างมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ตั้งใจทำร้ายคน ต้องกลับไปดูสาเหตุว่าช้างเจออะไรมาก่อน ประสบการณ์ระหว่างทางที่โตขึ้นมา หลายครั้งหลังการพิสูจน์ซากกรณีช้างตายพบร่องรอยช้างถูกทำร้าย ทำให้จดจำในสิ่งที่ไม่ดี จนพฤติกรรมเปลี่ยนไป

ส่วนกรณีช้างดักปล้นอ้อยหรือที่เรียกด่านลอยในเส้นทางเขาอ่างฤาไน นักวิชาการ ระบุว่า มาจากการเรียนรู้ที่มาของปัญหามาของแหล่งอาหาร ไม่ว่าจะมาจากการถ่ายทอดกันมา หรือเรียนรู้ว่าถ้ามีแรงสั่นสะเทือนมาก็รู้ว่ารถพวกนี้จะบรรทุกอาหาร จะดักปล้น ซึ่งพบว่าเป็นพฤติกรรมเฉพาะตัว มีการเปลี่ยนพฤติกรรมตามประสบการณ์ที่เคยเจอมาก

อ่านข่าวเพิ่ม ปภ.จันทบุรี เตือนฤดูช้างผสมพันธุ์-ตกมัน ทำร้ายชาวบ้านดับ 4 ศพ

เล็งย้ายช้างเกเรออกจากพื้นที่เดิม

นายสมปอง ทองสีเข้ม ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานฯ กล่าวว่า กรณีช้างป่าออกมาจากป่าเจอแหล่งอาหารในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน ซึ่งเป็นตัวล่อให้อยู่นอกพื้นที่ป่า ส่วนชาวบ้านบางคนใช้วิธีการไล่ หรือผลักดันช้างด้วยความรุนแรง ทำร้าย จนช้างจดจำและดุร้ายขึ้น เป็นปัญหาที่เจ้าหน้าที่ต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้านว่าหากใช้ความรุนแรงแล้ว ช้างก็จะใช้ความรุนแรงโต้ตอบเช่นเดียวกัน

ใช้ความรุนแรง โยนประทัดใส่ ช้างวิ่งหนี ช้างกลัว แต่ทางกลับกันพอเขากลับมาแล้วก็เริ่มชิน เริ่มก้าวร้าวขึ้น

นายสมปอง กล่าวว่า ขณะนี้ประชากรช้างในกลุ่มป่าตะวันออกเพิ่มขึ้น 8.2% ซึ่งพยายามสร้างความสมบูรณ์ในป่าลึก ด้วยการปลูกแหล่งอาหาร ขุดสระ เพื่อตรึงให้ช้างอยู่ในพื้นที่ป่า นอกจากนี้ยังมีแผนเคลื่อนย้ายช้างป่าเกเร เช่น พลายงาเกจับที่ จ.ระยอง และย้ายไปอยู่ที่อื่น พร้อมทั้งติดปลอกคอติดตามพฤติกรรม แต่ก็พบว่า 10 วันก็กลับมาที่เดิมเสียค่าใช้จ่าย 200,000-300,000 บาทก็ไม่คุ้ม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

พลิกโฉมคุม "ช้างป่า" เล็งทำหมัน-ติดปลอกคอคุมเร่ร่อน

คุยกับ "สุทธิพร" เจ้าของฉายาชายผู้สื่อสารกับช้างเขาใหญ่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง